แก้ปัญหา โรคเน่าคอดิน อย่างไร? ด้วยการใช้ชีวภัณฑ์

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

โรคเน่าคอดิน (damping-off) 

โรคเน่าคอดิน หรือโรคเน่าระดับดิน (damping-off) ที่มักพบบ่อยในต้นกล้าของพืชหลายชนิด ทั้งพืชผักกินใบตระกูลกะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี ผักกาดขาว ผักกาดหัว ผักฮ่องเต้ ผักกวางตุ้ง คะน้า ผักสลัด เป็นต้น อีกทั้งยังพบในพืชตระกูลแตง ตระกูลมะเขือ พริก ฝ้าย ขิง ยาสูบ ถั่ว ข้าว ข้าวโพด และ มะละกอ

เชื้อราสาเหตุ : Pythium spp.

อาการ : เชื้อราจะเข้าทำลายพืชในระยะต้นกล้า ทำให้ลำต้นเน่าและตายลงอย่างรวดเร็ว เส้นใยของราที่เป็นสาเหตุจะแพร่กระจายอยู่ในดิน และเข้าสู่ต้นกล้าโดยแทงเข้าไปในเซลล์ผิว บริเวณโคนต้นที่ติดกับผิวดินมีลักษณะฉ่ำน้ำสีน้ำตาลเข้ม เมื่ออาการรุนแรงเนื้อเยื่อจะเกิดเป็นแผลเน่าลาม ทําให้ต้นกล้าเหี่ยวทั้งต้น หักล้มและตายก่อนจะแตกใบจริง บางครั้งเชื้อราอาจเข้าทําลายเมล็ดก่อนงอกพ้นดิน ทําให้เมล็ดไม่งอกหรืองอกออกมาแต่ไม่มีใบเลี้ยง

ช่วงที่พบการระบาด : จะเกิดรุนแรงเมื่อความชื้นสูง ดินมีการระบายน้ำไม่ดี

แนวทางการป้องกัน :

ระยะการเจริญของต้นกล้าพืช คำแนะนำ
เตรียมวัสดุเพาะ

- ควรใช้วัสดุปลูกที่สะอาดจากแหล่งที่ไม่มีการระบาดของโรค ผสมวัสดุเพาะกล้า ใช้ ไตร-แท๊บ อัตรา 1 กิโลกรัมต่อวัสดุเพาะกล้า 100- 500 กิโลกรัม

ระยะเตรียมกล้า - ใช้เพื่อป้องกันควรฉีดพ่นไตร-แท๊บ อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7-10 วัน ถ้าเริ่มพบอาการโรค ควรพ่นทุก 3-5 วัน
ระยะเตรียมดินและย้ายกล้า

- แปลงปลูกควรไถพลิกกลับหน้าดินตากแดดเพื่อลดปริมาณเชื้อราสาเหตุ

- ปรับสภาพดินด้วย จัสเตอร์ อัตรา 1-2 ลิตร ต่อไร่

รองก้นหลุมก่อนปลูก หว่านโคนต้น ใช้ ไตร-แท๊บ 1 กิโลกรัมผสมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก 100-200 กิโลกรัม รองก้นหลุมก่อนปลูก 50-100 กรัมต่อหลุม

หลังย้ายกล้า

- แปลงปลูกควรไถพลิกกลับหน้าดินตากแดดเพื่อลดปริมาณเชื้อราสาเหตุ

- ปรับสภาพดินด้วย จัสเตอร์ อัตรา 1-2 ลิตร ต่อไร่

รองก้นหลุมก่อนปลูก หว่านโคนต้น ใช้ ไตร-แท๊บ 1 กิโลกรัมผสมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก 100-200 กิโลกรัม รองก้นหลุมก่อนปลูก 50-100 กรัมต่อหลุม

29 ตุลาคม 2567

ผู้ชม 179 ครั้ง

Engine by shopup.com