เตือนภัย!!! ระวังหนอนใยผัก ในพืชตระกูลกะหล่ำ

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

เตือนภัย!!! ระวังหนอนใยผัก ในพืชตระกูลกะหล่ำ

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อน มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำ (เช่น คะน้า กะหล่ำปลี ผักกาดขาว กะหล่ำดอก บรอกโคลี ฯลฯ) ในระยะ ทุกระยะการเจริญ รับมือหนอนใยผัก
ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ หรือกลุ่มเล็ก ๆ ทั้งบนใบและใต้ใบพืช หนอนมีลักษณะเรียวยาว หัวแหลมท้ายแหลม ส่วนท้ายมีปุ่มยื่นออกเป็น 2 แฉก เมื่อถูกตัวจะดิ้นอย่างแรง และสร้างใยพาตัวขึ้นลงระหว่างพื้นดินกับใบพืชได้ หนอนจะกัดกินผิวใบทำให้ผักเป็นรูพรุนคล้ายร่างแห จากนั้นเข้าดักแด้บริเวณใบพืช โดยมีใยบาง ๆ ปกคลุมติดใบพืช

แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. การใช้วิธีทางเขตกรรม สามารถช่วยลดการระบาดของหนอนใยผักได้ เช่น การไถพรวนดินตากแดด หรือการทำลายซากพืชอาหาร หรือการปลูกพืชหมุนเวียน ทั้งนี้เพื่อขัดขวางการขยายพันธุ์อย่างต่อเนื่องของหนอนใยผัก
2. ใช้ ทีเอบี บีทีเอ (บาซิลลัส ทูริงเยนซิส ซับสปีชีส์ ไอซาไว) ฉีดพ่น อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร (4 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร) ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืชทุก 5-7 วัน

***คำแนะนำ การใช้ ทีเอบี บีทีเอ ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
- ฉีดพ่น ทีเอบี บีทีเอ ทันที เมื่อเริ่มพบการเข้าทำลายของหนอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรพ่นระยะที่หนอนยังมีขนาดเล็ก หรือเพิ่งออกไข่
- ควรฉีดพ่นในเวลาเช้าตรู่หรือเวลาเย็นเนื่องจาก ทีเอบี บีทีเอ เป็นสารชีวภัณฑ์ ประกอบด้วยเชื้อแบคทีเรียที่มีชีวิตแสงแดดจะทำให้ประสิทธิภาพของเชื้อลดลง

 

 

ขอบคุณข้อมูล:

สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร, koppertus.com, pestnet.org

13 มกราคม 2568

ผู้ชม 10 ครั้ง

Engine by shopup.com