โรคกรีนนิ่งในส้ม
โรคกรีนนิ่งในส้ม
โรคกรีนนิ่งในส้ม
กรีนนิ่งเป็นโรคที่สำคัญในพืชตระกูลส้มโดยเฉพาะในกลุ่มส้มเปลือกล่อน (mandarin) กลุ่มส้มติดเปลือก (sweet orange) รวมทั้งส้มโอ (pomelo) (Citrus maxima) และกลุ่มมะนาว (small acid lime)(Citrus aurantifolia) โรคนี้จัดเป็นโรคระบาดรุนแรงซึ่งสร้างความเสียหายให้กับต้นส้มตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบัน มีสาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Candidatus Liberobacter asiaticus
ลักษณะอาการ : โรคกรีนนิ่งสามารถเข้าทำลายต้นส้มได้ทุกระยะ ซึ่งโรคกรีนนิ่งนั้นสามารถแพร่ระบาดโดยเชื้อแบคทีเรียไปกับกิ่งพันธุ์และถ่ายทอดโดยมีเพลี้ยไก่แจ้เป็นพาหะนำโรค อายุส้มระหว่าง 1 - 5 ปี จะติดโรคง่ายและแสดงอาการชัดเจน แต่เมื่อต้นส้มอายุเกิน 10 ปี ขึ้นไปการเข้าทำลายของเชื้อจะช้าลงและอาการของโรคจะไม่รุนแรง โดยใบเหลืองจะมีขนาดเล็กและชี้ตั้งตรง คล้ายอาการขาดธาตุสังกะสี แมงกานีสและแมกนีเซียมบางครั้งพบว่าใบจะมีจุดสีเหลืองเป็นแต้มๆ หรือจ้ำ กระจายไปทั่วบนใบ
การแพร่ระบาด สามารถแพร่ระบาดได้ 3 ทาง คือ
1.โดยกิ่งพันธุ์หรือกิ่งตอน ถ้าขยายพันธุ์หรือตอนกิ่งจากต้นที่เป็นโรค เชื้อโรคกรีนนิ่ง สามารถติดไปกับกิ่งพันธุ์ได้ และแพร่กระจายเชื้อโรคได้ไกลทั่วทุกแหล่งที่นำไปปลูก
2.โดยการติดตาทาบกิ่ง ถ้านำตาจากต้นส้มเป็นโรคไปติดตาบนต้นกล้าส้ม หรือขยายพันธุ์โดยวิธีการทาบกิ่งหรือเสียบยอดก็ตาม ต้นพันธุ์ที่ได้ย่อมมีโอกาสติดโรค
3.โดยแมลงพาหะ คือ เพลี้ยไก่แจ้ส้ม (Citrus psylid, Daphorina citri Kuway)
แนวทางในการป้องกันโรคกรีนนิ่ง ต้องเสริมความแข็งแรงให้ต้นส้มโดยเริ่มจากปรับสภาพดินให้เหมาะต่อการเจริญโตและต้องเสริมด้วยธาตุอาหารและสารกระตุ้นทางใบ จะทำให้ลดความรุนแรงของโรคและการเข้าทำลายของโรคช้าลง
1.หมั่นสำรวจแปลงเป็นประจำ เพื่อดูแมลงศัตรูพืช และลักษณะอาการต่างๆของส้ม
2.ควรมีการส่งวิเคราะห์ดินเพื่อตรวจธาตุอาหารที่จำเป็นต่าง ๆ เพื่อใช้บำรุงต้นส้มอย่างเหมาะสม และค่าความเป็น กรด-ด่างในดิน (pH) ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต 1-2 ปี ต่อครั้ง
3.ปรับค่าความเป็น กรด-ด่าง ด้วย จัสเตอร์ อัตราการใช้ขึ้นอยู่กับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ของดินแต่ละพื้นที่โดยปริมาณน้ำ 80-100 ลิตร/ไร่
4. บำรุงธาตุอาหารรองที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของต้นส้มด้วย ยูมิกซ์ อัตราการใช้ 3-5 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 14 วัน และ โปรมิกซ์ อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 7 วัน หรือตามความเหมาะสมของสภาพต้นส้ม
5.ป้องกันการเกิดโรคและละลายฟอสฟอรัสในดินให้อยู่ในรูปที่ต้นส้มนำไปใช้ประโยชน์ได้ด้วยโดยใช้ ไตร-แท๊บ อัตราการใช้ 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นลงดินและทางใบ ทุกๆ 7 วัน ฉีดพ่นช่วงเวลาเย็นหลีกเลี่ยงแสงแดดจัด
6.ป้องการการระบาดของเพลี้ยไก่แจ้ด้วย บิว-เวอร์ และ เบนดิกซ์ อัตราการใช้บิว-เวอร์ 100 กรัม ร่วมกับ เบนดิกซ์ 5-10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นช่วงเวลาเย็นหลีกเลี่ยงแสงแดดจัด
7.หากสภาพอากาศมีอุณหภูมิที่สูงจนเกินไปทำให้ใบส้มไหม้ (sunburn) สามารถใช้ ทีเอบี ซิงค์ เพื่อป้องกันการไหม้ของใบส้มได้ โดยใช้อัตราการใช้ 5-10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
8.ต้นส้มจะมีการเจริญเติบโตที่ดี หากได้รับธาตุอาหารครบถ้วน ซึ่งนอกจากธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารอง แล้วยังต้องมีการใช้สารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช (Biostimulant) รวมถึงการใช้สารปรับปรุงโครงสร้างของดิน ได้แก่
ทีเอบี ซีวีด 45 (สารสกัดสาหร่าย) อัตราการใช้ 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน
ไบโอไลฟ์ เอ็ม40 (กรดอะมิโน) อัตราการใช้ 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน
ทีเอบี คูมิค อี พลัส (กรดฮิวมิค และกรดฟลูวิก) อัตราการใช้ 1-1.5 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร ใส่ผสมไปกับปุ๋ยในระบบการให้ปุ๋ยของต้นส้ม
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/CitrusGreeningDisease
ติดตามข้อมูลข่าวสาร สอบถามและปรึกษาปัญหาการปลูกพืชได้ที่
LINE id: @tabinnovation
โทร. 02-954-3120-6
================================================
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
LINE: http://bit.ly/TAB_LINE_OFFICIAL
Facebook: https://www.facebook.com/TABInno
YouTube Channel: http://bit.ly/LGH_YouTube
Lazada Official Store: https://www.lazada.co.th/shop/tab-innovation
================================================
25 ธันวาคม 2567
ผู้ชม 10 ครั้ง