ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชจากสารธรรมชาติ
ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชจากสารธรรมชาติ
ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชจากสารธรรมชาติ
สารสกัดจากสะเดา
น้ำหมักสะเดา คือ สารกำจัดแมลงชีวภาพที่ผลิตจากเมล็ดสะเดา โดยนำเมล็ดสะเดามาบดผสมกับน้ำ หมักทิ้งไว้จนเกิดเป็นสารละลายสีน้ำตาลเข้ม น้ำหมักสะเดามีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด
การใช้ประโยชน์จากสะเดา
- ใช้ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช : มีประสิทธิภาพต่อแมลงหลายชนิด เช่น เพลี้ยกระโดด หนอนเจาะลำต้น ด้วง
- ใช้ป้องกันกำจัดโรคพืช : เช่น โรคราสนิม โรคใบจุด
- ใช้เป็นยาฆ่าแมลงชีวภาพ : เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ : บำรุงดิน เพิ่มความอุดมสมบูรณ์
สารสำคัญในสะเดาที่มีฤทธิ์ต่อแมลงศัตรูพืช
- กลุ่มสารไทรเทอร์พีนอยด์ (triterpenoids) หรือ สารประเภทลิโมนอยด์ (Limonoids) เป็นกลุ่มสารออกฤทธิ์หลัก
- สารอะซาไดแรคติน (Azadirachtin) เป็นสารสำคัญที่ออกฤทธิ์หลัก
- สารอื่นๆ ที่เสริมฤทธิ์ ได้แก่
- ซาแลนนิน (Salannin)
- มีเลียนไทรออล (Meliantriol)
- นิมบีนและนิมบิดีน (Nimbin and Nimbidin)
- สารอนุพันธุ์อื่นๆ (derivatives)
การออกฤทธิ์ของสารสกัดสะเดาต่อแมลงศัตรูพืช
- ยับยั้งการลอกคราบ ของแมลง ทำให้แมลงเจริญเติบโตผิดปกติและตายในที่สุด
- ยับยั้งการกินอาหาร ของแมลง ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ
- ลดความสามารถในการวางไข่ ของแมลง ทำให้จำนวนประชากรแมลงลดลง
- รบกวนความสามารถในการผสมพันธุ์ ของแมลง ส่งผลต่อการขยายพันธุ์
- รบกวนความสามารถในการดำรงชีวิต ของแมลง เช่น การบิน การเดิน การกระโดด
ข้อดีของการใช้สะเดา
- ปลอดภัย : สารสกัดจากสะเดาไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ สัตว์เลี้ยง และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในระบบนิเวศ
- ย่อยสลายง่าย : ไม่ทิ้งสารพิษตกค้างในพืช ผลผลิต และสิ่งแวดล้อม
- มีประสิทธิภาพ : ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อแมลงศัตรูพืชและโรคพืช
- ปลูกง่าย : เจริญเติบโตได้ดี โตเร็ว ให้ผลผลิตสูง
- เก็บเกี่ยวและสกัดสารง่าย : สะดวก ประหยัด
สบู่กำจัดแมลง / สบู่โพแทสเซียม
สบู่กำจัดแมลง หรือ สบู่โพแทสเซียม เป็นสบู่ชนิดพิเศษที่ใช้กำจัดแมลงศัตรูพืช มีลักษณะคล้ายสบู่ทั่วไป แต่ใช้โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์แทนโซเดียมไฮดรอกไซด์ในการผลิต
การใช้ประโยชน์จากสบู่กำจัดแมลง / สบู่โพแทสเซียม
สบู่กำจัดแมลง มีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงร่างกายอ่อนและสัตว์ขาปล่องอื่นๆ เช่น
- เพลี้ยอ่อน
- เพลี้ยแป้ง
- ไรแดง
- แมลงหวี่ขาว
- เพลี้ยกระโดด
- หนอนเลื่อย
- แมลงกลุ่มปากดูด (ยกเว้น เพลี้ยไฟ)
กลไกการออกฤทธิ์ของสบู่กำจัดแมลง / สบู่โพแทสเซียมต่อแมลงศัตรูพืช
- ละลายไขมันที่เคลือบผิวแมลง
- ทำให้แมลงสูญเสียน้ำ แห้งตาย
- อุดทางหายใจของแมลง
- รบกวนฮอร์โมนการเจริญเติบโตของแมลง
ข้อดีของการใช้สบู่กำจัดแมลง / สบู่โพแทสเซียม
- ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม สัตว์เลี้ยง และมนุษย์
- ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ
- สามารถใช้ได้ในการเกษตรอินทรีย์
- มีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงขนาดเล็ก
- ปลดปล่อยธาตุอาหารโพแทสเซียม (K) ซึ่งเป็นแม่ปุ๋ยของต้นไม้
- เร่งผล
- เพิ่มความหวานให้กับผลไม้
- มีคุณสมบัติเป็นสารลดแรงตึงผิว
- สามารถใช้สบู่โพแทสเซียม เป็นสารจับใบ เพื่อส่งสารอาหารเข้าสู่ทางใบของพืช
น้ำส้มควันไม้
น้ำส้มควันไม้ คือ ของเหลวสีน้ำตาลใสมีกลิ่นควันไฟ ได้มาจากการควบแน่นของควันที่เกิดจากการผลิตถ่านไม้ในช่วงอุณหภูมิ 300-400 องศาเซลเซียส
วิธีการผลิต
- เผาไม้เพื่อทำถ่าน
- เก็บควันที่เกิดขึ้นจากการเผา
- ทำให้ควันเย็นตัวลง จะได้ของเหลวสีน้ำตาล-แดง
- ทิ้งของเหลวไว้ 3 เดือน แยกชั้นน้ำมันเบา น้ำส้มควันไม้ และน้ำมันทาร์
- ได้น้ำส้มควันไม้บริสุทธิ์
การใช้ประโยชน์จากน้ำส้มควันไม้
ใช้เป็นสารขับไล่แมลง
- แมลงศัตรูพืช
ใช้เป็นสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
- ปลวก
- เพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง
- เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
- เพลี้ยจักจั่นสีเขียวในนาข้าว
ใช้เป็นสารจับใบ
- เพิ่มประสิทธิภาพให้กับสารอื่นๆ ที่ฉีดพ่นทางใบ
- ทำให้พืชสามารถดูดซึมสารเข้าทางปากใบได้มากขึ้น
- ช่วยในการจับยึดเกาะสารที่ฉีดพ่น
- ลดการสูญเสียละอองสารละลาย
- ช่วยแผ่กระจายสารให้ทั่วใบของพืช หรือผิวของแมลงศัตรูพืช
กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
- ช่วยทำให้ฝุ่นละอองไม่อุดตันปากใบของพืช
- พืชสังเคราะห์แสงได้เต็มที่
- พืชเจริญเติบโตได้ดี
- เพิ่มผลผลิต
สารสำคัญในน้ำส้มควันไม้
- กรดอะซิตริก เป็นสารกลุ่มออกฤทธิ์ฆ่า เชื้อโรค เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส
- สารประกอบฟีนอล เป็นสารในกลุ่ม ควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
- ฟอร์มาลดีไฮด์ เป็นสารในกลุ่มออกฤทธิ์ ฆ่าเชื้อโรค และแมลงศัตรูพืช
- เอธิล เอ็น วาเลอเรต เป็นสารในกลุ่มเร่งการเจริญเติบโต
- เมทานอล เป็นสารในกลุ่มออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส
- น้ำมันทาร์ เป็นสารจับใบช่วยลดการใช้สารเคมี
ข้อดีของการใช้น้ำส้มควันไม้
- ใช้ได้ในอุตสาหกรรม
- ใช้ได้ในครัวเรือน
- ใช้ได้ทางการเกษตร
เอกสารการอ้างอิง
- ดร.อัญชลี สงวนพงษ์ ( 2556). การผลิตและการใช้สารสกัดสะเดาในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช
- รู้ไว้ได้ประโยชน์กับน้ำส้มควันไม้ (เม.ย 2551) วารสารทหารพัฒนา. ฉบับที่ 2
- สมปอง ทองดีแท้. (2549). นํ้าส้มควันไม้ สารประกอบอินทรีย์จากพืชเพื่อประโยชน์ทางการเกษตร. สํานักงานวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์.
- นิคม แหลมสัก. (2551). การผลิตและการใช้ประโยชน์นํ้าส้มควันไม้. เอกสารประกอบการฝึกอบรม เกษตรกรหลักสูตร “การผลิตและการใช้ประโยชน์น้ำส้มควันไม้.” ณ สถานีวิจัยและฝึกอบรมวน เกษตรตราด จังหวัดตราด.
- Raymond A. Cloyd (2018). “Soaps” and Detergents: Should They Be Used on Roses
- ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์และคณะ. (2565). สบู่เหลวโพแทสเซียม (K-Soap) จากน้ำมันพืชใช้แล้ว เพื่อการจัดการแมลงในแปลงเกษตรอินทรีย์. วารสารสิ่งแวดล้อม, ปีที่ 26 (ฉบับที่ 2).
24 เมษายน 2567
ผู้ชม 396 ครั้ง