ตัวนี้ใช้อะไรกำจัด เจออยู่บนต้นมะเขือเปราะและต้นมะเขือเทศ
ตัวนี้ใช้อะไรกำจัด เจออยู่บนต้นมะเขือเปราะและต้นมะเขือเทศ
ตอบคำถามเกษตร
คำถาม : ตัวนี้ใช้อะไรกำจัด เจออยู่บนต้นมะเขือเปราะและต้นมะเขือเทศ
คำตอบ : จากภาพที่เกษตรกรส่งเข้ามาสอบถาม พบว่าเป็นตัวอ่อนด้วงเต่ามะเขือ 28 จุด หรือ Eggplant 28-spot ladybird beetle ชื่อวิทยาศาสตร์ Henosepilachna vigintioctopunctata (F.) (Coleoptera: Coccinellidae)
ไข่รูปไข่สีเหลือง (ขนาด 1 มม. x 0.4 มม.) วางในแนวตั้งเป็นชุดๆ ละ 10-20 ฟองที่ใต้ใบ โดยระยะไข่จะฟักออกมาในเวลาประมาณ 4 วัน
ระยะตัวอ่อนมี 4 วัย ผ่านการลอกคราบ 3 ครั้งภายใน 18 วัน ตัวอ่อนวัยที่ 1, 2, 3 และ 4 ใช้เวลาในการเจริญเติบโตแต่ละวัยประมาณ 3, 5, 4 และ 4 วัน ตามลำดับ ตัวอ่อนสีเหลืองซีดอมขาวจะมีหนามแหลมยาวปลายสีเข้มที่ด้านหลัง โดยจะเติบโตจนมีขนาด 6 มม. ก่อนจะเกาะติดกับใต้ใบและพัฒนาเป็นดักแด้ ระยะนี้กินเวลาอีกประมาณ 4-8 วัน จากนั้นจึงกลายเป็นตัวเต็มวัย
ตัวอ่อนเคลื่อนที่ช้า อยู่กันเป็นกระจุก แนะนำให้ตัดบริเวณที่ตัวอ่อนอยู่ทิ้ง และทำลาย หรือนำออกไปนอกแปลงเพื่อลดการระบาดไปยังพืชต้นอื่น
ตัวเต็มวัยมีลักษณะเหมือนด้วงเต่าทองทั่วไป โดยมีปีกเป็นสีส้มคล้ำและจุดสีดำ เมื่อสังเกตุจะพบว่าผิวด้านบนปกคลุมไปด้วยขนอ่อนสั้นๆ ซึ่งทำให้ด้วงเต่าทองที่กินพืชแตกต่างจากด้วงเต่าที่กินแมลงเป็นอาหาร
ตัวเต็มวัยและตัวอ่อนจะเข้าทำลายกัดกินผิวใบ ตัวอ่อนจะกินผิวใบด้านล่างโดยปล่อยให้ผิวใบด้านบนไม่เสียหาย ในขณะที่ตัวเต็มวัยจะกินทั้งใบจนทะลุเป็นรู หากมีการเข้าทำลายมากจะทำให้ต้นกล้าตาย
ตัวเต็มวัยจะหล่นลงกับพื้นเมื่อถูกรบกวน โดยทำเป็นว่าตายแล้ว นอกจากนี้ พวกมันยังผลิตของเหลวสีเหลืองเพื่อป้องกันตัวจากผู้ล่าอีกด้วย
การป้องกันกำจัด
- แนะนำใช้ ชีวภัณฑ์ เมตาไลต์ ราดลงดินหรือปล่อยไปกับระบบน้ำ อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม ต่อไร่ เพื่อทำลายระยะไข่ หนอน และดักแด้ที่อาศัยอยู่ในดิน หลังหยดเมล็ดหรือย้ายกล้าปลูก
- ใช้ชีวภัณฑ์ เมตาไลต์ อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ร่วมกับสารจับใบ เบนดิกซ์ อัตรา 3-5 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เลือกฉีดพ่นช่วงเย็นหลีกเลี่ยงแสงแดดจัดๆ ในแปลงมีความชื้น 60% ขึ้นไปฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วันตามการระบาดของแมลง
- กำจัดวัชพืชในวงศ์ Solanaceae ออกจากบริเวณรอบ ๆ แปลงปลูก
- หมั่นสำรวจแปลง สังเกตตัวอ่อนโดยส่วนใหญ่อยู่บริเวณด้านล่าง และตัวเต็มวัยอยู่บริเวณด้านบนของใบ แต่ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป็นด้วงเต่าศัตรูพืช
- นอกจากนี้ ยังมีแมลงที่เป็นศัตรูธรรมชาติของ ด้วงเต่ามะเขือ ได้แก่ แตนเบียนไข่ Chrysonotomis sp. แตนเบียนหนอน Tetrastichus sp. และแตนเบียนหนอนและดักแด้ Pediobius foveolatus (Crawford) ซึ่งแตนเบียน P. foveolatus เป็นแตนเบียนที่จะมีบทบาทมากที่สุดในการเข้าทำลายด้วงเต่ามะเขือ โดยการเป็นปรสิตวางไข่ในตัวอ่อนของด้วงเต่ามะเขือ กัดกินเนื้อเยื่อและพัฒนากลายเป็นตัวเต็มวัย จากนั้นจะทำลายตัวอ่อนด้วงเต่ามะเขือที่อาศัยจนตายและออกจากตัวด้วงเต่ามะเขือ
ขอบคุณข้อมูล:
ภาพการเข้าทำลายจาก : https://stock.adobe.com/images/a-group-of-28-spotted-potato-ladybirds-epilachna-vigintioctopunctata-on-a-leaf/185183975
https://apps.lucidcentral.org/pppw_v10/text/web_full/entities/eggplant_28spot_ladybird_beetle_058.htm
https://www.instagram.com/njdaofficial/p/CnmXWevukZY/?img_index=1
https://apps.lucidcentral.org/pppw_v10/text/web_full/entities/eggplant_28spot_ladybird_beetle_058.htm
Nakamura, H., & SHIRATORI, S. Y. (2010). The progress of invasion of insect pest, the Mexican been beetle, Epilachna varivestis in Nagano Prefecture (Doctoral dissertation, Shinshu University Library).
23 ธันวาคม 2567
ผู้ชม 117 ครั้ง