เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน (durian psyllids)

เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน (durian psyllids)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Allocoridaro molayensis (Crawford)

ลักษณะรูปร่าง
ตัวเต็มวัยของแมลงชนิดนี้ว่างไข่เข้าไปในเนื้อเยื่อของใบพืช มีลักษณะเป็นตุ่มสีเหลืองหรือน้ำตาลเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มมีไข่ประมาณ 8-14 ฟอง หลังจากนั้นไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนมีขนาดเล็กมากประมาณ 1 มิลลิเมตร และเมื่อพัฒนาเป็นตัวอ่อนระยะต่อไปมีขนาดใหญ่ขึ้นยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร มีปุยสีขาวติดอยู่ตามลำตัว โดยเฉพาะที่ด้านท้ายของลำตัวจะมีปุยยาวสีขาว คล้ายกับหางไก่ เมื่อตัวอ่อนลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยจะมีสีน้ำตาลปนเขียวขนาดยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร และมีอายุยาวถึง 6 เดือน
ลักษณะการทำลาย
ทั้งตัวอ่อน และตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนของทุเรียนที่ยังไม่โตเต็มที่ (ใบเพสลาด) ทำให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลือง ไม่เจริญเติบโตและเล็กผิดปกติ เมื่อระบาดมากๆ ใบจะหงิกงอ แห้งและร่วงหมด นอกจากนั้นยังทำให้ยอดอ่อนแห้งและตายได้ ตัวอ่อนของเพลี้ยชนิดนี้ จะขับสารสีขาวออกมาเป็นสาเหตุทำให้เกิดเชื้อรา ตามบริเวณที่สารสีขาวขับออกมา ระยะที่ทำลายมากที่สุดคือในระยะตัวอ่อน

การป้องกันกำจัด
1. หมั่นสำรวจแปลง ตัดแต่งกิ่งทรงพุ่มให้โปร่ง เมื่อพบเพลี้ยเล็กน้อย ให้ตัดส่วนนั้นทิ้ง
2. เมื่อเพลี้ยเริ่มแพร่กระจาย ใช้ บิว-เวอร์ อัตรา 80-100 กรัม ผสมเบนดิกซ์ อัตรา 5 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อลดปัญหาการดื้อสารเคมี สามารถใช้ร่วมกับสารกำจัดแมลงตามอัตราแนะนำของหน่วยราชการ

 

 

อ้างอิง: ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จ.สุราษฎร์ธานี

 

ติดตามข้อมูลข่าวสาร สอบถามและปรึกษาปัญหาการปลูกพืชได้ที่

LINE id: @tabinnovation
โทร. 02-954-3120-6

 

================================================
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
LINE: http://bit.ly/TAB_LINE_OFFICIAL
Facebook: https://www.facebook.com/TABInno
YouTube Channel: http://bit.ly/LGH_YouTube
Lazada Official Store: https://www.lazada.co.th/shop/tab-innovation
================================================

 

25 ธันวาคม 2567

ผู้ชม 13 ครั้ง

Engine by shopup.com