รักษาได้! โรคใบติดในทุเรียน ด้วยเจนแบค ดูแลต้น..ดูแลผล!

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

รักษาได้! โรคใบติดในทุเรียน ด้วยเจนแบค ดูแลต้น..ดูแลผล!

ปัญหาใหญ่ที่ชาวสวนทุเรียนมักปวดหัวบ่อยครั้งนั่นคือ “โรคใบติดในทุเรียน” หรือบางคนจะเรียกโรคใบไหม้ก็ได้ สร้างความเสียหายให้กับต้นทุเรียนจำนวนมาก ยิ่งช่วงไหนระบาดหนักบางทีแทบหมดเนื้อหมดตัวกับเงินลงทุนกันเลยทีเดียว จึงอยากพาชาวเกษตรสวนทุเรียนทุกคนมาทำความเข้าใจกับโรคให้มากขึ้นพร้อมแนะนำวิธีป้องกันเพื่อลดความเสี่ยง เพื่อให้ได้ผลผลิตอย่างที่ตั้งใจไว้

 “โรคใบติดในทุเรียนโรคที่ชาวสวนทุเรียนต้องรู้

โรคใบติดในทุเรียนเกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani Kuehn มักแพร่ระบาดหนักในช่วงที่มีสภาพอากาศตอนกลางวันร้อนจัด แต่กลางคืนฝนตกหนักจนทำให้เกิดความชื้นสูงกว่าปกติ สังเกตง่าย ๆ โรคมักเกิดที่ใบอ่อนในระยะเริ่มแรก ใบมีลักษณะคล้ายโดนน้ำร้อนลวกจากนั้นแผลจะค่อย ๆ ขยายตัวกินพื้นที่มากขึ้น เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล รูปร่าง ขนาดใบไม่ชัดเจน

เมื่อเวลาผ่านไปไม่นานก็มักลุกลามสู่ใบข้าง ๆ ยิ่งช่วงไหนความชื้นสูงมากตัวเชื้อราชนิดนี้จะสร้างเส้นทางเหมือนใยแมงมุมยึดให้ใบติดกันเป็นก้อน ใบที่อยู่ตามกิ่งมักหลุดร่วงและถ้าหากไปโดนกับใบอื่น ๆ ด้านล่างจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ ท้ายที่สุดต้นทุเรียนจะเหลือแค่กิ่ง เสียรูปทรง ไม่ได้ผลผลิตอย่างที่ควรนั่นเอง

โรคใบติดในทุเรียน

 

 

แก้ปัญหาโรคใบติดในทุเรียนได้อย่างไรบ้าง

ความอันตรายของโรคใบติดในทุเรียนจัดว่ารุนแรงมาก หากปล่อยไว้มีโอกาสเกิดความเสียหายสูง นักวิจัยการเกษตรจึงพยายามค้นหาวิธีเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น โดยใช้วิธีขยายเชื้อจากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนนำเชื้อราไปทดสอบกับสารป้องกันกำจัดโรคพืช อย่างไรก็ตามหากคุณเป็นชาวสวนทุเรียนคงต้องเน้นความสะดวก ใช้งานง่าย และแก้ปัญหาได้รวดเร็วทันใจกว่า

จึงอยากแนะนำให้เลือก “เจน-แบค” จาก TAB INNOVATION เป็นเชื้อแบคทีเรียบาซิลัส ซับทิลิส (Bacillus subtills) สายพันธุ์ BM 01 ช่วยลดการเกิดเชื้อราและแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของโรคพืชได้หลายชนิด
รวมถึงโรคใบติดในทุเรียนด้วย ลักษณะของชีวภัณฑ์แบบผงพร้อมใช้งานทั้งบนต้นและลงดิน มีกลไกในการรักษาดังนี้

  • แข่งขันกับเชื้อสาเหตุโรคพืช แย่งอาหาร พื้นที่ และแร่ธาตุของเชื้อโรคทำให้พวกมันอ่อนแอลง
  • สร้างสารปฏิชีวนะประเภท lipopeptide  เช่น sufactin  iturin  และ difficidin  ช่วยยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
  • สร้างเอ็นไซม์คติเนส (chitinase) กลูคาเนส (glucanase) เส้นใยหรือส่วนขยายพันธุ์โรคพืชเกิดรอยรั่ว แตกเสียหายและตายในที่สุด
  • ชักนำให้พืชต้านทานโรค เจน-แบค สามารถครอบครองรากพืชและเติบโตบนรากได้ พืชจึงปลดปล่อยสารกระตุ้นได้หลายชนิด ยีนมีการเปลี่ยนแปลง พืชจึงต้านทานต่อเชื้อโรคมากขึ้น และยังช่วยเรื่องการเจริญเติบโตด้วย

เกษตรกรสวนทุเรียนคนไหนกำลังปวดหัวกับโรคใบติดในทุเรียน เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ “เจน-แบค” จาก TAB INNOVATION ผู้ช่วยชั้นดีที่พร้อมจัดการกับโรคร้ายได้แบบอยู่หมัด ทางเราก็ได้ทำวิดีโอแนะนำตัวผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาโรคใบติดให้ศึกษาเพิ่มเติมกันตามวิดีโอด้านล่างกันได้เลย

                       

                                 

10 มิถุนายน 2567

ผู้ชม 1137 ครั้ง

Engine by shopup.com