การปรับปรุงดินที่เป็นกรด หากไม่ทำจะส่งผลอย่างไรกับสวน

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

 

การปรับปรุงดินที่เป็นกรด หากไม่ทำจะส่งผลอย่างไรกับสวนที่เรารัก

          ปัญหาดินเป็นกรดคืออีกความน่ากังวลใจของเหล่าบรรดาเกษตรกรทั้งหลาย การปรับปรุงดินที่เป็นกรดจึงมีความสำคัญและต้องรีบทำอย่างเร่งด่วนที่สุด ไม่เช่นนั้นอาจส่งผลเสียหายใหญ่หลวงทั้งกับพืชรวมถึงตัวเจ้าของสวนเอง ซึ่งใครที่ยังสงสัยว่าดินเป็นกรดสร้างความยุ่งยากมากน้อยเพียงใด ส่งผลกระทบแบบใดบ้าง มาศึกษาข้อมูลเพื่อรีบจัดการอย่างเร่งด่วนกันได้เลย

ดินเป็นกรดคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร

ปัญหาดินเป็นกรดคือ สภาพของดินที่มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) น้อยกว่า 7.0 อย่างไรก็ตามสำหรับดินที่สร้างความน่ากังวลใจให้กับเกษตรกรเกี่ยวกับการปลูกพืชคือดินที่มีค่า pH น้อยกว่า 5.5 เมื่อไหร่ก็ตามที่วัดค่าออกมาแล้วได้เกณฑ์ตามนี้เท่ากับสภาพดินดังกล่าวมีความเป็นกรดสูง (กรดกำมะถัน) ซึ่งภาษาชาวบ้านอาจเรียกเป็นสภาพดิน “เปรี้ยว” นั่นเอง ดินเป็นกรดด่างมีผลต่อพืชอย่างไร ?

 

 

สาเหตุของดินกรดมีด้วยกันหลายปัจจัย เช่น น้ำฝนมีค่ากรดอ่อนเมื่อตกลงมาจึงเกิดการเพิ่มกรดในดินพร้อมชะล้างหน้าดินที่เป็นด่างออกไป รวมถึงบางพื้นที่มีการปลูกพืชและใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่มีการปรับปรุงดิน ซึ่งการสังเกตปัญหาดินกรดถือเป็นเรื่องยากเนื่องจากมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าด้วยเหตุนี้เกษตรกรจึงต้องหมั่นตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ เช่น การวัดด้วยน้ำยาเปลี่ยนสีหรือการใช้เครื่องวัด pH Meter

 

 

                                                                                                                              วิธีใช้เครื่องวัด pH เพื่อวัดความเป็น กรด-ด่าง ของดิน

                                                                                         

 

การปรับปรุงดินที่เป็นกรด หากไม่ทำจะส่งผลอย่างไร

หากเกษตรพบว่าพื้นที่การเพาะปลูกของตนเองกำลังเผชิญกับปัญหาดินกรดแล้วไม่มีการปรับปรุงดินที่เป็นกรด จะส่งผลเสียตามมาในหลายด้านมากไม่ว่าจะเป็น

  • ธาตุบางชนิดที่ละลายน้ำในดินกรดได้ดี พืชจะดูดซับเข้าสู่รากและส่วนต่าง ๆ มากเกินความจำเป็นจนเกิดพิษกับตัวพืชเอง เช่น ธาตุอะลูมิเนียม รากโดนทำลาย ต้นแคระ หยุดการเติบโต ธาตุแมงกานีส เกิดใบจุดเหลือง - น้ำตาล เป็นต้น
  • ธาตุบางชนิดที่ละลายน้ำได้น้อย เช่น ฟอสฟอรัส ไนโตรเจน แมกนีเซียม โพแทสเซียม แคลเซียม จะถูกชะล้างออกไป ส่งผลให้การเติบโตของพืชไม่ดี ดอก ใบ ผล ไม่ออกตามที่ควรเป็น
  • ไรโซเบียม ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ไม่ทนกรดทำให้การตรึงไนโตรเจนได้ลดลง ส่งผลให้ปมรากถั่วลดตามไปด้วย

 

ดังนั้นเมื่อสรุปออกมาแล้วจะเห็นว่าการปรับปรุงดินที่เป็นกรดคือสิ่งสำคัญที่เกษตรกรต้องรีบทำอย่างเร่งด่วนหากพบว่าดินมีสภาพเป็นกรดสูง ไม่อย่างนั้นผลเสียที่ตามมาคือพืชจะไม่เจริญเติบโต เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา ผลผลิตที่ได้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ส่งผลในระยะสั้นและระยะยาวแบบไม่ต้องสงสัย รีบดำเนินการทันทีก่อนที่ทุกอย่างจะสายและต้องเสียเวลาเริ่มต้นใหม่หมด

12 มิถุนายน 2567

ผู้ชม 1165 ครั้ง

Engine by shopup.com