โรคเหี่ยวเขียวและวิธีการป้องกันกำจัด

โรคเหี่ยวเขียวและวิธีการป้องกันกำจัด

โรคเหี่ยวเขียว (Bacterial wilt) สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (Ralstonia solanacearum) พบในมะเขือเทศ ทุกระยะการเจริญเติบโต อาการเริ่มแรกใบล่างจะเหี่ยวและลู่ลง ใบแก่ที่อยูล่างๆมีอาการเหลือง และใบที่เหี่ยวจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ระยะแรกจะแสดงอาการเหี่ยวเฉพาะเวลากลางวันที่อากาศร้อนจัด ต่อมาอาการเหี่ยวจะนานขึ้น จนกระทั่งเหี่ยวถาวรทั้งวัน ทําให้มะเขือเทศจะตายในที่สุด

การแพร่ระบาด เชื้อสาเหตุของโรคเหี่ยวเขียวสามารถสะสมอยู่ในเศษซากพืชที่ติดเชื้อ ดินที่มีเชื้ออยู่แล้วและเศษวัชพืชที่เป็นพืชอาศัย จะแพร่ระบาดไปกับเครื่องมือการเกษตร มนุษย์ สัตว์เลี้ยง ลม และน้ำ ชลประทานหรือน้ำฝน โดยเชื้อจะเข้าทำลายทางบาดแผลหรือช่องเปิดธรรมชาติของพืช สภาพอุณหภูมิสูง (28-35 องศาเซลเซียส) และความชื้นในดินสูงจะทำให้การพัฒนาของโรคเป็นไปอย่างรวดเร็ว สภาพดินที่เป็นด่าง ขาดไนโตรเจน หรือมีความสมบูรณ์ต่ำจะทำให้พืชเป็นโรคได้ง่ายและรุนแรง

แนวทางการป้องกันกำจัดโรคโรคเหี่ยวเขียว

1.พื้นที่ที่เคยพบว่ามีการระบาดของโรคเหี่ยวควรปลูกพืชหมุนเวียน ควรกำจัดวัชพืชในแปลงให้หมด หรือจะไถดินตากแดดสัก 2 – 3 ครั้ง

2.ใช้ชุดพลัง 3 บวก ซึ่งประกอบไปด้วย จัสเตอร์ เจน-แบค และ บาซิทัส - จัสเตอร์ เป็นสารปรับปรุงสภาพดินที่ได้จากแร่ธาตุจากธรรมชาติ ที่ผ่านขบวนการผลิตที่ทำให้มีขนาดของอนุภาคที่เล็ก เท่ากับ 0.5 ไมครอน มีค่าความกรด-ด่าง (pH) 8.5 – 10 ละลายน้ำได้ดี ปรับสภาพดินได้รวดเร็ว

- เจน-แบค เป็นเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ซับทิลิส สายพันธุ์ บีเอ็ม-01 ช่วยกำจัดเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคพืช เช่น โรคราเม็ดผักกาด โรคเหี่ยวเหลือง และโรคเน่าคอดิน เป็นต้น

- บาซิทัส เป็นเชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส สายพันธุ์ บีเอส-ดีโอเอ เป็นชีวภัณฑ์ที่ใช้ในการป้องกันโรคเหี่ยวเขียว อัตราการใช้ชุด 3 พลังบวก

สำหรับป้องกันกำจัดโรคโรคเหี่ยวเขียว

อัตราต่อไร่: ใช้ บาซิทัส 500 กรัม + เจนแบค 1 กก. + จัสเตอร์ 1 ลิตร ปล่อยไปกับระบบน้ำทุกๆ 5-7 วัน หรือ

อัตราต่อน้ำ 20 ลิตร: ใช้ บาซิทัส 50 กรัม + เจนแบค 100 กรัม + จัสเตอร์ 100 ซีซี ฉีดพ่นลงดินทุกๆ 5-7 วัน

30 สิงหาคม 2567

ผู้ชม 265 ครั้ง

Engine by shopup.com