กลไกการทำงานของ เจน-แบค (บาซิลัส ซับทิลิส สายพันธุ์ บีเอ็ม-01 )
กลไกการทำงานของ เจน-แบค (บาซิลัส ซับทิลิส สายพันธุ์ บีเอ็ม-01 )
กลไกของ เจน-แบค ในการเข้าทำลายเชื้อสาเหตโรคพืช
เจน- แบค คือเชื้อแบคทีเรียบาซิลัส ซับทิลิส (Bacillus subtillis) สายพันธุ์ BM 01 ซึ่งเป็นจุลลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อราและแบคทีเรียสาเหตุโรคพืชได้หลายชนิด เช่นโรคใบจุด ราแป้ง ราน้ำค้าง ราสนิม แอนเทรคโนส ตาเสือ ใบติด รากเน่าโคนเน่า ขอบใบทอง และแคงเกอร์ และยังช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต โดย เจน-แบค อยู่ในรูปชีวภัณฑ์แบบผงพร้อมใช้งาน ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งบนต้นและลงดิน
เจน-แบค เน้นการใช้เพื่อป้องกันก่อนการเกิดโรค ควรทำตั้งแต่เริ่มปลูกไปจนถึงเก็บเกี่ยวและควรใช้วิธีผสมผสานจึงจะสามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้
โดยกลไกการทำงานของ เจน-แบค มีดังนี้
1.การแข่งขันกับเชื้อสาเหตุโรคพืช (Competition)
เจน-แบค สามารถเจริญได้ดีและทนต่อสภาพแวดล้อม ทำให้สามารถจะแย่งพื้นที่ อาหาร และแร่ธาตุที่จำเป็นต่อเชื้อโรค ทำให้เชื้อโรคอ่อนแอ ไม่สามารถเข้าทำลายพืชได้
2.การสร้างสารปฏิชีวนะ (Antibiosis)
เจน-แบค สามารถสร้างสารปฏิชีวนะ ประเภท lipopeptide เช่น sufactin iturin และ difficidin ซึ่งมีผลทำให้ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช
3. การสร้างเอ็นไซม์ (Enzyme)
เจน-แบค สามารถสร้างเอนไซม์ ไคติเนส (chitinase) กลูคาเนส (glucanase) ออกมา ทำเส้นใยหรือส่วนขยายพันธุ์ของสาเหตุโรคพืช เกิดรอยรั่วหรือแตกเสียหายและตายในที่สุด
4.การชักนำให้พืชต้านทานโรค (Induced host resistance)
เจน-แบค สามารถครอบครองรากพืชและเจริญบนราก ทำให้พืชปลดปล่อยสารกระตุ้นได้หลายชนิด ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนของยีน ที่ชักให้พืชต้านทานต่อเชื้อโรค และช่วยการเจริญเติบโต
ข้อมูลอ้างอิง
-อารยา บุญศักดิ์, สุดารัตน์ สตุพันธ์, วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ และคณิตา เกิดสุข, Araya Bunsak, Sudarat Sutaphan , Weerathep Pongprasert and Kanita Kertsuk ศักยภาพของเชื้อ BACILLUS SPP. คัดแยกจากดินนา เพื่อควบคุมโรคใบจุดสีน้ําตาล BIPOLARIS SPP. ในข้าว
-Thomas J. Smith, Steve A. Blackman, Simon J. Foster. Autolysins of Bacillus subtilis: multiple enzymes with multiple functions .
-ณัฐินา สัสดิ์พาณิชย์ (2564). การพัฒนาชัวภัณฑ์Bacillus spp. ด้วยเทคนิคไมโครแคปซูเลชั่นเพื่อควบคุมเชื้อ Xanthomonas oryzae pv.oryzae สาเหตุโรคขอบใบแห้งของข้าว
-Fira, D., Dimkić, I., Berić, T., Lozo, J., & Stanković, S. (2018). Biological control of plant pathogens by Bacillus species. Journal of Biotechnology
-Sha, Y., Wang, Q., & Li, Y. (2016). Suppression of Magnaporthe oryzae and interaction between Bacillus subtilis and rice plants in the control of rice blast. SpringerPlus
17 มิถุนายน 2567
ผู้ชม 897 ครั้ง