จัดการโรคในทุเรียน

วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการป้องกัน แก้ไข โรคพืชในทุเรียนกัน สำหรับโรคที่สำคัญในทุเรียน โดยโรคในทุเรียนที่สำคัญๆ จะมีอยู่ 3 โรค ซึ่งโรคต่างๆเหล่านี้จะอาศัยอยู่ในดินและสามารถแพร่ระบาดไปกับน้ำ สภาพอากาศ ทำให้มีการแพร่ระบาดทั้งแปลงได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงสามารถเข้าทำลายต้นทุเรียนได้ตั้งแต่ ราก โคนต้น กิ่ง ใบ รวมไปถึง ผล นับว่าเป็นปัญหาสำคัญของผู้ปลูกทุเรียนเลยทีเดียว

1.โรครากเน่าโคนเน่า ที่เกิดจาเชื้อราไฟทอปธอร่า Phytophthora spp. โดยเชื้อราจะอาศัยอยูในดิน และสามารถเข้าทำลายทุกส่วนของต้นทุเรียน ไม่ว่าจะเป็น ราก โคนต้น ลำต้น ใบ และผล อาการที่พบหลักๆคือจะมีอาการใบเหลืองเนื่องจากเชื้อเข้าทำลายที่ระบบราก ใบจะมีสีเหลือง แล้วก็ลู่ลง หากอาการรุนแรงใบก็ร่วงหล่นทั้งต้น และทำให้ยืนต้นตายในที่สุด

2.โรคกิ่งแห้ง ที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม โดยเชื้อจะเข้าทำลายที่บริเวณกิ่งของต้นทุเรียน ทำให้กิ่งมีลักษณะแห้ง และใบจะร่วง หากอาการรุนแรงมากก็จะทำให้ต้นทุเรียนไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ ทำให้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร

3.โรคใบติด ที่เกิดจากเชื้อราไรซอกโทเนีย โดยเชื้อราจะเข้าทำลายบริเวณใบ จะมีลักษณะเป็นใบจุด คล้ายน้ำร้อนลวกที่บริเวณของใบ และลุกลามกินเนื้อเยื่อบริเวณใบ ทำให้ใบแห้ง และจะทำให้ใบหลุดร่วง ทำให้ต้นทุเรียนไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่เท่าที่ควร

 วิธีการป้องกันการเกิดโรคและดูแลรักษาต้นทุเรียน

ควรเริ่มตั้งแต่การวัดค่าpHดิน เพื่อให้pHดินมีความเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นทุเรียน โดยแนะนำให้ใช้จัสเตอร์ ซึ่งเป็นสารปรับปรุงดินชนิดน้ำ โดยอัตรการใช้มีดังนี้

pH น้อยกว่า 4.5 อัตราการใช้ 15 ลิตร/ไร่ ผสมน้ำอัตรา 80-100 ลิตร/ไร่

pH 4.5-5.5 อัตราการใช้ 10 ลิตร/ไร่ ผสมน้ำอัตรา 80-100 ลิตร/ไร่

pH 5.6-6.5 อัตราการใช้ 5 ลิตร/ไร่ ผสมน้ำอัตรา 80-100 ลิตร/ไร่

ซึ่งหากไม่ทราบค่าpH แนะนำใช้จัสเตอร์ ในอัตรา 5 ลิตร/ไร่ ผสมน้ำอัตรา 80-100 ลิตร/ไร่

หลังจากปรับปรุงดินแล้ว ใช้ ไตร-แท๊บ คือไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียลลั่ม และ เจน-แบค คือบาซิลลัส ซับทิลิส สายพันธุ์ บีเอ็ม-01 ในการป้องกันการเกิดโรค โดยวิธีที่เราใช้ป้องกันมีทั้งหมด 4 วิธี

1.รองก้นหลุมหรือหว่านบริเวณรอบโคนต้น ใช้ ไตร-แท๊บ รองกันหลุมก่อนปลูก หว่านโคนต้น ใช้ ไตร-แท๊บ 1 กิโลกรัมผสมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก 100 - 200 กิโลกรัม รองกันหลุมก่อนปลูก 50-100 กรัมต่อหลุม

2.ฉีดพ่นบริเวณโคนต้น ราดลงดิน หรือปล่อยไปกับระบบน้ำ ใช้ไตร-แท๊บ อัตรา 100 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้รอบทรงพุ่ม หรือรอบโคนต้นของทุเรียน

3.ฉีดพ่นบนใบ ใช้ เจน-แบค อัตรา 100 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม และทั้งต้นของทุเรียนเพื่อป้องกันการเกิดโรค โดยใช้รวมกับสารจับใบเบนดิกซ์ อัตรา 5 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

4.ทาบริเวณแผลของต้นทุเรียน โดยเริ่มจากการถากบริเวณแผลหรือเนื้อเยื่อที่โดนเชื้อราเข้าทำลายออก ซึ่งเศษของเนื้อเยื่อที่ทำการถากออกนั้น ต้องใช้พลาสติกรองเพื่อไม่ให้มีการหล่นบริเวณดินรอบโคนต้นเพื่อป้องกันการระบาด จากนั้นวิธีการรักษาในระยะเริ่มแรกใช้เป็น ไตร-แท๊บ อัตรา 1 กิโล ผสมกับน้ำ 1-2 ลิตร ผสมกวนให้เข้ากัน โดยจะมีลักษณะเนื้อที่หนืด จากนั้นนำมาทาบริเวณแผลที่โดนเชื้อราเข้าทำลาย โดยแนะนำให้ทาทุกๆ 7 วัน จนกว่าแผลจะแห้ง ซึ่งต้องหมั่นสังเกตดูหลังจากทาว่าแผลหายสนิทดีแล้วหรือไม่

31 พฤษภาคม 2567

ผู้ชม 118 ครั้ง

Engine by shopup.com