ระวัง!!!โรคตายพรายหรือโรคเหี่ยวระบาดในกล้วย

ระวัง!!!โรคตายพรายหรือโรคเหี่ยวระบาดในกล้วย

ช่วงฤดูฝน เตือน เกษตรกรเฝ้าระวังโรคตายพรายหรือโรคเหี่ยวระบาดในกล้วย ซึ่งโรคนี้จะระบาดในช่วงฝนตกชุก มีน้ำขัง ดินระบายน้ำไม่ดี การป้องกันไว้ก่อนย่อมดีกว่าการแก้ปัญหาในภายหลัง เพราะโรคนี้มีความรุนแรงมาก สามารทำลายสวนกล้วยได้

โรคตายพราย หรือ โรคเหี่ยว สาเหตุจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. cubense พบโรคได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของกล้วย โดยให้สังเกตลักษณะต้นกล้วยที่มีอาการของโรคตายพราย ใบกล้วยที่อยู่รอบนอกหรือใบแก่แสดงอาการเหี่ยวเหลือง ใบจะเหลืองจากขอบใบและลุกลามเข้ากลางใบ ก้านใบหักพับตรงรอยต่อกับลำต้นเทียม และจะทยอยหักพับตั้งแต่ใบที่อยู่รอบนอกเข้าไปสู่ใบด้านใน ระยะแรกใบยอดยังเขียวตั้งตรง จากนั้นเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ต่อมาใบทั้งหมดจะเหี่ยวแห้ง เมื่อตัดลำต้นเทียมตามขวางหรือตามยาว จะพบเนื้อเยื่อภายในลำต้นเทียมเน่าเป็นสีน้ำตาลตามทางยาวของลำต้นเทียม เนื้อเยื่อในเหง้าเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ต้นกล้วยชะงักการเจริญเติบโตและตายในที่สุด

การป้องกันกำจัดโรค

1.หากต้องการปลูกกล้วยในพื้นที่ใหม่ ควรเลือกแปลงที่ไม่เคยพบโรคนี้มาก่อน

2.เลือกหน่อกล้วยจากแหล่งปลูกที่ไม่เคยมีการระบาดของโรค หรือไม่นำหน่อพันธุ์จากกอที่เป็นโรคไปปลูกหรือขยาย

3.ควรปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของดินให้อยู่ในช่วง pH 5.5-6.5 ด้วย จัสเตอร์ (สารปรับปรุงสภาพดินชนิดน้ำ) ใช้ฉีดพ่นลงดินหรือปล่อยไปกับระบบน้ำ
อัตรา โดยปริมาณน้ำ 80-100 ลิตร/ไร่
pH น้อยกว่า 4.5 ควรใช้ 15 ลิตร/ไร่
ช่วง pH 4.5-5.5 ควรใช้ 10 ลิตร/ไร่
ช่วง pH 5.5-6.5 (หรือในกรณีไม่ทราบค่า pH ของดิน) ควรใช้ 5 ลิตร/ไร่

4.ก่อนปลูกชุบหน่อพันธุ์ด้วย ไตร-แท๊บ อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร และรองก้นหลุมก่อนการปลูกใช้ ไตร-แท๊บ อัตรา 1 กิโลกรัม ผสมผสมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก 100-200 กิโลกรัม ใส่หลุมละ 50-100 กรัม/ต้น

5.ใช้ เจน-แบค อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ราด พ่น ลงดิน หรือปล่อยไปกับระบบน้ำ ทุก 15-30 วัน

6.เมื่อพบกล้วยแสดงอาการของโรค ให้ขุดต้นที่เป็นโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูก อุปกรณ์การเกษตรเมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรค ควรทำความสะอาดก่อนนำไปใช้ใหม่ในแปลงที่มีการระบาดของโรค ควรเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน

 

 

ขอบคุณข้อมูล: สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  https://tabinnovation.co.th/ดูบทความ-125135-โรคตายพรายหรือโรคเหี่ยวในกล้วย.html

 

ติดตามข้อมูลข่าวสาร สอบถามและปรึกษาปัญหาการปลูกพืชได้ที่

LINE id: @tabinnovation
โทร. 02-954-3120-6

 

================================================
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
LINE: http://bit.ly/TAB_LINE_OFFICIAL
Facebook: https://www.facebook.com/TABInno
YouTube Channel: http://bit.ly/LGH_YouTube
Lazada Official Store: https://www.lazada.co.th/shop/tab-innovation
================================================

27 พฤศจิกายน 2567

ผู้ชม 282 ครั้ง

Engine by shopup.com