โรคที่สำคัญในการปลูกมะเขือเทศ

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

 

โรคที่สำคัญในการปลูกมะเขือเทศ

          มะเขือเทศ (Lycopersicon esculentum Mill) มีแหล่งปลูกและผลิต อย่างกว้างขวางทั่วโลก โดยเฉพาะเขตร้อนกึ่งร้อน ซึ่งประเทศไทยถือว่าเป็นแหล่งปลูกที่สำคัญเพื่อการบริโภคผลสดและส่งโรงงานแปรรูป แต่อย่างไรการปลูกก็ประสบปัญหาในเรื่องโรคและแมลงรบกวน  ซึ่งโรคที่สำคัญที่พบคือ  โรคใบไหม้ โรคใบจุดจากแบคทีเรีย โดยเฉพาะโรคเหี่ยวเขียว ที่สร้างปัญหาทำให้ผลผลิตเสียหาย 30-100 เปอร์เซ็นต์ ที่ยังไม่มีสารเคมีในการกำจัดโรคนี้  และถ้าปลูกในสภาพโรงเรือน   การป้องกันโรคโดยการใช้ชีวภัณฑ์ จึงเป็นแนวทางในการลดความเสียหายของผลผลิตได้ดี

 

          โรคใบไหม้ (Early blight) สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Phytophthora infestans โดยเชื้อราสามารถเข้าทำลายในลำต้น กิ่ง และผลของมะเขือเทศ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นกับมะเขือเทศในทุกระยะของการเจริญเติบโต โดยจะเกิดอาการขึ้นบนใบของมะเขือเทศมากที่สุด มักพบอาการของโรคที่ใบล่างก่อน โดยด้านบนใบพบแผลฉ่ำน้ำสีเขียวหม่นคล้ายถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาแผลจะขยายใหญ่ ตรงกลางแผลแห้งเป็นสีน้ำตาล บริเวณขอบแผลฉ่ำน้ำมีสีดำ เมื่อพลิกดูด้านใต้ใบบริเวณตรงกันจะพบส่วนของเชื้อราสาเหตุโรคสีขาว เมื่อเชื้อเจริญมากขึ้นใบจะแห้ง ไหม้เป็นสีน้ำตาล

สภาพที่เหมาะสมต่อการระบาดของโรค อากาศอากาศเย็น มีหมอกในยามเช้า มีความชื้นสูง

แนวทางการป้องกันกำจัดโรค

  1. การเตรียมแปลงด้วยการไถดินตากแดดแรงๆ ประมาณ 3-5 วัน
  2. ในแปลงที่พบการระบาดควรอบดินฆ่าเชื้อด้วย ยูเรีย อัตรา 80 กิโลกรัม และปูนขาว อัตรา 800 กิโลกรัม ต่อ พื้นที่ 1 ไร่ โดยอบทิ้งไว้ 2-3 สัปดาห์ก่อนปลูกพืช
  3. การแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่น ที่อุณหภูมิ 52-55 องศาเซลเชียส นาน 30 นาทีจะช่วยลดปริมาณแบคทีเรียที่ติดมากับเมล็ดลงได้
  4. ใช้ เจนแบค อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ก่อนพบการระบาดของโรค  พ่นอีกทุก 7-10 วัน  ถ้าพบการระบาดให้พ่นทุก 5-7 วัน 

 

          โรคใบจุดมะเขือเทศ  (Bacterial leaf spot)  สาเหตุเกิดจากเชื้อ แบคทีเรียในกลุ่มซานโทโมนาสหลายชนิด (Genus Xanthomonas) ทำให้เกิดอาการแผลจุดขนาดเล็กสีน้ำตาล ช้ำ ฉ่ำน้ำที่ใบ ลำต้นและผลจุดแผลมีสีเหลืองล้อมรอบ ซึ่งอาจเป็นจุดแผลตายขนาดเล็กเชื่อมต่อกันทำให้ เกิดลักษณะใบไหม้ และใบร่วงก่อนกำหนดได้ ทำให้ผลผลิตลดลงทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ และเมล็ดที่ปนเปื้อนเชื้อเป็นแหล่งที่จะทำให้เกิด

          สภาพที่เหมาะสมต่อการระบาดของโรค อากาศร้อนชื้น อาศัยติดมากับเมล็ดพันธุ์ปลูก และอยู่ในเศษซากพืชที่ตกค้างในดิน เมื่อปลูกมะเขือเทศในฤดูต่อไป แบคทีเรียในดินจะถูกน้ำฝน หรือน้ำที่ใช้รดชะล้างให้กระเด็นขึ้นมายังใบล่างๆ แล้วลุกลามขึ้นไปยังใบ

 

แนวทางการป้องกันกำจัดโรค

  1. การเตรียมแปลงด้วยการไถดินตากแดดแรงๆ ประมาณ 3-5 วัน
  2. ในแปลงที่พบการระบาดควรอบดินฆ่าเชื้อด้วย ยูเรีย อัตรา 80 กิโลกรัม และปูนขาว อัตรา 800 กิโลกรัม ต่อ พื้นที่ 1 ไร่ โดยอบทิ้งไว้ 2-3 สัปดาห์ก่อนปลูกพืช
  3. การแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่น ที่อุณหภูมิ 52-55 องศาเซลเชียส นาน 30 นาทีจะช่วยลดปริมาณแบคทีเรียที่ติดมากับเมล็ดลงได้
  4. ใช้ เจนแบค อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ก่อนพบการระบาดของโรค  พ่นอีกทุก 7-10 วัน ถ้าพบการระบาดให้พ่นทุก 5-7 วัน 

 

          โรคเหี่ยวเขียว (Bacterial wilt) สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (Ralstonia solanacearum) พบในมะเขือเทศ ทุกระยะการเจริญเติบโต  อาการเริ่มแรกใบล่างจะเหี่ยวและลู่ลง ใบแก่ ที่อยู่ล่างๆ มีอาการเหลือง และใบที่เหี่ยวจะ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ระยะแรกจะแสดง อาการเหี่ยวเฉพาะเวลากลางวันที่อากาศ ร้อนจัด ต่อมาอาการเหี่ยวจะนานขึ้น จนกระทั่งเหี่ยวถาวรทั้งวัน อาการจะลาม ขึ้นไปยังส่วนยอด ขอบใบม้วนลงด้านล่าง เมื่อถอนต้นขึ้นมาพบว่ารากเกิดอาการเน่า และถ้าตัดลำต้นตามขวางแช่น้ำสะอาด ภายใน 5-10 นาทีจะมีเมือกสีขาวขุ่น (bacterial ooze) ไหลออกมาตามรอยตัด เป็นสายละลายปนกับน้ำออกมา หากอาการ รุนแรงจะพบภายในลำต้นกลวง เนื่องจาก เนื้อเยื่อถูกทำลาย ทำให้มะเขือเทศจะตายในที่สุด 

          การแพร่ระบาด เชื้อสาเหตุของโรคเหี่ยวเขียวสามารถสะสมอยู่ในเศษซากพืชที่ติดเชื้อ ดิน ที่มีเชื้ออยู่แล้วและเศษวัชพืชที่เป็นพืชอาศัย จะแพร่ระบาดไปกับเครื่องมือการเกษตร มนุษย์ สัตว์เลี้ยง ลม และน้ำ ชลประทานหรือน้ำฝน โดยเชื้อจะเข้าทำลายทางบาดแผลหรือช่องเปิดธรรมชาติของพืช สภาพอุณหภูมิสูง (28-35 องศา เซลเซียส) และความชื้นในดินสูงจะทำให้การพัฒนาของโรคเป็นไปอย่างรวดเร็ว สภาพดินที่เป็นด่าง ขาดไนโตรเจน หรือมี ความสมบูรณ์ต่ำจะทำให้พืชเป็นโรคได้ง่ายและรุนแรง

 

แนวทางการป้องกันกำจัดโรค

    การป้องกันและกำจัด โรคเหี่ยวควรทำตั้งแต่เริ่มแรกก่อนปลูกไปจนถึงเก็บเกี่ยวและควรใช้ วิธีผสมผสานจึงจะสามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้

  1. พื้นที่ที่เคยพบว่ามีการระบาดของโรคเหี่ยวควรปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ควรกำจัดวัชพืชในแปลงให้หมด หรือจะไถดินตากแดดสัก 2 – 3 ครั้ง
  2. ในแปลงที่พบการระบาดควรอบดินฆ่าเชื้อด้วย ยูเรีย อัตรา 80 กิโลกรัม และปูนขาว อัตรา 800 กิโลกรัม ต่อ พื้นที่ 1 ไร่ โดยอบทิ้งไว้ 2-3 สัปดาห์ก่อนปลูกพืช
  3. ควรปรับสภาพดินให้อยู่ในช่วง pH 5.5-6.5 ด้วย จัสเตอร์ (สารปรับปรุงสภาพดินชนิดน้ำ) ใช้ฉีดพ่นลงดินหรือ     ปล่อยไปกับระบบน้ำ อัตรา โดยปริมาณน้ำ 80-100 ลิตร/ไร่

            3.1 pH น้อยกว่า 4.5 ควรใช้ 15 ลิตร/ไร่

            3.2 ช่วง pH 4.5-5.5 ควรใช้ 10 ลิตร/ไร่

            3.3 ช่วง pH 5-6.5 (หรือในกรณีไม่ทราบค่า pH ของดิน) ควรใช้ 5 ลิตร/ไร่

  1. ใช้ไตร-แท็บ ผสมวัตดุเพาะกล้าอัตรา 1 กิโลกรัมต่อวัสดุปลูก 100-50 กิโลกรัม  หรือใช้ไตร- แท็บ  อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นต้นกล้าอายุ  7 วัน จำนวน 1 ครั้งใช้บาซิทัส อัตรา 50-100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นลงดิน หรือปล่อยไปกับระบบน้ำ  ก่อนและหลังย้ายกล้าปลูก ทุก 5-7 วัน 
  1. ถ้าปลูกพืชไปแล้วมีโรคระบาดต้องถอนต้นที่เป็นโรคออกจากแปลงและเผาทำลายและไม่ควรให้น้ำแบบไหล ตามร่องเพราะเชื้อสาเหตุโรคเหี่ยวเขียวสามารถแพร่กระจายไปกับน้ำได้

 

 ที่มาข้อมูล

  กรมวิชาการเกษตร http://at.doa.go.th/ew/pdf/258_oct63

  https://www.curriculumnacional.cl/link/http:/hotcore.info/babki/what-causes-tomato-blight.html

  https://plantvillage.psu.edu/posts/7693-tomato-bacterial-spot-of-septoria-leaf-spot

 

17 มิถุนายน 2567

ผู้ชม 7866 ครั้ง

Engine by shopup.com