ระวัง เพลี้ยไฟพริก ในพืชตระกูลส้ม (เช่น มะนาว มะกรูด ส้มโอ และส้มเขียวหวาน)

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์
ระวัง เพลี้ยไฟพริก ในพืชตระกูลส้ม (เช่น มะนาว มะกรูด ส้มโอ และส้มเขียวหวาน)
 
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศแปรปรวน โดยอากาศจะเริ่มอุ่นขึ้นและมีฝนฟ้าคะนองในบางพื้นที่แต่ยังคงจะมีอากาศเย็นในตอนเช้า
เตือนผู้ปลูกพืชตระกูลส้ม (เช่น มะนาว มะกรูด ส้มโอ และส้มเขียวหวาน) ในระยะออกดอก - ติดผลอ่อน รับมือเพลี้ยไฟพริก
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยใช้ปากเขี่ยและดูดกินน้ำเลี้ยงส่วนอ่อนต่าง ๆ ของพืช การทำลายบนยอดหรือใบอ่อน จะทำให้ใบแคบเล็กกร้าน และบิดงอ การทำลายบนผลจะเริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ติดผล ภายหลังกลีบดอกร่วงหมด เกิดเป็นรอยแผลบนผิวของผล เป็นทางสีเทาเงิน ผลแคระแกร็น บิดเบี้ยว
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. เมื่อพืชเริ่มแตกใบอ่อน ยอดอ่อน ตุ่มตาใบ ตุ่มตาดอก ช่อดอก ใช้ เมตาไลต์ (เมทาไรเซียม แอนนิโซเพลีย สายพันธุ์ เอฟเอ็ม-101) อัตรา 100 กรัม ร่วมกับสารจับใบ มูฟ-เอ็กซ์ 3-5 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ก่อนพ่น ควรให้ความชื้นในแปลงประมาณ 60-65 เปอร์เซ็นต์ พ่นช่วงตอนเย็นอากาศไม่ร้อน พ่นทุก 5-7 วัน
2. ถ้าพบไม่มากให้ตัดส่วนที่แมลงระบาดไปเผาทิ้ง เพราะเพลี้ยไฟมักอยู่กันเป็นกลุ่มบริเวณส่วนยอดอ่อนของพืช
3. กรณีเพลี้ยไฟระบาดสามารถใช้ เมตาไลต์ เพื่อลดการดื้อยาของแมลง ร่วมกับการสารเคมี หรือใช้สลับกับการพ่นสารเคมีตามที่หน่วยงานราชการแนะนำ เช่น สไปนีโทแรม 12% SC, อะบาเมกติน 1.8% EC หรือ ไซแอนทรานิลิโพรล 10% OD เพื่อลดการดื้อยา
***ในขณะที่ดอกบานควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีดังกล่าว เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อแมลงผสมเกสรได้
 
 
ขอบคุณข้อมูล: สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
 
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://tabinnovation.co.th/ดูบทความ-163109-พริก-chili-pepper.html

26 มีนาคม 2568

ผู้ชม 21 ครั้ง

Engine by shopup.com