วิธีกำจัดหนอนม้วนใบข้าว ในนาข้าว

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

สอบถามข้อมูล/สั่งซื้อสินค้า
LINE id: @tabinnovation
โทร. 02-954-3120-6

วิธีกำจัด หนอนม้วนใบข้าว ในนาข้าว

หนอนม้วนใบข้าว หนอนห่อใบข้าว หรือ หนอนกินใบข้าว ชื่อภาษอังกฤษคือ (rice leaf folder, LF) ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Cnaphalocrocis medinalis (Guenee) เป็นหนึ่งในปัญหาแมลงศัตรูพืชที่พบบ่อยในเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ทำให้ผลผลิตและนาข้าวเสียหาย หนอนชนิดนี้มักเข้าทำลายพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น ข้าว ข้าวป่า ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย หญ้าข้าวนก หญ้าคา หญ้าชันกาด หญ้าไซ หญ้าตีนกา หญ้าตีนนก หญ้าปล้องหิน หญ้าตีนติด เป็นต้น

ลักษณะ : หนอนม้วนใบข้าว เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยจะกลายเป็นผีเสื้อกลางคืน มักเกาะอยู่ในที่ร่มใต้ใบข้าว มีลักษณะปีกสีน้ำตาลเหลือง มีแถบสีดำพาดที่ปลายปีก ตรงกลางปีกมีแถบสีน้ำตาลพาดขวาง 2-3 แถบ ขณะเกาะบนใบข้าวปีกจะหุบมองเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยม เพศผู้จะมีขนาดเล็กกว่าเพศเมียเล็กน้อย เพศเมียวางไข่เวลากลางคืนประมาณ 300 ฟองบนใบข้าว ขนานตามแนวเส้นกลางใบและสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ไข่มีลักษณะเป็นรูปจานสีขาวขุ่นเป็นกลุ่ม ประมาณ 10-12 ฟอง บางครั้งวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ ระยะไข่ 4-6 วัน หนอนที่ฟักจากไข่ใหม่ๆ มีสีขาวใส หัวมีสีน้ำตาลอ่อน หนอนโตเต็มที่มีสีเขียวแถบเหลือง หัวสีน้ำตาลเข้ม หนอนโตเต็มที่จะเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วเมื่อถูกสัมผัส หนอนมี 5-6 ระยะ ส่วนใหญ่มี 5 ระยะ หนอนวัยที่ 5 เป็นวัยที่กินใบข้าวได้มากที่สุด ระยะหนอน 15-17 วัน หนอนเข้าดักแด้ในใบข้าวที่ห่อตัวนั้น ระยะดักแด้ 4-8 วัน ตัวเต็มวัยจะหลบซ่อนบนต้นข้าวและวัชพืชตระกูลหญ้าในเวลากลางวัน และจะบินหนีเมื่อถูกรบกวน

การเข้าทำลายและการระบาด : ผีเสื้อหนอนห่อใบข้าวจะเคลื่อนย้ายเข้านาข้าว ตั้งแต่ข้าวยังเล็กและวางไข่ที่ใบอ่อน โดยเฉพาะใบที่ 1-2 จากยอด เมื่อตัวหนอนฟักออกมาจะแทะผิวใบข้าวส่วนที่เป็นสีเขียว ทำให้เห็นเป็นแถบยาวสีขาว มีผลให้การสังเคราะห์แสงลดลง หนอนจะใช้ใยเหนียวที่สกัดจากปาก ดึงขอบใบข้าวทั้งสองด้านเข้าหากัน เพี่อห่อหุ้มตัวหนอนไว้ หนอนเข้าทำลายใบข้าวได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของข้าว ถ้าหนอนมีปริมาณมากจะใช้ใบข้าวหลายๆ ใบมาห่อหุ้มและกัดกินอยู่ภายใน ซึ่งปรกติจะพบตัวหนอนเพียงตัวเดียวในใบห่อนั้น ในระยะข้าวออกรวงหนอนจะทำลายใบธงซึ่งมีผลต่อผลผลิตเพราะทำให้ข้าวมีเมล็ดลีบ น้ำหนักลดลง หนอนห่อใบสามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 อายุขัยต่อฤดูปลูก พบระบาดในนาเขตชลประทาน โดยเฉพาะนาข้าวที่ใส่ปุ๋ยอัตราสูง

การป้องกันกำจัด
1. ในพื้นที่ที่มีการระบาดเป็นประจำควรปลูกข้าว 2 พันธุ์ขึ้นไป โดยปลูกสลับพันธุ์กัน จะช่วยลดความรุนแรงของการระบาด
2. กำจัดพืชอาศัย เช่น หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าปล้อง หญ้าไซ หญ้าชันกาด และข้าวป่า
3. ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงชนิดเม็ดและสารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์หรือสารผสมสาร ไพรีทรอยด์สังเคราะห์ ในข้าวอายุหลังหว่าน 40 วัน เพราะศัตรูธรรมชาติจะถูกทำลาย ทำให้เกิดการระบาดของหนอนห่อใบข้าวรุนแรงได้ในระยะข้าวตั้งท้อง-ออกรวง
4. เมื่อเริ่มมีการระบาดของหนอนห่อใบในแปลงข้าว ไม่ควรใช้ปุ๋ยไนโตรเจนเกิน 5 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยยูเรียไม่เกิน 10 กิโลกรัมต่อไร่ ควรแบ่งใส่ปุ๋ยในช่วงข้าวกำลังเจริญเติบโตและลดปริมาณปุ๋ยที่ใส่ โดยปุ๋ยสูตร 16-20-0 ใส่ไม่เกิน 30 กิโลกรัมต่อไร่
5. ใช้ ชีวภัณฑ์ บิว-เวอร์ ที่ผลิตจากเชื้อรา Beauveria bassiana ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชในนาข้าว อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยผสมสารจับใบให้เข้ากับน้ำ ก่อนใส่เชื้อ จากนั้นคนให้เข้ากัน ก่อนฉีดพ่นควรปรับความชื้นในแปลงให้เหมาะสมต่อการอยู่ของเชื้อรา (ความชื้นสัมพัทธ์ 50-80%) ควรฉีดพ่น บิว-เวอร์ เวลาเย็น อากาศไม่ร้อน ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้นพืช เพื่อประสิทธิภาพที่ดีควรฉีดให้สัมผัสกับตัวแมลงโดยตรง และฉีดพ่นซ้ำทุก ๆ 3-5 วัน
นอกจากนี้การใช้ชีวภัณฑ์ บิว-เวอร์ ที่ผลิตจากเชื้อรา Beauveria bassiana
สามารถกำจัดศัตรูพืชในนาข้าวหลายชนิด เช่น หนอนกอข้าว หนอนม้วนใบข้าว แมลงหวี่ขาว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย เพลี้ยอ่อน หนอนกระทู้ผัก โดย เชื้อรา Beauveria bassiana สามารถสร้างความเป็นพิษในทุกระยะของแมลง สารพิษจาก B. bassiana จะออกฤทธิ์ทำลายเซลล์ที่มีค่า pH ต่ำ ที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในกระเพาะของแมลง ทำให้แมลงที่กินเข้าไปตายภายใน 1-2 วัน

 

แหล่งข้อมูลจากกองวิจัยและพัฒนาข้าว, กรมการข้าว :

https://webold.ricethailand.go.th/rkb3/title-index.php-file=content.php&id=50-1.htm และรูปภาพจาก https://www.slideshare.net/slideshow/insect-pests-of-paddy/238383725#24 https://tnaucottondatabase.wordpress.com/2012/03/13/leaf-roller/

20 สิงหาคม 2567

ผู้ชม 443 ครั้ง

Engine by shopup.com