การจัดการโรคกัญชาและกัญชง

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

การจัดการโรคกัญชาและกัญชง

          หลังจากกัญชากัญชงปลดล็อค คนให้ความสนใจปลูกเป็นพืชสมุนไพรประจำบ้านและปลูกเชิงพาณิชย์ แต่การปลูกให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพนั้นค่อนข้างมีรายละเอียด ตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ ปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการจัดการศัตรูพืช ถ้าปลูกเพื่อวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำมาใช้ทางการแพทย์ ปัญหาศัตรูพืช จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อมิให้สารพิษตกค้างบนผลผลิต ดังนั้นการใช้ชีวภัณฑ์ถือว่าเป็นแนวทางในการป้องกันโรคและแมลงที่จะเกิดขึ้น

โรคพืชที่พบในต้นกัญชาและกัญชง 

  1. โรคทางดินเกิดที่ระบบรากและลำต้น

: เกิดจากเชื้อราสาเหตุหลักที่พบ ได้แก่  Pythium sp., Phytopthora sp. , Sclerotium sp., Fusarium sp. และRhizoctonia sp.  เชื้อโรคสามารถเข้าทำลายพืชได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ถ้าเข้าทำลายเมล็ด จะทำให้เมล็ดเน่าและไม่งอก ส่วนที่เพิ่งงอกจะทำลายส่วนโคนต้น ทำให้ต้นกล้าล้มตาย เกิดรากเน่า ในระยะกล้า ต้นจะแสดงอาการใบเหลืองและเหี่ยวตายในที่สุด

  • โรครากเน่า-โคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Pythium

 

  •  โรคโคนเน่า ที่เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii

 

  • โรคเหี่ยวเหลืองที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium sp.

 

การป้องกันกำจัดโรค :

  1. เพาะเมล็ด : ใช้ ไตร-แท็บ อัตรา 50  กรัม/น้ำ 20 ลิตร แช่เมล็ดก่อนนำไปเพาะ ไตร-แท๊บ ผสมวัสดุเพาะกล้าอัตรา 1 กิโลกรัมต่อวัสดุปลูก 100-500 กิโลกรัม ไตร- แท็บ  อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นต้นกล้าทุก 5-7 วัน
  1. ย้ายกล้าปลูก : ใช้ ไตร- แท็บ อัตรา 1 กิโลกรัมผสมวัสดุปลูกหรือปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก100-500 กิโลกรัม รองก้นหลุม หว่านโคนต้น อัตรา  50-100 กรัม/ต้น 
  1. ระยะการเจริญเติบโต : ไตร- แท็บ อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ใช้ฉีดพ่นลงดินหรือปล่อยไปกับระบบน้ำทุก 7-10 วัน

 

  1. โรคที่ทำลายทางใบและช่อดอก

: เกิดจากเชื้อราสาเหตุหลักที่พบ ได้แก่  Oidium sp., Peronospora parasitica,  Botrytis cinerea แล ะColeosporium plumeriae

  • โรคราแป้งที่เกิดจากเชื้อรา Oidium อาการที่พบโดยเริ่มแรก จะพบผงสีขาวหรือสีเทาอ่อนคล้ายแป้งเกาะบนใบ กรณีรุนแรงจะทำให้ใบแห้งและต้นตายได้

 

  • โรคราน้ำค้างที่เกิดจากเชื้อรา Peronospora parasitica   อาการเริ่มแรกจะพบจุดสีน้ำตาลหรือเหลือง จุดเล็กๆ และค่อยๆขยายใหญ่ขึ้นเป็นปื้นสีเหลืองทางด้านใต้ใบตรงกับจุดแผลที่เกิดขึ้นจะพบกลุ่มของเส้นใยเป็นขุยหรือผงสีเทา เมื่อเกิดโรครุนแรง และมีสภาพแวดล้อมเหมาะสม จำทำให้ใบแห้งไม่สามารถเก็บผลผลิตได้

 

  • โรคราสีเทา ที่เกิดจากเชื้อรา Botrytis cinerea มักพบโรคนี้ในสภาพอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสัมพัทธ์สูง การระบายอากาศไม่ดี การเข้าทำลายของโรค  เริ่มตั้งแต่ระยะติดดอก ทำลายกลีบเลี้ยง ก้านดอก โดยจะเกิดขึ้นเมื่อสภาวะอากาศที่เหมาะสม เช่น ฝนตก หรือสภาพอากาศที่ฟ้าปิด ไม่มีแสงแดด ต่อเนื่องเป็นเวลานาน  เมื่อรุนแรงจะทำให้ผลผลิตลดลง คุณภาพผลผลิตต่ำ

 

  • โรคราสนิมที่เกิดจากเชื้อรา Coleosporium plumeriae  อาการเริ่มแรกจะพบจุดสีเหลืองอ่อนเล็กๆ บนใบ ต่อมาแผลจะขยายตามเส้นใบเป็นขีดเส้นสีน้ำตาลเข้มหรือสีสนิม รอบๆจุดเป็นสีเหลืองอ่อนถ้ารุนแรงแผลจะติดต่อกันทั้งใบ จนใบกลายเป็นสีแดง สนิมด้านล่างใบจะเป็นแผลนูนขรุขระกว่าด้านบนต่อใบ เป็นสีน้ำตาลแห้งตายทั้งใบ

 

การป้องกันกำจัด

ใช้ เจน-แบค พ่นให้ทั่วลำต้นและทรงพุ่ม ก่อนการระบาด อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5-7 วัน และเมื่อเริ่มพบการระบาด พ่นทุก 3-5 วัน เพื่อลดปริมาณของเชื้อในแปลงลง โดยในระยะนี้ควรให้น้ำน้อยลง

 

เอกสารอ้างอิง

  1. https://growdiaries.com/journal/cannabis-pests-botrytis
  2. https://growithjane.com/pest-cannabis-plants/
  3. https://onspecialtycrops.ca/2020/09/22/downy-mildew-identified-on-hemp-cannabis-sativa-in-southwestern-ontario/
  4. https://www.researchgate.net/figure/Colour-online-Pathogenicity-studies-conducted-on-rooted-cannabis-cuttings-using_fig6_328252098                              

17 มิถุนายน 2567

ผู้ชม 4630 ครั้ง

Engine by shopup.com