เกษตรกรต้องรู้จัก ‘แคลเซียมโบรอน’ ช่วยผลดก ประโยชน์เพียบ

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

เกษตรกรกำลังพ่นแคลเซียม-โบรอนให้พืช

การปลูกพืชให้ได้ผลผลิตคุณภาพดีในปริมาณมาก ล้วนเป็นความหวังและเป้าหมายของเกษตรกรทุกคน เพราะยิ่งผักผลไม้ให้ผลผลิตเยอะ ลูกใหญ่ และมีคุณภาพมากเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้เป็นกอบเป็นกำมากขึ้นเท่านั้น แต่การจะปลูกพืชให้ได้ผลผลิตเยอะสมความตั้งใจ ต้องอาศัยหลายปัจจัยประกอบกัน และหนึ่งในนั้น คือการให้ธาตุอาหารเพื่อให้พืชเจริญเติบโตได้ดีขึ้น ซึ่งแร่ธาตุที่ขาดไม่ได้ ก็คือ 'แคลเซียม-โบรอน' นั่นเอง

รู้จักแคลเซียมโบรอน 2 แร่ธาตุมากประโยชน์เพื่อพืชผล

แคลเซียม (Calcium) และโบรอน (Boron) เป็นธาตุอาหารสำคัญสำหรับพืช โดยมีบทบาทเฉพาะที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพของพืชโดยตรง ซึ่งธาตุอาหารแต่ละชนิด มีความสำคัญต่อพืช ดังนี้

แคลเซียม (Calcium)

แคลเซียม เป็นธาตุอาหารรอง (Secondary Nutrient) ที่สำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแรงของเซลล์พืช มีส่วนช่วยในการลำเลียงน้ำและสารอาหารไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ผล ใบ และดอก โดยแคลเซียมจะช่วยสร้างผนังเซลล์ (Cell Wall) ซึ่งเปรียบเสมือนกำแพงที่ช่วยปกป้องพืชจากโรคและการทำลายจากสภาพแวดล้อม หากได้รับแคลเซียมเพียงพอ พืชจะมีใบ กิ่ง และลำต้นที่แข็งแรง ทนต่อแรงลมและศัตรูพืช หากขาดแคลเซียม อาจทำให้พืชเกิดโรคได้

โบรอน (Boron)

โบรอน เป็นธาตุอาหารเสริม (Micronutrient) ที่พืชต้องการในปริมาณน้อย แต่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการพัฒนาส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ ช่วยในการสร้างเกสรดอกและกระบวนการผสมเกสร ทำให้ติดผลได้ดีขึ้น มีหน้าที่ลำเลียงน้ำตาลไปยังผลไม้ ทำให้ผลมีคุณภาพดี รสชาติดี และขนาดใหญ่ อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นการสร้างรากใหม่ ทำให้พืชดูดซึมสารอาหารและน้ำได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย

สรุปประโยชน์ของแคลเซียมโบรอน

จากคุณสมบัติสำคัญของแคลเซียมและโบรอน เราจึงสามารถสรุปประโยชน์ของธาตุอาหารชนิดนี้ให้เห็นภาพได้ ดังนี้

1. เพิ่มความแข็งแรงให้ผนังเซลล์ของพืช

แคลเซียมมีบทบาทสำคัญในการสร้างและเสริมความแข็งแรงของผนังเซลล์พืช โดยทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างเซลล์ ทำให้พืชแข็งแรงมากขึ้น ลดความเสี่ยงของความเสียหายจากโรคและแมลง และยังช่วยรักษาความชุ่มชื้นในเนื้อเยื่อของพืชได้ดีขึ้น ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ

2. ช่วยให้ยอดและปลายรากเจริญเติบโตได้ดี

โบรอนมีบทบาทในการพัฒนายอดและปลายรากของพืช โดยกระตุ้นการเคลื่อนย้ายและใช้พลังงานในพืช รวมถึงเสริมสร้างกระบวนการสร้างเซลล์ใหม่ ช่วยให้พืชเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องในทุกส่วนสำคัญ ทั้งในยอดและระบบรากที่แข็งแรง

3. ช่วยต้านทานโรคพืชและซ่อมแซมบาดแผลที่เกิดขึ้นบนใบและลำต้น

แคลเซียมโบรอนมีประโยชน์ในการซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย เช่น ใบและลำต้น โดยกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ที่แข็งแรง พร้อมทั้งเพิ่มความสามารถในการต้านทานโรค ลดโอกาสการติดเชื้อในพืช นอกจากนี้ยังช่วยเสริมให้โครงสร้างพืชแน่นหนาขึ้น ลดการหลุดร่วงของใบและผล

4. เพิ่มโอกาสในการออกดอกและติดผล

โบรอนช่วยกระตุ้นการพัฒนาเกสรและการผสมเกสรในพืช ส่งผลให้มีดอกและผลที่สมบูรณ์มากขึ้น ในขณะที่แคลเซียมมีบทบาทในการเพิ่มคุณภาพผลผลิต เช่น น้ำหนัก สีสัน และรสชาติ จากการลำเลียงคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และน้ำตาลไปที่ผล พร้อมทั้งช่วยยืดอายุการเก็บรักษาของผลผลิต ลดการหลุดร่วงของดอกและผลก่อนเวลาอันควร

ตัวอย่างการใช้แคลเซียมโบรอนทำให้ทุเรียนออกลูกดก

 

แคลเซียมโบรอนอันตรายไหม หากฉีดมากเกินไปจะเกิดอะไรขึ้น ?

หากเจือจางธาตุอาหารในสัดส่วนตามคำแนะนำที่ระบุไว้ข้างผลิตภัณฑ์ เกษตรกรสามารถมั่นใจได้เลยว่าจะไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อผลผลิต เนื่องจากแคลเซียมโบรอนถือเป็นธาตุอาหารเสริมที่ไม่เป็นอันตรายต่อพืช แต่หากฉีดมากเกินไป หรือฉีดในช่วงที่ผลผลิตเริ่มออกดอก อาจทำให้พืชผลเกิดความผิดปกติและเสียหายได้

แนวทางการฉีดแคลเซียมโบรอนอย่างถูกวิธี

แม้ว่าแคลเซียมโบรอนจะเป็นธาตุอาหารที่มีประโยชน์มากมายต่อพืช แต่แนวทางการฉีดอย่างถูกวิธีก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ซึ่งเกษตรกรหลายคนอาจยังสงสัยว่าแคลเซียมโบรอนใช้ฉีดตอนไหน เราจึงมีแนวทางการฉีดธาตุอาหารชนิดนี้อย่างถูกวิธีมาแนะนำ

  • ฉีดพ่นเป็นละอองเล็ก ๆ ให้ทั่วใบและส่วนอื่น ๆ ของพืชทุก 7-10 วัน
  • หากต้องการฉีดพ่นทางใบ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็ว ควรฉีดช่วงเช้าหรือช่วงเย็นที่มีแดดอ่อน ๆ และผสมสารจับใบหรือสารแทรกซึมเข้าไปด้วย เพื่อให้พืชดูดซึมได้ดียิ่งขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการฉีดในช่วงอากาศร้อน เพราะพืชจะดูดซึมแคลเซียมโบรอนผ่านการคายน้ำ หากอากาศร้อนจัด พืชจะไม่คายน้ำและไม่สามารถดูดซึมได้
  • ไม่ฉีดในช่วงที่ฝนตก เนื่องจากจะสูญเสียธาตุอาหารได้ง่าย ควรฉีดหลังฝนตก 1-2 วัน ในช่วงที่ดินยังมีความชุ่มชื้นอยู่จะดีกว่า
  • ไม่ฉีดแคลเซียมโบรอนหลังใส่ปูนทุกชนิด เพราะปูนมีคุณสมบัติเป็นด่าง พืชจึงไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้อย่างเต็มที่ ควรเว้นระยะอย่างน้อย 30 วันขึ้นไป
  • ปลูกพืชหมุนเวียนและใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมด้วย เพื่อให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์อยู่เสมอ เพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมโบรอน

เมื่อรู้แล้วว่าแคลเซียมโบรอนใช้ตอนไหนและมีประโยชน์อย่างไร หากกำลังมองหาธาตุอาหารเสริมแคลเซียมโบรอนสำหรับทุเรียน สับปะรด มันฝรั่ง แคร์รอต พืชผักตระกูลกะหล่ำ รวมถึงไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับประเภทอื่น ๆ เลือกทีเอบี แคลบีแบล็ค ผลิตภัณฑ์ธาตุอาหารช่วยเพิ่มผลผลิต ลดปัญหาการขาดหลุดร่วงของพืช ช่วยให้พืชออกดอกดี ติดผลง่าย ผลดกสมบูรณ์ สั่งซื้อและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับ TAB Innovation ได้ที่เบอร์ 0-2954-3120-3 และ LINE Official Account @tabinnovation

17 ธันวาคม 2567

ผู้ชม 137 ครั้ง

Engine by shopup.com