โรคเหี่ยวเขียวในมะเขือเทศ
โรคเหี่ยวเขียวในมะเขือเทศ
โรคเหี่ยวเขียวในมะเขือเทศ
โรคเหี่ยวเขียว (Bacterial wilt) สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (Ralstonia solanacearum) พบในมะเขือเทศ ทุกระยะการเจริญเติบโต อาการเริ่มแรกใบล่างจะเหี่ยวและลู่ลง ใบแก่ที่อยูล่างๆ มีอาการเหลือง และใบที่เหี่ยวจะ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ระยะแรกจะแสดง อาการเหี่ยวเฉพาะเวลากลางวันที่อากาศร้อนจัด ต่อมาอาการเหี่ยวจะนานขึ้น จนกระทั่งเหี่ยวถาวรทั้งวัน ทําให้มะเขือเทศจะตายในที่สุด
การแพร่ระบาด เชื้อสาเหตุของโรคเหี่ยวเขียวสามารถสะสมอยู่ในเศษซากพืชที่ติดเชื้อ ดินที่มีเชื้ออยู่แล้วและเศษวัชพืชที่เป็นพืชอาศัย จะแพร่ระบาดไปกับเครื่องมือการเกษตร มนุษย์ สัตว์เลี้ยง ลม และน้ำ ชลประทานหรือน้ำฝน โดยเชื้อจะเข้าทำลายทางบาดแผลหรือช่องเปิดธรรมชาติของพืช สภาพอุณหภูมิสูง (28-35 องศาเซลเซียส) และความชื้นในดินสูงจะทำให้การพัฒนาของโรคเป็นไปอย่างรวดเร็ว สภาพดินที่เป็นด่าง ขาดไนโตรเจน หรือมีความสมบูรณ์ต่ำจะทำให้พืชเป็นโรคได้ง่ายและรุนแรง
แนวทางการป้องกันกำจัดโรค
1. พื้นที่ที่เคยพบว่ามีการระบาดของโรคเหี่ยวควรปลูกพืชหมุนเวียน ควรกำจัดวัชพืชในแปลงให้หมด หรือจะไถดินตากแดดสัก 2-3 ครั้ง
2. ในแปลงที่พบการระบาดควรอบดินฆ่าเชื้อด้วย ยูเรีย อัตรา 80 กิโลกรัม และปูนขาว อัตรา 800 กิโลกรัม ต่อ พื้นที่ 1 ไร่ โดยอบทิ้งไว้ 2-3 สัปดาห์ก่อนปลูกพืช
3. ควรปรับสภาพดินให้อยู่ในช่วง pH 5.5-6.5 ด้วย จัสเตอร์ (สารปรับปรุงสภาพดินชนิดน้ำ) ใช้ฉีดพ่นลงดินหรือ ปล่อยไปกับระบบน้ำ อัตราโดยปริมาณน้ำ 80-100 ลิตร/ไร่
pH น้อยกว่า 4.5 ควรใช้ 15 ลิตร/ไร่
ช่วง pH 4.5-5.5 ควรใช้ 10 ลิตร/ไร่
ช่วง pH 5-6.5 (หรือในกรณีไม่ทราบค่า pH ของดิน) ควรใช้ 5 ลิตร/ไร่
4.ใช้ไตร-แท๊บ ผสมวัตดุเพาะกล้าอัตรา 1 กิโลกรัมต่อวัสดุปลูก 100-50 กิโลกรัม หรือใช้ไตร-แท๊บ อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นต้นกล้าอายุ 7 วัน จำนวน 1 ครั้ง ใช้บาซิทัส อัตรา 50-100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นลงดิน หรือปล่อยไปกับระบบน้ำ ก่อนและหลังย้ายกล้าปลูก ทุก 5-7 วัน
5.ถ้าปลูกพืชไปแล้วมีโรคระบาดต้องถอนต้นที่เป็นโรคออกจากแปลงและเผาทำลาย
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/TomatoDiseaseControl
ติดตามข้อมูลข่าวสาร สอบถามและปรึกษาปัญหาการปลูกพืชได้ที่
LINE id: @tabinnovation
โทร. 02-954-3120-6
================================================
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
LINE: http://bit.ly/TAB_LINE_OFFICIAL
Facebook: https://www.facebook.com/TABInno
YouTube Channel: http://bit.ly/LGH_YouTube
Lazada Official Store: https://www.lazada.co.th/shop/tab-innovation
================================================
07 มกราคม 2568
ผู้ชม 4 ครั้ง