การใช้ชีวภัณฑ์ในการควบคุมเพลี้ยไก่แจ้ในทุเรียน

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

การใช้ชีวภัณฑ์ในการควบคุมเพลี้ยไก่แจ้ในทุเรียน

          เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน เป็นศัตรูที่สำคัญของทุเรียน พบการระบาดทำความเสียหายให้กับทุเรียนอย่างมากในแหล่งปลูก ตัวเต็มวัยของแมลงชนิดนี้วางไข่เข้าไปในเนื้อเยื่อของใบพืช โดยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบพืช ทำให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลือง ไม่เจริญเติบโต ใบหงิกงอ แห้ง และร่วง การจัดการด้วยสารเคมีในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน เป็นสารที่อยู่ในกลุ่มที่มีฤทธิ์กว้างขวางทำให้ไม่ปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อมและต้องใช้ปริมาณสารค่อนข้างสูง การใช้ชีวภัณฑ์ร่วมกับการจัดการจึงเป็นทางเลือกที่สามารถควบคุมแมลงศัตรูพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและลดการดื้อยาจากสารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดแมลงในระยะยาว

 

เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน (durian psyllids)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Allocoridaro molayensis (Crawford)

ลักษณะการทำลาย ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ทำให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลือง ไม่สามารถเจริญเติบโต เมื่อระบาดมากจะทำให้ใบหงิกงอ และถ้าเข้าทำลายในช่วงที่ใบอ่อนยังเล็กมาก และยังไม่คลี่ออกจะทำให้ใบแห้งและร่วง ตัวอ่อนของแมลงชนิดนี้จะขับสารเหนียวสีขาวออกมาปกคลุมใบทุเรียน เป็นสาเหตุทำให้เกิดเชื้อราตามบริเวณที่สารชนิดนี้ถูกขับออกมา

 

ลักษณะรูปร่าง ตัวเต็มวัยของแมลงชนิดนี้ว่างไข่เข้าไปในเนื้อเยื่อของใบพืช มีลักษณะเป็นตุ่มสีเหลืองหรือน้ำตาลเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มมีไข่ประมาณ 8-14 ฟอง หลังจากนั้นไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนมีขนาดเล็กมากประมาณ 1 มิลลิเมตร และเมื่อพัฒนาเป็นตัวอ่อนระยะต่อไปมีขนาดใหญ่ขึ้นยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร    มีปุยสีขาวติดอยู่ตามลำตัว โดยเฉพาะที่ด้านท้ายของลำตัวจะมีปุยยาวสีขาว คล้ายกับหางไก่ เมื่อตัวอ่อนลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยจะมีสีน้ำตาลปนเขียวขนาดยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร และมีอายุยาวถึง 6 เดือน

 

การป้องกันกำจัด

เพลี้ยไก่แจ้จะเข้าทำลายเฉพาะใบอ่อนทุเรียนที่ยังไม่โตเต็มที่ และโดยปกติทุเรียนแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันแม้แต่ทุเรียนในสวนเดียวกัน ควรฉีดพ่น บิว-เวอร์ อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ผสมร่วมกับสารจับใบ เบนดิกซ์ อัตรา 5-10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบนตัวแมลง เมื่อเริ่มพบแมลง พ่นทุก 7 วัน ในกรณีที่เกิดการระบาด ควรพ่นซ้ำทุก 3-5 วัน

 

 

เรียบเรียงโดย

อธิษฐาน ชมเพ็ญ

 

อ้างอิง

พิสุทธิ์ เอกอำนวย. 2562. โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 6. สวนสัตว์แมลงสยาม แม่ริมเชียงใหม่. 982 หน้า.

ศรุต สุทธิอารมณ์. 2557. แมลงศัตรูทุเรียน. น. 4-23. ใน แมลงศัตรูไม้ผล. กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร.

การจัดการผลิตทุเรียน (รู้จริงเรื่องพืชกับกรมวิชาการเกษตร).กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตร และสหกรณ์.

แมลง-ไร ศัตรูทุเรียน. สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2562

27 พฤษภาคม 2567

ผู้ชม 2245 ครั้ง

Engine by shopup.com