เตือนเกษตรกร ระวัง โรคราน้ำค้าง ในผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

เตือนเกษตรกร ระวัง โรคราน้ำค้าง ในผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นลง และมีฝนตกบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี ผักกาดขาว ผักกาดหัว ผักฮ่องเต้ ผักหางหงษ์ ผักกวางตุ้ง คะน้า เป็นต้น รับมือโรคราน้ำค้าง (เชื้อรา Peronospora parasitica) ซึ่งพบโรคนี้ได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช ถ้าเป็นโรคในระยะกล้า ใบเลี้ยงจะเกิดจุดแผลสีน้ำตาลทำให้ลำต้นเน่า หรือแคระแกร็น ถ้าเป็นโรคในระยะต้นโต จะพบอาการเริ่มแรกบริเวณด้านบนใบลักษณะเป็นจุดแผลสีเหลือง หรืออาจเป็นปื้นๆ สีเหลือง ถ้าสภาพอากาศชื้นโดยเฉพาะตอนเช้าเมื่อพลิกดูด้านใต้ใบมักจะพบเส้นใยเชื้อราสีขาว หรือเทาคล้ายปุยฝ้าย ถ้าโรคระบาดรุนแรงแผลจะลามขยายใหญ่ทำให้เนื้อใบเป็นสีน้ำตาล และแห้งตาย
*** ในกะหล่ำดอกและบรอกโคลี ถ้าเชื้อเข้าทำลายรุนแรงก้านดอกจะยืดและดอกอาจจะบิดเบี้ยวเสียรูปทรง

แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากเชื้อสาเหตุโรค
2. ควรปลูกพืชให้มีระยะห่างพอสมควร ไม่เบียดแน่นจนเกินไป
3. ใช้ เจน-แบค สำหรับป้องกันก่อนการเกิดโรค อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้ร่วมกับสารจับใบ เบน-ดิกซ์ อัตรา 3-5 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบนต้นทุกๆ 5-7 วัน หากพบการระบาดสามารถใช้ร่วมกับสารเคมีตามที่หน่วยราชการแนะนำ เช่น เมทาแลกซิล 25% WP หรือ แมนโคเซบ 80% WP โดยพ่นให้ทั่วทั้งด้านบนใบและใต้ใบ

 

ขอบคุณข้อมูล: สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร

17 ธันวาคม 2567

ผู้ชม 47 ครั้ง

Engine by shopup.com