ความแตกต่างของการใช้สารเคมีและชีวภัณฑ์

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

ความแตกต่างของการใช้สารเคมีและชีวภัณฑ์

การป้องกันกำจัดศัตรูพืชมีด้วยกันหลายวิธี เช่น การใช้วิธีเขตกรรม อย่างการปลูกพืชหมุนเวียน การตัดแต่งต้นพืช เว้นช่วงการปลูก การใช้วิธีกล โดยการใช้กับดัก ล่อหรือไล่ ศัตรูพืช การใช้พันธุ์ต้านทาน เป็นอีกวิธีที่เห็นผลชัดเจน แต่ใช้ระยะเวลาในการพัฒนาพันธุ์ค่อนข้างนานและเฉพาะเจาะจงกับศัตรูพืช

วิธีที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ การใช้สารเคมี ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก และเห็นผลเร็ว แต่หากใช้มากเกินไปหรือผู้ใช้ขาดความรู้อาจก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งทางเลือกที่ปลอดภัย โดยการใช้วิธีทางชีวภาพ เช่น การใช้สารสกัดจากพืชหรือจุลินทรีย์ ตัวเชื้อจุลินทรีย์ และแมลงศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ ตัวห้ำ ตัวเบียน ซึ่งข้อแตกต่างของการใช้สารเคมีและชีวภัณฑ์มี ดังนี้

 

สารเคมี ชีวภัณฑ์

- แมลงศัตรูสามารถเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมในตัวเองให้มีความทนทานต่อพิษของสารเคมี (ดื้อยา)
- มีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ใช้ และผู้บริโภคในระยะยาว
- กลไกเฉพาะเจาะจง
- สามารถฉีดพ่นได้ทันที
- คงตัวในสภาพแวดล้อมได้นาน
- เน้นการกำจัด
- เห็นผลเร็ว

- ลดการดื้อยาของแมลง

- ปลอดภัยต่อตัวผู้ใช้ และผู้บริโภค

- มีกลไกในการออกฤทธิ์หลายอย่าง
- การฉีดพ่นขึ้นอยู่กับช่วงเวลาและสภาพอากาศ
- สลายตัวเร็ว
- นอกจากการใช้ในการป้องกันและกำจัด ชีวภัณฑ์บางชนิดช่วยละลายแร่ธาตุในดิน สร้างฮอร์โมน กระตุ้นการเจริญเติบโตในพืช
-  ต้องใช้ต่อเนื่องจึงจะเห็นผล

ทั้งสารเคมีและชีวภัณฑ์มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้ใช้ การใช้ชีวภัณฑ์มีความปลอดภัยแต่ก็มีข้อจำกัด เช่น ระยะเวลาในการฉีดพ่นชีวภัณฑ์บางชนิดไม่ควรฉีดช่วงกลางวัน เนื่องจากชีวภัณฑ์ทำจากจุลินทรีย์ที่มีชีวิตหรือสารธรรมชาติ อาจทำให้ประสิทธิภาพลดลงได้

การใช้สารเคมี เห็นผลเร็วหากใช้ให้ถูกต้องก็อาจจะไม่เกิดผลเสียต่อผู้ใช้มากนัก เกษตรกรบางท่านที่ใช้สารเคมีอยู่แล้วหากต้องการลดการใช้สารเคมี โดยสารเคมีบางชนิดสามารถใช้ร่วมกันชีวภัณฑ์ได้

( คลิกที่รูปเพื่อดูบทความตารางการใช้ชีวภัณฑ์ร่วมกับสารเคมี)

ไตรโคเดอร์มา

 

 

นอกจากนี้ ท่านที่ยังไม่ทราบว่าชีวภัณฑ์คืออะไร สามารถคลิกที่ลิงค์นี้ได้เลย  >> บทความชีวภัณฑ์คืออะไร

 

 

 

เรียบเรียงโดย หนึ่งฤทัย ไหม

16 พฤษภาคม 2567

ผู้ชม 763 ครั้ง

Engine by shopup.com