แก้ปัญหาโรคต้นแตกยางไหลในเมล่อน I TAB Innovation
แก้ปัญหาโรคต้นแตกยางไหลในเมล่อน I TAB Innovation
แก้ปัญหาโรคต้นแตกยางไหลในเมล่อน I TAB Innovation
ช่วงหน้าฝนจะพบการเกิดโรคต้นแตกยางไหล (Gummy Stem Blight) ที่เกิดจากเชื้อรา Didymella bryoniae จะระบาดในเมล่อน
รวมถึงพืชตระกูลแตง อาการของโรคเริ่มแรกจะพบแผลฉ่ําน้ำที่บริเวณ ลําต้น กิ่ง ก้าน และใบ โดยเฉพาะบริเวณข้อต่อของลําต้นกับกิ่ง
ที่แผลจะมียางเหนียวสีแดง (gummy ooze) ไหลเยิ้มออกมาจากแผล และเกาะแห้งอยู่ที่บริเวณแผล โรคมีการระบาดในระยะที่ติดผล
จะทําให้ต้นแตงมีการเจริญเติบโตช้า ผลโตไม่เต็มที่ และในต้นที่อาการรุนแรงมาก ต้นจะเหี่ยวแห้งและยืนต้นตาย ทําให้ผลผลิตที่ได้ลดลง
คำแนะนำในการป้องกันโรคโรคต้นแตกยางไหลในเมล่อนใช้ ไตร-แท๊บ (ไตรโคเดอร์เดอร์มา แอสเพอร์เรียลลัม สายพันธุ์ เอ็นเอสที 009)
1. คลุกเมล็ด - ใช้น้ำพรมให้ทั่วเมล็ดก่อน ประมาณ 5 - 10 ซีซี/เมล็ด 1 กิโลกรัม - ใช้ไตรแท๊บ อัตรา 10 กรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม แล้วเขย่าคลุกเคล้าให้ทั่วเมล็ด - เมล็ดที่คลุกแล้วแนะนำให้ปลูกทันที แล้วปลูกให้หมดไม่ควรเก็บไว้
2. ผสมวัสดุปลูก ใช้ไตร-แท๊บ อัตรา 1 กิโลกรัมต่อวัสดุปลูก 100-500 กิโลกรัม
3. รองก้นหลุมก่อนปลูก/ย้ายกล้า ใช้ไตร-แท๊บ อัตรา 1 กิโลกรัมผสมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก 100-200 กิโลกรัม
4. รองก้นหลุมก่อนปลูก อัตรา 50-100 กรัม/หลุม
5. ฉีดพ่นต้น พ่น/ราดลงดิน ใช้ไตรแท๊บ อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อป้องกันทุก 7-10 วัน ถ้าเริ่มพบอาการโรค ควรฉีดพ่นทุก 3-5 วัน ควรผสมสารจับใบทุกครั้งเมื่อมีการฉีดพ่น และควรฉีดพ่นช่วงเย็นหลีกเลี่ยงแสงแดดจัด
20 สิงหาคม 2567
ผู้ชม 2649 ครั้ง