เพลี้ยอ่อน-เพลี้ยน้ำมัน ระบาดในแตงโม

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

เพลี้ยอ่อน เพลี้ยน้ำมัน ระบาดในแตงโม

แตงโมเป็นพืชที่นิยมปลูกมากและส่วนใหญ่จะปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ ดังนั้นการดูแลจัดการจึงต้องใช้ความระมัดระวัง โดยปัญหาที่พบเห็นได้บ่อยในแปลงแตงโม นอกจากโรคผลเน่า เถาเหี่ยว ไวรัส ยังมีปัญหาแมลง เช่น เพลี้ยไฟ ด้วงเต่าแตง หนอนชอนใบ

อีกหนึ่งแมลงที่แพร่ระบาดในช่วงนี้ คือ เพลี้ยอ่อน หรือเพลี้ยน้ำมัน การเข้าทำลาย คือ เพลี้ยอ่อนจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ยอด ลำต้น และผล เมื่อเข้าทำลายจะทำให้ใบและผลแตงโม เงา มัน ใบหงิก ใบเหลือง มีคราบน้ำหวานเหนียวเกาะคลุมใบ ทำให้มีราดำขึ้นคลุมซ้ำและปิดกั้นการสังเคราะห์แสงของพืช เพลี้ยอ่อนมักจะทำความเสียหายมากในแตงโมผลเล็ก

วงจรชีวิตของเพลี้ยอ่อน เพลี้ยอ่อนออกลูกเป็นตัว ระยะตัวอ่อน 5-7 วัน ตัวอ่อนลอกคราบ 4-5 ครั้ง และจะเป็นตัวเต็มวัยภายใน 4-8 วัน ตัวแก่มีชีวิตอยู่ได้นาน 3-14 วัน เริ่มขยายพันธุ์หลังจากเป็นตัวเต็มวัย 1 วัน ทำให้แพร่ระบาดได้รวดเร็วเนื่องจากมีวงจรชีวิตที่สั้น  นอกจากนี้เพลี้ยอ่อนที่เข้าทำลายสามารถเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสใบด่าง เข้าสู่ต้นแตงโมได้อีกด้วย

การป้องกันกำจัด

  1. หมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ
  2. ติดกับดักกาวเหนียวสีเหลือง เพื่อช่วยสังเกตแมลงที่เข้ามาในแปลง รวมถึงช่วยกำจัดตัวเต็มวัย
  3. ใช้ศัตรูธรรมชาติ เช่น การปล่อยด้วงเต่าตัวห้ำ จะช่วยกินเพลี้ยอ่อนและช่วยลดการทำลายของเพลี้ยอ่อนได้เช่นกัน
  4. ฉีดพ่น ด้วย บิว-เวอร์ (บูเวเรีย บัสเซียน่า สายพันธุ์ BCC 2660) อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ร่วมกับ สารจับใบ เบน-ดิกซ์ อัตรา 3-5 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5-7 วัน

*** กรณีเกิดการระบาดสามารถฉีดพ่นติดต่อกันทุกวัน จำนวน 3 วัน หรือใช้ร่วมกับสารเคมีตามคำแนะนำของหน่วยราชการ เช่น โพรไทโอฟอส 50% EC, คาร์บาริล 85% WP หรือ ฟิโพรนิล 5% SC เพื่อลดการดื้อของสารเคมีของแมลงศัตรูพืช

16 เมษายน 2568

ผู้ชม 63 ครั้ง

Engine by shopup.com