รู้จักเพลี้ยแป้งและการใช้ชีวภัณฑ์เพื่อควบคุมการระบาด

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

 เพลี้ยแป้ง 

เพลี้ยแป้ง เป็นแมลงที่อยู่ในตระกูลเดียวกันกับเพลี้ยหอย (Coccidae) เพลี้ยแป้งแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ เพลี้ยแป้งหางสั้น และเพลี้ยแป้งหางยาว ลักษณะตัวเพลี้ยมีขนาดเล็ก และมีสีขาว เพราะถูกสารขี้ผึ้ง ซึ่งขับออกมาคลุมตัวเพลี้ยไว้ และมีขาอ่อนเจริญออกมารอบตัวทำให้เคลื่อนที่ไปมาได้แต่ช้า

ลักษณะของเพลี้ยแป้ง มีลำตัวเป็นข้อ ปล้อง รูปร่างกลมหรือยาวรี ส่วนหัวและขาอยู่ใต้ลำตัว มี 6 ขา ไม่มีปีก มีผงแป้งคลุมตัว ปากเป็นแบบดูดกิน ขยายพันธุ์ได้ทั้งโดยการใช้เพศและไม่ใช้เพศ (Thelytokous parthenogenesis) ซึ่งเพศเมียไม่จำเป็นต้องได้รับการผสมพันธุ์จากเพศผู้ มีทั้งประเภทออกลูกเป็นไข่ (Oviparous) หรือออกลูกเป็นตัว (Viviparous)

เพลี้ยแป้งมีหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์จะมีความแตกต่างกัน แต่โดยส่วนใหญ่มักจะพบเป็นก้อนแป้งสีขาวที่มีลักษณะคล้ายปุยฝ้าย รูปร่างจะถูกปกคลุมไปด้วยสารขี้ผึ้งสีขาวซึ่งทำให้มีลักษณะเป็นแป้ง

เพลี้ยแป้งในพืชต่างๆ

1.เพลี้ยแป้งในมะละกอ

เพลี้ยแป้งจะดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนอ่อนของลำต้น ใบและผล ทำให้บริเวณนั้นเหลืองที่ใบทำให้หดหงิกงอแห้ง จะมองเห็นกลุ่มของเพลี้ยแป้งเป็นจุดปุยสีขาวที่ด้านล่างของใบ ก้านใบ และผล นอกจากนี้เพลี้ยแป้งยังขับถ่ายของเหลวเหนียวสีดำซึ่งจะดึงดูดเชื้อราก่อโรคได้อีกด้วย 

2.เพลี้ยแป้งในมะม่วง

ในช่วงที่มะม่วงออกช่อติดผล ถ้าเจอกับปัญหาการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้ง ซึ่งสามารถเข้าทำลายได้ทุกช่วงการเจริญเติบโต  ทำให้ผลผลิตไม่มีคุณภาพ และยิ่งผลผลิตเพื่อส่งออกขายตลาดต่างประเทศ จะไม่สามารถส่งออกได้ ดังนั้นการป้องกันตั้งแต่เริ่มพบเพลี้ยแป้งจึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ

เพลี้ยแป้งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากบริเวณกิ่ง ช่อดอก ผลอ่อน และผลแก่ ของมะม่วง โดยมีมดเป็นตัวคาบพาเพลี้ยแป้งไปตามส่วนต่างๆของมะม่วง ส่วนที่ถูกทำลายจะแคระแกร็น และชะงัก การเจริญเติบโต นอกจากนี้เพลี้ยแป้งจะขับน้ำหวาน (honey dew) ออกมาเป็นเหตุให้ราดำเข้าทำลายซ้ำ ถ้าเพลี้ยแป้งเข้าทำลายมะม่วงตั้งแต่ผลเล็กอาจจะมองไม่เห็น และมักพบหลังจากมีการห่อผลโดยเฉพาะพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง ภายหลังแกะถุงห่อผลแล้วจึงจะพบเพลี้ยแป้งจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดราดำ ทำให้มะม่วงไม่มีคุณภาพจึงขายได้ราคาต่ำและไม่สามารถส่งออกได้

3.เพลี้ยแป้งในพริก

                จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใต้ใบพริก ทำให้ใบบิดเบี้ยว เสียรูปทรง ถ้าระบาดมากๆ พริกอาจตายได้

4.เพลี้ยแป้งในมะเขือ

                ในมะเขือมีทั้งเพลี้ยแป้งมะเขือ เพลี้ยแป้งเจบี และเพลี้ยแป้งจุดดำ จะเข้าทำลายมะเขือ โดยดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ใต้ใบและกิ่งมะเขือ ทำให้ใบเสียรูป โค้งงอ พอง นูน ฯลฯ รวมทั้งบนผลมะเขือด้วย

5.เพลี้ยแป้งในน้อยหน่า

                ในน้อยหน่าจะมีทั้งเพลี้ยแป้งสีเทา เพลี้ยแป้งลาย โดยจะเข้าทำลายน้อยหน่าโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากผลน้อยหน่า

 

การป้องกันกำจัด

1) วิธีกล ถ้าเริ่มพบการระบาด หรือกิ่งที่ระบาดมากๆ ให้รีบตัดแต่งกิ่งไปเผาทำลาย

2) การใช้ชีวภัณฑ์เพื่อควบคุมการระบาดของเพลี้ยแป้ง โดยใช้เชื้อราบูเวเรีย (บิว-เวอร์) มีวิธีการใช้ดังนี้

- อัตราการใช้ 80-100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบเบนดิกซ์ หรือมูฟ-เอ็กซ์ อัตรา 3-5 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

- เพิ่มความชื้นในแปลงให้มีความชื้นมากกว่า 60% ขึ้นไป

- ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้นพืชทั้งบริเวณใต้ใบ บนใบและลำต้น

- ควรฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็น หลีกเลี่ยงช่วงเวลาที่มีแดดจัด

- ควรฉีดพ่นให้ บิว-เวอร์ สัมผัสกับเพลี้ยแป้งโดยตรง

- ควรฉีดพ่นทุกๆ 3-5วัน และควรใช้อย่างต่อเนื่องติดต่อกัน 3-5 ครั้ง

 

 

แหล่งที่มารูปภาพ

https://www.researchgate.net/figure/Naked-eye-view-and-30x-views-of-mealybug-species-a-g-and-giant-scales-species-cottony_fig4_344289473

https://guaminsects.net/uogces/kbwiki2015/index.php?title=File:Papaya_mealybug_on_papaya_fruit.JPG

https://www.newfoodmagazine.com/news/125097/papaya-mealybug/

https://infonet-biovision.org/PlantHealth/MinorPests/mealybugs

https://ephytia.inra.fr/en/C/7438/Eggplant-Mealybugs

https://www.istockphoto.com/th/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2-gm1332130719-415065066

25 เมษายน 2567

ผู้ชม 706 ครั้ง

Engine by shopup.com