การป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวเขียวในมะเขือเทศ

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

สอบถามข้อมูล/สั่งซื้อสินค้า
LINE id: @tabinnovation
โทร. 02-954-3120-6

 

การป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวเขียวในมะเขือเทศ

โรคเหี่ยวเขียว (Bacterial wilt) เป็นหนึ่งในโรคสำคัญที่พบมากในมะเขือเทศ ซึ่งสาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (Ralstonia solanacearum) สามารถพบการเกิดโรคในมะเขือเทศ ทุกระยะการเจริญเติบโต อาการเริ่มแรกใบล่างจะเหี่ยวและลู่ลง ใบแก่ ที่อยู่ล่างๆ มีอาการเหลือง และใบที่เหี่ยวจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ระยะแรกจะแสดงอาการเหี่ยวเฉพาะเวลากลางวันที่อากาศ ร้อนจัด ต่อมาอาการเหี่ยวจะนานขึ้น จนกระทั่งเหี่ยวถาวรทั้งวัน อาการจะลาม ขึ้นไปยังส่วนยอด ขอบใบม้วนลงด้านล่าง เมื่อถอนต้นขึ้นมาพบว่ารากเกิดอาการเน่า และถ้าตัดลำต้นตามขวางแช่น้ำสะอาด ภายใน 5-10 นาทีจะมีเมือกสีขาวขุ่น (bacterial ooze) ไหลออกมาตามรอยตัด เป็นสายละลายปนกับน้ำออกมา หากอาการ รุนแรงจะพบภายในลำต้นกลวง เนื่องจาก เนื้อเยื่อถูกทำลาย ทำให้มะเขือเทศจะตายในที่สุด 

การแพร่ระบาด เชื้อสาเหตุของโรคเหี่ยวเขียวสามารถสะสมอยู่ในเศษซากพืชที่ติดเชื้อ ดิน ที่มีเชื้ออยู่แล้วและเศษวัชพืชที่เป็นพืชอาศัย จะแพร่ระบาดไปกับเครื่องมือการเกษตร มนุษย์ สัตว์เลี้ยง ลม และน้ำ ชลประทานหรือน้ำฝน โดยเชื้อจะเข้าทำลายทางบาดแผลหรือช่องเปิดธรรมชาติของพืช สภาพอุณหภูมิสูง (28-35 องศา เซลเซียส) และความชื้นในดินสูงจะทำให้การพัฒนาของโรคเป็นไปอย่างรวดเร็ว สภาพดินที่เป็นด่าง ขาดไนโตรเจน หรือมี ความสมบูรณ์ต่ำจะทำให้พืชเป็นโรคได้ง่ายและรุนแรง

แนวทางการป้องกันตั้งแต่เริ่มต้นเตรียมแปลงจนเก็บเกี่ยว!

1. การเตรียมแปลงปลูก
วิธีการใช้
ใช้ จัสเตอร์ ปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน (pH) อยู่ในช่วง 6.0 – 6.8 อัตราน้ำ 80 - 100 ลิตร/ไร่
pH ต่ำกว่า 4.5   15 ลิตร/ไร่
pH 4.5-5.5       10 ลิตร/ไร่
pH 5.6-9.5         5 ลิตร/ไร่
หากไม่ทราบค่า pH แนะนำใช้ จัสเตอร์ ในอัตรา 5 ลิตร/ไร่ใช้ ไตร-แท๊บ 1 กก. ผสม ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก 100-500 กก.หว่านในแปลงปลูก
2. การเตรียมในโรงเรือน
วิธีการใช้
ใช้ ยูชอยส์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคบนพื้นที่ปลูก โรงเรือนถุงปลูกเก่า อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
ใช้ ไตร-แท๊บ 1 กก. ผสมวัสดุปลูก 100-500 กก.
3. การเตรียมกล้า
วิธีการใช้
- เพาะกล้าใช้ ไตร-แท๊บ 1 กก. ผสมวัสดุปลูก 100-500 กก.
- รดต้นกล้าด้วย บาซิทัส อัตรา 50-100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร รดทุก 7 วัน
4. หลังย้ายกล้าลงแปลงปลูก
วิธีการใช้
ใช้ปล่อยไปกับระบบน้ำ บาซิทัส + จัสเตอร์ อัตรา 0.5 - 1.0 กก. + 500 ซีซี ต่อไร่ หรือ
ฉีดพ่นลงดิน บาซิทัส + จัสเตอร์ อัตรา 50-100 กรัม + 100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7-10 วัน
5. กรณีเริ่มพบการเกิดโรคในแปลง
วิธีการใช้
เมื่อเริ่มพบต้นที่เกิดโรคให้นำออกจากแปลงเพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค
ปล่อยไปกับระบบน้ำ บาซิทัส + เจนแบค + จัสเตอร์ อัตรา 1 กก. + 500 กรัม + 500 ซีซี ต่อไร่
ฉีดพ่นลงดิน บาซิทัส + เจนแบค + จัสเตอร์ อัตรา 100 กรัม + 50 กรัม + 100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 5-7 วัน
 

 

 

เรียบเรียงโดย หนึ่งฤทัย ไหมพรหม

เอกสารและรูปภาพอ้างอิง

www.lsuagcenter.com
www.avrdc.org : Bacterial Wilt management in Tomato

20 สิงหาคม 2567

ผู้ชม 276 ครั้ง

Engine by shopup.com