ป้องกันโรคเน่าเปียกหรือโรคราขนแมว

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

ป้องกัน!! โรคเน่าเปียก หรือ โรคราขนแมว

ช่วงที่ฝนตกต่อเนื่องในอากาศมีความชื้น ฟ้าปิด โรคที่มักพบระบาดในพืชหลายชนิด พริก มะเขือเปราะ มะเขือยาว ถั่วพู ฟักทอง และ แตงกวา คือ โรคเน่าเปียก หรือ โรคราขนแมว ที่สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช พบที่ยอดอ่อน ฝัก และกิ่งอ่อน ซึ่งส่งต่อการเจริญเติบโต การป้องกันกำจัดถือว่าช่วยลดความเสียหายต่อผลิตได้
โรคเน่าเปียก หรือ โรคราขนแมว เกิดจากเชื้อรา Choanephora cucurbitarum

ลักษณะอาการ : มักพบอาการที่ ผล ยอดอ่อน กิ่ง ดอก ลำต้น เชื้อราจะเจริญฟูเป็นกระจุกเห็นเป็นก้านใส ปลายก้านเป็นกลุ่มสปอร์สีดำ แผลฉ่ำน้ำ เน่า ลุกลามทำให้กิ่งแห้งหักพับ เกิดกับต้นพืชที่ทรงพุ่มแน่นทึบหรือปลูกชิดเกินไป พบได้ทุกระยะการเจริญเติบโต สปอร์ของเชื้อราแพร่ระบาดได้ดีโดยน้ำ ลม ฝน น้ำค้าง แมลง หรือติดไปกับสิ่งที่เข้าไปสัมผัส และสภาพแวดล้อมเหมาะสม เช่น ฝนตก อากาศเย็น ใบพืชเปียกเป็นเวลานานติดต่อกัน หรือมีอากาศแห้งในเวลากลางวันและอากาศเย็นมีน้ำค้างลงจัดในเวลากลางคืน

การป้องกันกำจัด
1. เริ่มพบต้นพืชแสดงอาการยอดช้ำหรือสังเกตเห็นยอดมีเชื้อราเกิดขึ้นให้รีบตัดส่วนที่เป็นโรคใส่ถุงตั้งแต่ในแปลงปลูก
2. หากพบต้นที่แสดงอาการของโรครุนแรงให้รีบถอนต้นพริกและเก็บเศษซากพืชส่วนที่เป็นโรคออกจากแปลงไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที
3. ป้องกันโรคใช้ เจน-แบค อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมร่วมกับสารจับใบ เบนดิกซ์ อัตรา 3 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้ เจน-แบค อัตรา 50 กรัม+ไตร-แท๊บ อัตรา 50 กรัม ผสมร่วมกับสาร จับใบเบนดิกซ์ อัตรา 3 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5-7 วัน หรือใช้ร่วมกับสารเคมีตามคำแนะนำของหน่วยราชการ

 

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.doa.go.th/research/attachment.php?aid=244

http://www.pmc07.doae.go.th/home/index.php/2023/06/07/0706-2/

https://en.wikipedia.org/wiki/Choanephora_cucurbitarum

http://ephytia.inra.fr/en/C/8020/Melon-Choanephora-cucurbitarum

28 สิงหาคม 2567

ผู้ชม 354 ครั้ง

Engine by shopup.com