ชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการป้องกันกำจัดโรคพืช

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

         

ชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการป้องกันกำจัดโรคพืช


         เชื้อราไตรโคเดอร์มา จัดเป็นเชื้อราชั้นสูง ที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืชซากสัตว์และอินทรีย์วัตถุเป็นแหล่งอาหาร ทำหน้าที่เชื้อราศัตรู (ปฏิปักษ์) ต่อเชื้อสาเหตุโรคพืช เส้นใยมีสีขาว สปอร์มีสีเขียว ช่วยปกป้องรากพืชจากเชื้อโรค ช่วยในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ชักนำให้ต้นพืชมีความต้านทาน  และเชื้อราไตรโคเดอร์มายังสามารถผลิตสารปฏิชีวนะหรือสารพิษ ตลอดจนน้ำย่อยหรือเอนไซม์ สำหรับช่วยละลายผนังเส้นใยของเชื้อโรคพืชได้

                   

 

คุณสมบัติเด่นของเชื้อราไตรโคเดอร์มา

1.การเจริญเติบโตที่รวดเร็ว สร้างสปอร์ได้ดี จะช่วยลดกิจกรรมของเชื้อโรคพืช โดยการยับยั้งหรือทำลายการงอกของสปอร์ การแย่งอาหาร แย่งพื้นที่ของเชื้อโรคพืช ทำให้เชื้อโรคลดความรุนแรงลงได้

2.การสร้างสารปฏิชีวนะ โดยเมื่อเส้นใยของเชื้อราไตรโคเดอร์มา ไปสัมผัสและพันรัดเส้นใยเชื้อราโรคพืชจะปล่อยสารปฏิชีวนะต่างๆ มาทำลายผนังเซลล์เชื้อราโรคพืช ทำให้เส้นใยเชื้อราโรคพืชเกิดการไหม้ การทำงานของเซลล์ผิดปกติและตายในที่สุด

 

3.ส่งเสริมการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตของพืช โดยการสร้างฮอร์โมนหรือสารที่มีหน้าที่คล้ายฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโต เช่น oxazole เป็นต้น และยังช่วยในการละลายฟอสเฟตให้อยู่ในรูปที่ต้นพืชนำไปใช้ได้ ทำให้พืชได้รับสารที่มีประโยชน์ ทำให้เมล็ดงอก ระบบรากดี เจริญเติบโตได้ดี แข็งแรงและให้ผลผลิตมากขึ้น  

4.การกระตุ้นภูมิคุ้มกันในต้นพืช เชื้อราไตรโคเดอร์มา สามารถกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของต้นพืชได้ โดยอาจเกิดจากตัวเชื้อราโดยตรงและจากการสร้างสารไปกระตุ้น ผลที่เกิดขึ้นทำให้มีการทำงานของยีนต้านทานในเซลล์พืชที่พร้อมต่อสู้กับเชื้อโรคพืชได้ดีขึ้นเมื่อมีเชื้อโรคพืชเข้าทำลาย

 

การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในป้องกันและควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช

1.โรครากเน่า โคนเน่า ที่เกิดจากเชื้อรา Phytophthora sp. หรือ เชื้อรา Pythium sp. เช่น ส้ม ทุเรียน แตงกวา ต้นกล้าผักสลัด ต้นกล้ามะเขือเทศ เป็นต้น

 

 

2. โรคราเมล็ดผักกาด ที่เกิดจากเชื้อรา Sclerotium sp. และ Rhizoctonia sp. เช่น พืชตระกูลถั่ว พริก มะเขือเทศ   ขึ้นฉ่าย เป็นต้น

 

 

 

3.โรคแอนแทรคโนส ที่เกิดจากเชื้อ Collectotrichum sp. เช่น พริก หน่อไม้ฝรั่ง  มะม่วง ทุเรียน สตรอเบอรี่ และ กล้วยไม้ เป็นต้น

 

 

4.โรคใบจุดต่างๆในพืช โรคดอกจุดสนิมในกล้วยไม้ และโรคเมล็ดด่างในข้าว ที่เกิดจากเชื้อ Curvularia lunata, Trichoconis padwickii, Helminthosporium oryzae, Cercospora orezae, และ Fusarium semitecum

  

17 มิถุนายน 2567

ผู้ชม 1112 ครั้ง

Engine by shopup.com