โรคตายพรายหรือโรคเหี่ยวในกล้วย
โรคตายพรายหรือโรคเหี่ยวในกล้วย
โรคตายพรายหรือโรคเหี่ยวในกล้วย
โรคตายพรายหรือโรคเหี่ยวในกล้วย (Panama disease) จะระบาดในช่วงฝนตกชุก มีน้ำขัง ดินระบายน้ำไม่ดี การป้องกันไว้ก่อนย่อมดีกว่าการแก้ปัญหาในภายหลัง เพราะโรคนี้มีความรุนแรงมาก สามารทำสวนกล้วยได้ เพราะโรคนี้สามารถติดไปกับหน่อพันธุ์ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพื้นที่ปลูก และเกิดจากราสาเหตุโรคที่ไม่อาจใช้สารเคมีกำจัดเชื้อในดินให้ตายหมดไปได้ การป้องกันโรคโดยใช้ชีวภัณฑ์จึงเป็นแนวที่ใช้แก้ปัญหานี้ได้
โรคตายพราย หรือ โรคเหี่ยว หรือ โรคปานามา (Panama disease)
สาเหตุเกิดจาก เชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. Cubense
เป็นเชื้อรา ดิน (soil borne) เข้าสู่พืชทางรากและแพร่กระจายสู่ท่อน้ำ เชื้อสามารถเคลื่อนที่จากส่วนเหง้าไปสู่ยอด ของลําต้นเทียมซึ่งสูงขึ้นไปถึง 25 ฟุตได้ ภายในเวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์ เชื้อรานี้สร้างเส้นใยมีผนังกั้น ลักษณะ conidiophore เป็นก้านเดี่ยวหรือแตกแขนง มีการสร้าง sporodochium และ phialide macroconidium มีรูปร่างคล้ายเคียว หรือเสี้ยวพระจันทร์ และมีชีวิตอยู่รอดในดินได้นานหลายสิบปี ในรูปของสปอร์ผนังหนา หรือ chlamydospores
อาการของโรค พบโรคได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของกล้วย เชื้อราจะเข้าทำลายราก แล้วเจริญเข้าไปอยู่ในท่อน้ำท่ออาหารของเหง้าและโคนลำต้นเจริญเข้าไปในท่อน้ำ ทำให้เกิดอุดตัน ระยะแรกใบยอดยังเขียวตั้งตรง จากนั้นเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ต่อมาใบทั้งหมดจะเหี่ยวแห้ง เมื่อตัดลำต้นเทียมตามขวางหรือตามยาว จะพบเนื้อเยื่อภายในลำต้นเทียมเน่าเป็นสีน้ำตาลทางยาวของลำต้นเทียม เนื้อเยื่อในเหง้าเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ต้นกล้วยชะงักการเจริญเติบโต ปลายใบหรือขอบใบจะเริ่มมีสีเหลือง หยุดการเจริญเติบโตและตายในที่สุด ส่วนใหญ่มักจะพบในกล้วยที่มีอายุระหว่าง 4-5 เดือน ขึ้นไป ถ้าอยู่ในช่วงกล้วยที่ติดเครือจะเหี่ยว ผลลีบเล็กไม่สม่ำเสมอ หรือแก่ก่อนกำหนด
การแพร่ระบาด โรคตายพรายส่วนใหญ่การแพร่ระบาดของโรคชนิดนี้จะเกิดกับกล้วยที่ปลูกในพื้นที่ดินเหนียว การระบายน้ำไม่ดี ทำให้เกิดเชื้อราสะสม สามารถที่จะแพร่กระจายไปหน่อหรือเหง้าอื่นๆที่นำไปปลูกได้
การป้องกันโรคตายพราย
1.ใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่ปลอดโรค
2.ควรปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของดินให้อยู่ในช่วง pH 5.5-6.5 ด้วย จัสเตอร์
(สารปรับปรุงสภาพดินชนิดน้ำ) ใช้ฉีดพ่นลงดินหรือปล่อยไปกับระบบน้ำ
อัตรา โดยปริมาณน้ำ 80-100 ลิตร/ไร่
pH น้อยกว่า 4.5 ควรใช้ 15 ลิตร/ไร่
ช่วง pH 4.5-5.5 ควรใช้ 10 ลิตร/ไร่
ช่วง pH 5.5-6.5 (หรือในกรณีไม่ทราบค่า pH ของดิน) ควรใช้ 5 ลิตร/ไร่
3.ก่อนปลูกชุบหน่อพันธุ์ด้วย ไตรแท็บ อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร และรองก้นหลุมก่อนการปลูกใช้ ไตร-แท็บ อัตรา 1 กิโลกรัม ผสมผสมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก 100-200 กิโลกรัม ใส่หลุมละ 50-100 กรัม/ต้น
4.ใช้ เจนแบค อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ราด พ่น ลงดิน หรือปล่อยไปกับระบบน้ำ ทุก 15-30 วัน
5.เมื่อพบกล้วยแสดงอาการของโรค ให้ขุดต้นที่เป็นโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูก แล้วโรยด้วยปูนขาวบริเวณหลุมที่ขุดต้นเป็นโรคออกไป อัตรา 1-2 กิโลกรัม/หลุม อุปกรณ์การเกษตร เมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรค ควรทำความสะอาดก่อน นำไปใช้ใหม่ในแปลงที่มีการระบาดของโรค ควรเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน
รวบรวมข้อมูลจาก
อภิรัชต์ สมฤทธิ์ กลุ่มวิจัยโรคพืช สํานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน กลุ่มอารักขาพืช ส่านักงานเกษตรจังหวัดสงขลา โทร 0 7431 3759 E-mail songkhla@doae.go.th
https://www.dailynews.co.th/news/1221974/
17 มิถุนายน 2567
ผู้ชม 3079 ครั้ง