โรคเน่าดํา หรือโรคขอบใบทองในคะน้า

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

โรคเน่าดํา หรือโรคขอบใบทองในคะน้า


สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv.campestris
อาการเริ่มต้นของโรคที่พบบนใบจะเริ่มเหลือง จาก ขอบใบ แล้วลามเข้ามาในเนื้อใบเป็นรูปตัววี (V) เส้นใบบริเวณนี้จะมีสีน้ำตาลดำ ต่อมาจะเกิดอาการใบแห้งเหี่ยวเฉาและหลุดจากต้น เมื่อเชื้อลุกลาม จะทําให้ท่อลําเลียงของพืชเน่าดํา

การแพร่ระบาด
เชื้อแบคทีเรียโรคเน่าดำจะติดไปกับเมล็ดพันธุ์ หรือแพร่กระจายในดินที่มีซากพืชที่เป็นโรค และเชื้อแบคทีเรียสามารถแพร่กระจายโดยไหลไปกับน้ำ พายุฝน อุปกรณ์การเพาะปลูก และเมล็ดที่ติดเชื้อ รวมทั้งแมลงที่เป็นพาหะโรค เช่น ตัวอ่อนของหนอนกะหล่ำ เป็นต้น
วิธีการป้องกันกำจัด
1. จัดการให้แปลงมีการระบายน้ำที่ดี
2. ควบคุมแมลง และวัชพืชในแปลง
3. การปลูกพืชหมุนเวียนที่ต่างกลุ่มออกไป เพื่อตัดวงจรการเกิดโรค
- ก่อนปลูก 1-2 วัน ปรับสภาพดินและลดปริมาณการสะสมเชื้อสาเหตุโรคพืช พ่นจัสเตอร์ อัตรา 1 ลิตร ร่วมกับไตร-แท๊บ อัตรา 1 กิโลกรัม/ไร่ ในสภาพแปลงที่มีความชื้น
- หลังเมล็ดงอก 10 วัน พ่นจัสเตอร์ อัตรา 20 ซีซี ร่วมกับไตร-แท๊บ อัตรา 1 กิโลกรัม และ เจน-แบค 1 กิโลกรัม/ไร่
- ระยะเจริญเติบโตถึงเก็บเกี่ยว พ่น เจน-แบค อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร, จัสเตอร์ อัตรา 20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร และ ไซเบ็ค 30 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 10 วัน

 

 

ขอบคุณรูปภาพ: THE OHIO STATE UNIVERSSITY, NC State Extension

21 ตุลาคม 2567

ผู้ชม 67 ครั้ง

Engine by shopup.com