วงจรการเข้าทำลายแมลงของ ทีเอบี บีทีเอ
วงจรการเข้าทำลายแมลงของ ทีเอบี บีทีเอ
หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์
วงจรการเข้าทำลายแมลงของ ทีเอบี บีทีเอ
เชื้อบีที (Bt) คือ เชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis หรือเรียกว่า เชื้อบีที (Bt) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจัดเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์สามารถนำมาใช้กำจัดแมลงศัตรูพืช และศัตรูมนุษย์ได้มากมายหลายชนิด เนื่องจากมีความเฉพาะเจาะจงสูงในการทำลายเฉพาะแมลงเป้าหมายเท่านั้น เชื้อบีทีจึงเป็นจุลินทรีย์ที่มีความปลอดภัยสูงต่อมนุษย์ เช่น ผึ้ง แมลงห้ำ และแมลงเบียน เป็นต้น จากข้อดีของความเฉพาะเจาะจงต่อแมลงเป้าหมายเชื้อบีทีมีความปลอดภัยสูงไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
เชื้อบีทีทำลายแมลงแตกต่างจากสารเคมี คือ สารเคมีส่วนใหญ่กำจัดแมลง โดยถูกตัวตาย แต่เชื้อบีทีกำจัดแมลง โดยตัวอ่อนของแมลงกินเชื้อบีทีเข้าไป สภาพความเป็นด่างในกระเพาะอาหาร ทำให้ เซลล์แบคทีเรียแตกสลาย และน้ำย่อยในกระเพาะอาหารของแมลง จะย่อยสลายผลึกโปรตีนและกระตุ้น ให้กลายเป็นสารพิษ (toxin) โปรตีนสารพิษเข้าทำลายเซลเยื่อบุผนังกระเพาะอาหารของแมลง และเกิดรูรั่วบนผนังกระเพาะอาหาร ทำให้การดูดซึมและการถ่ายเทแร่ธาตุอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าไป ในเลือดของแมลงผิดไปจากปกติ กระเพาะอาหารของแมลงไม่สามารถทำงานได้ โดยหยุดย่อยอาหาร พร้อมทั้งระบบเลือดผิดปกติ ทำให้แมลงเป็นอัมพาต แมลงหยุดกินอาหาร สปอร์ของเชื้อบีทีใน กระเพาะอาหารผ่านทางรูรั่วเข้าไปในเลือดของแมลง เชื้อเพิ่มปริมาณและแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ แมลงเกิดอาการโลหิตเป็นพิษ แมลงชักกระตุกและตายภายใน 1-3 วัน
วิธีการใช้ ทีเอบี บีทีเอ (เชื้อแบคทีเรีย บาซิลัส ทูริงเยนซิส)
1.เชื้อบีทีจะมีผลทำลายแมลงก็ต่อเมื่อแมลงกินเข้าไป จึงต้องพ่นเชื้อให้ครอบคลุมทุกส่วนของพืชที่แมลงกินเป็นอาหาร
2.การใช้เชื้อบีทีในระยะที่หนอนอ่อนแอหรือเพิ่งฟักจากไข่ สามารถทำลายหนอนได้ดีกว่าการใช้กับหนอนที่แข็งแรงหรืออายุมากแล้ว เมื่อพบการระบาดของหนอน ควรพ่นเชื้อบีทีอัตราตามแนะนำในฉลาก โดยพ่นติดต่อกัน 3 ครั้ง ทุก 3-4 วัน ปรับหัวฉีดเครื่องพ่นสาร ให้ละอองเล็กที่สุด จะช่วยให้ละอองสารเกาะผิวใบได้ดี เป็นการช่วย เพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมแมลง
3.ควรผสมสารจับใบทุกครั้ง อัตราตามคำแนะนำ
24 กรกฎาคม 2567
ผู้ชม 222 ครั้ง