การใช้ชีวภัณฑ์ในการป้องกันโรคไฟทอปธอราในทุเรียน (โรครากเน่าโคนเน่า)

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

 

ทุเรียน เป็นไม้ผลที่มีความสำคัญด้านเศรษฐกิจของไทย มีแนวโน้มทางการตลาดที่ดี แต่การปลูกทุเรียน ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากทุเรียนเป็นพืชที่พบปัญหาโรคหลายชนิด โดยที่สำคัญคือ “โรครากเน่าโคนเน่า” หรือ "โรคไฟทอปธอรา" ซึ่งโรคสามารถเข้าทำลายได้ทุกระยะของการปลูก รวมถึงทุกส่วนของต้น ได้แก่ ระบบราก ลำต้น ใบ กิ่ง และผล ถ้าเป็นในระยะการเจริญเติบโตทำให้ไม่สามารถให้ผลผลิตได้  ถ้าระบาดรุนแรงทำให้ต้นตายในที่สุด ซึ่งปัจจุบันการใช้สารเคมียังไม่ช่วยแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง การใช้ชีวภัณฑ์ร่วมกับการจัดการจึงเป็นทางเลือกที่สามารถควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและลดปัญหาด้านการกีดกันทางการค้า

 

 

โรครากเน่าและโคนเน่าของทุเรียน (Root and Foot Rot)

 

 

สาเหตุโรครากเน่าและโคนเน่าของทุเรียน

โรครากเน่าและโคนเน่าของทุเรียน เกิดจาก เชื้อรา Phytophthora palmivora

อาการโรครากเน่าและโคนเน่าของทุเรียน

ลักษณะอาการ ใบจะไม่มันสดใสเหมือนใบทุเรียนปกติ ต่อมาใบล่างจะเริ่มเป็นจุดประเหลืองแล้วค่อยๆ หลุดร่วง ต้นทรุดโทรมและตายเกิดอาการเน่าที่โคนต้นหรือกิ่ง จะสังเกตเห็นผิวเปลือกของลำต้นหรือกิ่งคล้ายมีคราบน้ำเกาะติด เห็นได้ชัดในสภาพที่ต้นทุเรียนแห้ง ในช่วงเช้าที่มีอากาศชุ่มชื้นจะมองเห็นหยดน้ำยางสีน้ำตาลแดงไหลออกมาจากรอยแผลแตกของลำต้นหรือกิ่ง และน้ำยางนี้จะค่อยๆ แห้งไปในช่วงกลางวันที่มีแดดจัด ทำให้เห็นเป็นคราบน้ำจับบนเปลือกของลำต้น เมื่อถากเปลือกของลำต้นบริเวณที่มีคราบน้ำยาง จะเห็นเนื้อเยื่อเปลือกถูกทำลายมีสีน้ำตาลแดง หรือน้ำตาลเข้ม ส่วนอาการเน่าที่เกิดกับรากเล็กหรือรากฝอยนั้น เนื้อเยื่อรากจะเปื่อยยุ่ย เมื่อดึงเบาๆ จะขาดออกจากกันได้ง่าย

 

การแพร่ระบาด

เชื้อราไฟทอฟธอรา (Phytophthora palmivora) สามารถพักตัวอยู่ในดินได้เป็นเวลานานหลายปี ในรูปแบบของคลาไมโดสปอร์ (chlamydospores) และเมื่อสภาวะแวดล้อมเหมาะสม คือน้ำและความชื้นเพียงพอก็สามารถงอกเป็นเส้นใยสร้างอวัยวะขยายพันธุ์ (sporangium) ซึ่งเป็นที่กำเนิดของซูโอสปอร์ (zoospores) ซึ่งมีหางสามารถเคลื่อนที่ไปตามน้ำ เข้าทำลายรากพืช นอกจากนั้นเชื้อโรคยังแพร่ระบาดได้โดยลมพายุ และน้ำท่วมหรือติดไปกับดินปลูก และกิ่งพันธุ์เป็นโรคได้

 

 

 

แนวทางการป้องกันกำจัด

ป้องกันอย่าให้น้ำขังหรือแฉะที่บริเวณโคนต้น เพราะเป็นสาเหตุชักนำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าได้ง่าย

ปรับสภาพดินปลูกให้โปร่ง โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อทำให้การระบายน้ำอากาศดี ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก และแสงแดดส่องเข้ามาถึงโคนต้น

1. ใช้ ไตร-แท๊บ รองก้นหลุมก่อนการปลูก อัตรา 10-20 กรัม/หลุม หรือผสมกับปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก รองก้นหลุม อัตรา 50-100 กรัม/ต้น สำหรับทุเรียนปลูกใหม่

2. ใช้ ไตร-แท๊บ ฉีดพ่นลงดิน ก่อนการระบาด อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-10 วัน และเมื่อเริ่มพบการระบาด พ่นทุก 3-5 วัน

3. ใช้ เจน-แบค ฉีดพ่นให้ทั่วลำต้นและทรงพุ่ม ก่อนการระบาด อัตรา100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 10-15 วัน และเมื่อเริ่มพบการระบาด พ่นทุก 5-7 วัน

4. เมื่อเกิดอาการลำต้นเน่า ให้ถากเปลือกออก ใช้ ไตร-แท๊บ อัตรา 100 กรัม/น้ำ 1-2 ลิตร ทาที่แผล สามารถใช้ผสมร่วมกับสารเมตาแลกซิลได้ ทาซ้ำถ้ายังพบการฉ่ำน้ำบริเวณแผล

 

ชีวภัณฑ์ ไตร-แท๊บ (เชื้อราไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียลลัม สายพันธุ์ เอ็นเอสที-009) 
จุดเด่นคือ เป็นสายพันธุ์มีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อราไฟธอปธอรา ที่เป็นสาหตุของรากเน่าโคนเน่า และสามารถแก้ปัญหาเรื่องการ ดื้อยา กับเชื้อโรคกลุ่มไฟทอปธอรา โดยใช้ ไตร-แท๊บ ฉีดพ่นลงดิน ก่อนการระบาด อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-10 วัน และเมื่อเริ่มพบการระบาด พ่นทุก 3-5 วัน

เมื่อเกิดอาการลำต้นเน่า ให้ถากเปลือกออก ใช้ ไตร-แท๊บ อัตรา 100 กรัม/น้ำ 1-2 ลิตร ทาที่แผล สามารถใช้ผสมร่วมกับสารเมตาแลกซิลได้ ทาซ้ำถ้ายังพบการฉ่ำน้ำบริเวณแผล

ชีวภัณฑ์  เจน-แบค (บาซิลลัสซับทิลิส สายพันธุ์ บีเอ็ม-01)
เป็นชีวภัณฑ์สามารถป้องกันกำจัดโรคที่เกิด เชื้อราไฟธอปธอรา ที่เป็นสาหตุของรากเน่าโคนเน่า ใช้ เจน-แบค ฉีดพ่นให้ทั่วลำต้นและทรงพุ่ม ก่อนการระบาด อัตรา100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 10-15 วัน และเมื่อเริ่มพบการระบาด พ่นทุก 5-7 วัน

 

อ้างอิง

  1. โรคทุเรียน. แผ่นพับเผยแพร่ที่ 172 กรมส่งเสริมการเกษตร. สำหนักงานส่งเสริมและฝึกอบรม    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  2. นิพนธ์ วิสารทานนท์. โรคทุเรียน: เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการหลักสูตร หมอพืช-ไม้ผล ฉบับที่ 4. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน คณะเกษตร ภาควิชาโรคพืช. 2542
  3. สมศิริ แสงโชติ. โรคพืชที่สำคัญต่อการผลิต และการส่งออกทุเรียน. เทคโนเกษตร. เกษตรอภิรมย์. 2559
  4. การจัดการโรคและแมลงศัตรูทุเรียน. ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสงขลา
  5. สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา กรมส่งเสริมการเกษตร
  6. ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  7. พิสุทธิ์ เอกอำนวย. 2562. โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 6. สวนสัตว์แมลงสยาม แม่ริม เชียงใหม่. 982 หน้า.
  8. ศรุต สุทธิอารมณ์. 2557. แมลงศัตรูทุเรียน. น. 4-23. ใน แมลงศัตรูไม้ผล. กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัย พัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร.
  9. การจัดการผลิตทุเรียน (รู้จริงเรื่องพืชกับกรมวิชาการเกษตร).กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตร และสหกรณ์.
  10. อมรรัตน์ ภู่ไพบูลย์. โรครากเน่าโคนเน่า และโรคผลเน่าของทุเรียน. กลุ่มวินิจโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการ  อารักขาพืช. กรมวิชาการเกษตร

24 กรกฎาคม 2567

ผู้ชม 2363 ครั้ง

Engine by shopup.com