5 ศัตรูพืชที่ชาวสวนต้องระวัง พร้อมวิธีกำจัดที่ปลอดภัย
5 ศัตรูพืชที่ชาวสวนต้องระวัง พร้อมวิธีกำจัดที่ปลอดภัย
การปลูกข้าวโพดถือเป็นหนึ่งในอาชีพหลักของเกษตรกรไทยในหลายพื้นที่ เพราะเป็นพืชที่ให้ผลผลิตสูงและมีตลาดรองรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่แม้ว่าข้าวโพดจะเป็นพืชที่ทนทานและสามารถเจริญเติบโตได้ดีในหลายสภาพแวดล้อม แต่การเจอกับแมลงศัตรูพืชในไร่ข้าวโพด ก็เป็นเสมือนหนามทิ่มแทงใจของพี่น้องชาวสวนที่ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง หากไม่ได้รับการดูแลที่ดีพืชผลอาจจะได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผลผลิตที่ได้ ถึงแม้ว่าจะใช้สารเคมีเพื่อกำจัดแมลงเหล่านี้แล้วก็ตาม ดังนั้น การทำความรู้จักกับ 5 ศัตรูพืชที่ชาวสวนต้องระวัง พร้อมวิธีกำจัดที่ปลอดภัย ทั้งต่อผู้ใช้ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเกษตรกรในปัจจุบัน
5 แมลงศัตรูพืชในไร่ข้าวโพดที่ต้องระวัง
ในไร่ข้าวโพดนั้น การพบแมลงในดินหรือแมลงกินใบกลางคืน เป็นหนึ่งในปัญหาที่ชาวไร่ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง เนื่องจากแมลงบางชนิดอาจซ่อนตัวอยู่ในดินและทำลายข้าวโพดตั้งแต่ช่วงต้นอ่อนจนถึงระยะเก็บเกี่ยว ดังนั้น การรู้จักแมลงในดินว่ามีอะไรบ้าง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เกษตรกรต้องศึกษาและปฏิบัติเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผลผลิต
มอดดิน
มอดดินเป็นแมลงที่มักจะอาศัยอยู่ในดินและกัดกินรากของต้นข้าวโพด โดยเฉพาะในช่วงที่ต้นข้าวโพดยังเป็นต้นอ่อน หากเกิดการระบาดในพื้นที่มาก ๆ จะทำให้ต้นข้าวโพดเจริญเติบโตได้ช้าหรือบางครั้งอาจทำให้ต้นข้าวโพดตายได้หากไม่ได้รับการควบคุม
ช่วงที่ควรระวัง : มักพบมอดดินในข้าวโพดที่ระยะต้นอ่อน (1-20 วัน)
หนอนเจาะข้าวโพด
หนอนเจาะข้าวโพด หรือแมลงกินใบกลางคืน สามารถสร้างความเสียหายโดยการเจาะเข้าไปในลำต้น ก้านใบเหนือข้อ และโคนฝัก ทำให้ต้นอ่อนแอและฝักติดเมล็ดไม่สมบูรณ์ หากไม่ควบคุมอาจทำให้ผลผลิตเสียหายอย่างมาก
ช่วงที่ควรระวัง : มักพบหนอนเจาะในระยะข้าวโพดเจริญเติบโต (21-45 วัน)
หนอนกระทู้ข้าวโพด
หนอนกระทู้ข้าวโพด อีกหนึ่งศัตรูพืชที่มีผลกระทบกับข้าวโพดอย่างมาก มักโจมตีข้าวโพดโดยกินใบและยอดข้าวโพด ส่งผลให้ต้นหยุดเจริญเติบโตและผลผลิตลดลงอย่างชัดเจน
ช่วงที่ควรระวัง : มักพบหนอนกระทู้ข้าวโพด เมื่อพืชผลเข้าระยะเจริญเติบโต (21-45 วัน)
เพลี้ยไฟ
เพลี้ยไฟ เป็นแมลงขนาดเล็กที่ดูดน้ำเลี้ยงจากใบข้าวโพด ทำให้เกิดรอยด่างสีเหลืองซีด กระจายอยู่ทั่ว และใบจะเหี่ยวแห้งตายไปในที่สุด หากปล่อยให้ระบาดโดยไม่ควบคุมอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพด ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ
ช่วงที่ควรระวัง : มักพบเพลี้ยไฟในข้าวโพดระยะผสมเกสร (46-55 วัน)
เพลี้ยอ่อน
เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงศัตรูพืชข้าวโพดที่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องผสมพันธุ์ มักจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอด กาบใบ และกาบฝัก ทำให้ต้นข้าวโพดอ่อนแอ เหี่ยวเฉาลง และส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช
ช่วงที่ควรระวัง : มักพบเพลี้ยอ่อนในข้าวโพดระยะผสมเกสร (46-55 วัน)
วิธีป้องกันศัตรูพืชและกำจัดแมลงโดยไม่ใช้สารเคมี
การป้องกันและวิธีกำจัดแมลงศัตรูพืชและแมลงกินใบในไร่ข้าวโพด สามารถทำได้หลายวิธีโดยไม่ต้องพึ่งพาสารเคมี โดยมีวิธีที่สามารถเลือกใช้ให้เหมาะตามลำดับการเจริญเติบโตของข้าวโพด ดังนี้
1. การใช้ชีวภัณฑ์เมตาไลต์กำจัดศัตรูพืชในระยะต่าง ๆ
เมตาไลต์ (Metalyte) เชื้อราเมทาไรเซียม แอนนิโซเพลีย สายพันธุ์ เอฟเอ็ม-101 คือชีวภัณฑ์ที่สามารถช่วยกำจัดแมลงศัตรูพืช ในไร่ข้าวโพดได้ ในกลุ่มแมลงปากดูด เช่น เพลี้ยไฟ
ทีเอบี บีทีเอ เชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis (ฺBT) คือชีวภัณฑ์ที่สามารถช่วยกำจัด กำจัดแมลงศัตรูพืช ในไร่ข้าวโพด ในกลุ่มปากกัด เช่น หนอน
โดยไม่ทำให้เกิดสารพิษตกค้างในพืชหรือสิ่งแวดล้อม สามารถใช้ได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ข้าวโพด
คำแนะนำการใช้ :
- กลุ่มแมลงปาดดูด เมตาไลต์ (ชีวภัณฑ์เมทาไรเซียม) มีวิธีใช้ในอัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยแนะนำให้ใช้ชีวภัณฑ์ร่วมกับสารจับใบและฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืชทุก 5-7 วัน สำหรับประสิทธิภาพที่ดีที่สุด ควรฉีดพ่นในช่วงเย็นและให้สารสัมผัสตัวแมลงโดยตรง
- กลุ่มแมลงปากกัด ทีเอบี บีทีเอ อัตรา 80-100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยแนะนำให้ใช้ชีวภัณฑ์ร่วมกับสารจับใบและฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืชเมื่อเริ่มพบตัวหนอนทุก 5-7 วัน
2. การใช้แมลงศัตรูตามธรรมชาติของแมลงศัตรูพืช
การใช้แมลงศัตรูตามธรรมชาติ เช่น แมลงตัวห้ำ (Predator) หรือตัวเบียน (Parasite) เพื่อควบคุมจำนวนแมลงศัตรูพืช เช่น แมลงหางหนีบเป็นตัวห้ำของหนอนกระทู้ข้าวโพด ด้วงดินเป็นตัวห้ำของเพลี้ย เป็นต้น จึงสามารถช่วยให้การจัดการไร่ข้าวโพดเป็นไปอย่างธรรมชาติและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม
3. การปลูกพืชหมุนเวียน
การปลูกพืชหมุนเวียน เช่น การปลูกพืชชนิดอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับข้าวโพด เช่น พืชตระกูลถ้่ว ในระยะเวลาที่เว้นจากการปลูกข้าวโพดอย่างเหมาะสม นอกจากจะช่วยบำรุงดิน เพิ่มธาตุอาหาร เพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ดินอย่างมีคุณภาพแล้ว ยังช่วยตัดวงจรการเจริญเติบโตและลดจำนวนของศัตรูพืชได้อีกด้วย
การกำจัดและป้องกันศัตรูพืชในไร่ข้าวโพดโดยไม่ใช้สารเคมีอันตราย เป็นสิ่งที่พี่น้องชาวสวนชาวไร่ทุกคนควรให้ความสำคัญ เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม การเลือกใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การใช้เมตาไลต์ (Metalyte) เชื้อราเมทาไรเซียม ทีเอบี บีทีเอ เชื้อ(BT) ในการใช้แมลงศัตรูตามธรรมชาติ และการปลูกพืชหมุนเวียน เป็นทางเลือกที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการควบคุมศัตรูพืช
พี่น้องเกษตรกรที่ต้องการคำแนะนำในการใช้ชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช สามารถสอบถามและขอคำแนะนำได้ที่ ทีเอบี อินโนเวชั่น เราวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการเกษตรปลอดสารพิษมานานกว่า 20 ปี ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และสิ่งแวดล้อม ปกป้องและคุ้มครองพืชผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้งานได้ง่าย ไร้สารเคมีตกค้าง สั่งซื้อและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับ TAB Innovation ได้ที่โทร. 0-2954-3120-3 และ LINE Official Account @tabinnovation
17 ธันวาคม 2567
ผู้ชม 72 ครั้ง