การจัดการโรคเหี่ยวเขียวในปทุมมา

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

การจัดการโรคเหี่ยวเขียวในปทุมมา

ปทุมมา, กระเจียวบัว, ขมิ้นโคก หรือ ทิวลิปสยาม (อังกฤษ: Siam Tulip)

ปทุมมา เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี ใบเลี้ยงเดี่ยว มีลำต้นใต้ดิน ทำหน้าที่สะสมอาหาร เรียกว่า เหง้า หรือหัว มีลําต้นเทียม (pseudostem) ซึ่งเกิดจากการอัดตัวกันของกาบใบ โดยกาบใบเจริญมาจากตาข้างของเหง้า ราก เป็นรากฝอย ที่ปลายรากสะสมอาหาร ทําให้รากบวมเป็นตุ่มขนาดใหญ่ เรียกว่า ตุ้มราก ดอก ช่อดอกแน่น เป็นใบประดับที่ออกจากปลายยอดของลำต้นเทียม เรียงซ้อนกันเป็นเกลียวหรือ เป็นแถว มีลักษณะคล้ายทรงกระบอกหรือกระสวย ดอกจริงจะอยู่ในซอกของใบประดับ แต่ละ ใบประดับจะมีดอกอยู่รวมกันหลายดอก จะบานไม่พร้อมกัน โดยลักษะเด่นก็จะแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์นั้นๆ

เกษตรผู้ปลูกปทุมมาอาจจะพบปัญหาระหว่างการปลูก เช่น ต้นเป็นโรค โดยโรคที่พบมากในปทุมมา คือ โรคเหี่ยวเขียวที่เกิดจาก แบคทีเรีย Ralstonia solanacearum เป็นโรคที่สร้างความเสียหายให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกและส่งออกปทุมมา ลักษณะอาการ คือ ต้นเหี่ยวเฉาอย่างกะทันหัน ระยะแรกจะเหี่ยวแค่ตอนกลางวันที่อากาศร้อนจัด ต่อมาจะเหี่ยวถาวร ขอบใบม้วนงอเข้าด้านในของเส้นกลางใบ และใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง พบการเน่าของลำต้นเทียมและเหง้า เมื่อผ่ากลางขวางของลำต้นจะพบท่อลำเลียงที่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลภายในต้นที่เป็นโรค เมื่อนำต้นจุ่มน้ำจะสังเกตุเห็นเมือกของเหลวใส หรือขาวขุ่นไหลออกจากลำต้น

โดยโรคสามารถติดไปได้กับ ต้นและหัวพันธุ์ นอกจากนั้นโรคนี้ยังสามารถอยู่ในดินได้นาน และเกิดโรคได้กับพืชหลายชนิด เช่น ตระกูลพริก มะเขือ แตง นอกจากนี้ยังมีโรคอื่นๆ ที่พบได้บ่อย ได้แก่ ใบจุด ราน้ำหมาก โรคเน่า

นอกจากนี้งานวิจัยของ ณัฏฐิมา และคณะ ที่ทำการทดสอบการป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวเขียวในปทุมมาพบว่า การใช้ยูเรียและปูนขาวที่ใช้ในการปรับสภาพดิน ร่วมกับการใช้เชื้อปฏิปักษ์ บาซิลัส ซับทิลิส ช่วยลดการเกิดโรคเหี่ยวเขียวในปทุมมาได้ดีที่สุด รองลงมา คือ การใช้ คลอรีน เป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยลดการเป็นโรคได้

บาซิทัส คือ บาซิลลัส ซับทิลิส สายพันธุ์ บีเอส-ดีโอเอ 24 ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากวิชาการเกษตร เป็นชีวภัณฑ์ที่ใช้ในการป้องกันโรคเหี่ยวเขียว ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum โดยการแย่งอาหาร และสร้างสารพิษกับเชื้อสาเหตุโรคพืชสามารถใช้ได้กับพืชทุกชนิด ได้แก่

 โรคเหี่ยวในพริก

 โรคเหี่ยวในมันฝรั่ง

 โรคเหี่ยวเขียวของต้นกล้ามะเขือเทศ

 โรคเหี่ยวในขิง

 โรคเหี่ยวในพืชตระกูลแตง

 

จัสเตอร์ สารปรับปรุงสภาพดินที่ได้จากแร่ธาตุจากธรรมชาติ ที่ผ่านขบวนการผลิตที่ทำให้มีขนาดของอนุภาคที่เล็ก มีค่าความกรด-ด่าง (pH) 8.5 – 10 ละลายน้ำได้ดี ปรับสภาพดินได้รวดเร็ว เห็นผลภายใน 1 เดือน สามารถใช้ทดแทนการใช้ปูนขาวได้ เนื่องจากใช้ได้ในปริมาณที่น้อยและเห็นผลเร็ว

ละลายน้ำได้ดี

ช่วยแก้ปัญหาดินเปรี้ยว (เป็นกรด) ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว

ช่วยรักษาความเป็นกรดด่างของดิน ให้เหมาะแก่การเติบโตของพืช

ช่วยให้พืชดูดซึมธาตุอาหารในดินได้มากขึ้น

ใช้ได้กับพืชทุกชนิดและทุกการเจริญเติบโต

 

พาร์ทเนอร์-ที (Partner-T)  คือ คลอรีนไดออกไซด์ 5.8% W/W (chlorine dioxide 5.8% W/W) และยูชอยส์ สารฆ่าเชื้อในน้ำ สารออกฤทธิ์ คือ Chlorobromo Isocyanuric ที่มีประสิทธิภาพสูง

สามารถใช้ฆ่าเชื้อโรค ในน้ำ และฉีดพ่นทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตร ในโรงเรือน และพื้นผิวต่างๆ ที่ต้องการ

 

วิธีป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวเขียวในปทุมมา

การเลือกใช้พันธุ์ต้านทาน

ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ปลูก ที่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อน

หมั่นตรวจและสังเกตแปลงปลูกเสมอ เมื่อพบต้นที่แสดงอาการของโรคให้ขุดออก นำไปเผาทำลาย ขุดดินบริเวณรอบต้น นำไปฝังทำลาย โรยปูนขาวบริเวณหลุมที่ขุดออก เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค

 ปรับระบบการใช้น้ำ ควบคุมความชื้นในดินไม่ให้มากเกินไป เพื่อลดการระบาดของโรค

ไถพลิกกลับดินตากแดดหลายๆ ครั้งเพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อในดิน เตรียมดินให้มีการระบายน้ำได้ดี

ในพื้นที่ที่เกิดโรคระบาดควรปลูกพืชหมุนเวียนที่ไม่ใช่พืชอาศัยของเชื้อสาเหตุโรค

ใช้ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวเขียว โดยใช้ชีวภัณฑ์ บาซิทัส (แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส DOA-24)  ใช้ราดหรือฉีดพ่นลงดินทุกๆ 7 วัน  อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ในเวลาเช้าตรู่หรือเวลาเย็น หลีกเลี่ยงแสงแดดจัด ควรใช้ตั้งแต่การเตรียมแปลงปลูกจะช่วยป้องกันโรคได้

โดยวิธีการใช้ตั้งแต่เริ่มเตรียมแปลงสามารถทำได้ ดังนี้

การเตรียมแปลงปลูก

วิธีการใช้

- ใช้ จัสเตอร์ ปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน (pH) อยู่ในช่วง 6.0 – 6.8 อัตราน้ำ 80 - 100 ลิตร/ไร่

pH ต่ำกว่า 4.5   15 ลิตร/ไร่

pH 4.5-5.5       10 ลิตร/ไร่

pH 5.6-9.5         5 ลิตร/ไร่

- หากไม่ทราบค่า pH แนะนำใช้ จัสเตอร์ ในอัตรา 5 ลิตร/ไร่ใช้ ไตร-แท๊บ 1 กก. ผสม ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก 100-500 กก.หว่านในแปลงปลูก

 


การเตรียมกล้า

วิธีการใช้

- เพาะกล้าใช้ ไตร-แท๊บ 1 กก. ผสมวัสดุปลูก 100-500 กก.
- รดต้นกล้าด้วย บาซิทัส อัตรา 50-100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร รดทุก 7 วัน

 


หลังย้ายกล้าลงแปลงปลูก

วิธีการใช้

- ใช้ปล่อยไปกับระบบน้ำ บาซิทัส + จัสเตอร์ อัตรา 0.5 - 1.0 กก. + 500 ซีซี ต่อไร่ หรือ
- ฉีดพ่นลงดิน บาซิทัส + จัสเตอร์ อัตรา 50-100 กรัม + 100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7-10 วัน



กรณีเริ่มพบการเกิดโรคในแปลง

วิธีการใช้

- เมื่อเริ่มพบต้นที่เกิดโรคให้นำออกจากแปลงเพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค
- ปล่อยไปกับระบบน้ำ บาซิทัส + เจน-แบค + จัสเตอร์ อัตรา 1 กก. + 500 กรัม + 500 ซีซี ต่อไร่
- ฉีดพ่นลงดิน บาซิทัส + เจน-แบค + จัสเตอร์ อัตรา 100 กรัม + 50 กรัม + 100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 5-7 วัน


 

 

ภาพ แปลงปทุมมาและต้นปทุมมาที่ถูกเข้าทำลายจากโรคเหี่ยวเขียว

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก:

Ajitomi Atsushi, Inoue Yasuhiro, Horita Mitsuo, Nakaho Kazuhiro. (2015). Bacterial wilt of three Curcuma species, C. longa (turmeric), C. aromatica (wild turmeric) and C. zedoaria (zedoary) caused by Ralstonia solanacearum in Japan. Journal of General Plant Pathology, 81(4), 315–319.

ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล,  เยาวภา ตันติวานิช, วิภาดา ทองทักษิณ, สุธามาศ ณ น่าน. การจัดการโรคเหี่ยวของปทุมมาที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum. สถาบันวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช.

27 ธันวาคม 2567

ผู้ชม 88 ครั้ง

Engine by shopup.com