รู้จัก ‘เพลี้ยไฟ’ แมลงตัวฉกาจที่ต้องกำจัด
รู้จัก ‘เพลี้ยไฟ’ แมลงตัวฉกาจที่ต้องกำจัด
เพลี้ยไฟ เป็นแมลงศัตรูพืชขนาดเล็กแต่สร้างปัญหาใหญ่ สามารถทำลายพืชผลได้อย่างรวดเร็ว แม้จะมีวงจรชีวิตที่สั้น แต่สามารถแพร่พันธุ์ได้เร็วมากในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูง โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนซึ่งเป็นช่วงที่เพลี้ยไฟระบาดอย่างหนัก หากพืชสวนพืชไร่ไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมอาจสร้างความเสียหายได้ ดังนั้นการทำความรู้จักเพลี้ยไฟว่าเกิดจากอะไร รวมถึงรู้วิธีป้องกันและกำจัดอย่างถูกต้อง จึงเป็นหัวใจสำคัญในการรักษาผลผลิตทางการเกษตรให้ปลอดภัย
รู้จัก ‘เพลี้ยไฟ’ แมลงตัวฉกาจที่ต้องกำจัด
ลักษณะเพลี้ยไฟ
เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ตัวอ่อนมีสีเหลือง ตัวเต็มวัยจะมีสีน้ำตาลปนเหลือง และปีกสองข้างลักษณะแคบยาว สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วและมักจะพบตามใบอ่อนของพืช
วงจรชีวิต
เพลี้ยไฟมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 30-35 วัน โดยตัวเมียจะวางไข่ประมาณ 27-28 ฟอง บนใบอ่อนที่อยู่ใกล้กับแกนกลางของใบ จากนั้นไข่จะพัฒนาเป็นตัวอ่อนและดักแด้ในระยะเวลา 17 วัน ก่อนที่จะกลายเป็นตัวเต็มวัย และมีชีวิตต่ออีกประมาณ 13 วัน
ลักษณะการเข้าทำลาย
ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยไฟจะดูดน้ำเลี้ยงจากใบ ดอก และผลอ่อนของพืช ทำให้ใบหยิกงอ ร่วง พืชเจริญเติบโตได้ช้า และผลผลิตอาจลดลง
พืชอาหารของเพลี้ยไฟ
เพลี้ยไฟสามารถทำลายพืชได้หลากหลายชนิด โดยเฉพาะพืชที่มีผลไม้หรือดอก เช่น ส้ม มะม่วง มังคุด เงาะ ทุเรียน มะลิ และข้าว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของเกษตรกร
ศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยไฟ
แม้ว่าจะมีการระบาดของเพลี้ยไฟ แต่ยังมีศัตรูตามธรรมชาติที่ช่วยควบคุมจำนวนเพลี้ยไฟได้ เช่น แมงมุมใยกลมและแมงมุมตาหกเหลี่ยม ซึ่งจะช่วยลดการแพร่ระบาดของเพลี้ยไฟในธรรมชาติ
เตือนภัยการระบาดเพลี้ยไฟ : อาการที่ควรสังเกต
การสังเกตอาการผิดปกติของพืชผลเมื่อถูกเพลี้ยไฟเข้าทำลาย จะช่วยให้เกษตรกรสามารถระบุและหยุดการระบาดได้เร็ว โดยอาการที่พบได้แก่
- ใบพืชหยิกงอ เนื่องจากถูกเพลี้ยไฟดูดน้ำเลี้ยงจากใบ
- ใบเหลืองและร่วง เนื่องจากพืชขาดน้ำและสารอาหาร
- จุดสีน้ำตาล หรือรอยดำบนใบ เกิดจากการแพร่เชื้อของเพลี้ยไฟ
- พืชเติบโตช้า ทำให้ผลผลิตลดลง
การป้องกันและวิธีกำจัดเพลี้ยไฟให้อยู่หมัด
1. สำรวจบริเวณใบอ่อนของพืชเสมอ
การสำรวจใบอ่อนของพืชในพื้นที่ปลูกเป็นประจำ เป็นวิธีที่ดีในการตรวจสอบการระบาดของเพลี้ยไฟในช่วงเริ่มต้น หากพบว่ามีการระบาดที่บริเวณใบอ่อน ควรรีบดำเนินการกำจัดทันที ก่อนที่การแพร่พันธุ์จะขยายวงกว้างไปยังส่วนอื่นของพืช
2. การใช้เมตาไลต์ชีวภัณฑ์
การใช้เมตาไลต์ (ชีวภัณฑ์ เมทาไรเซียม แอนนิโซเพลีย สายพันธุ์ เอฟเอ็ม-101) เป็นยากำจัดเพลี้ยไฟคือวิธีการกำจัดเพลี้ยไฟอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยควรฉีดพ่นในช่วงก่อนการระบาดจะช่วยลดการเจริญเติบโตของเพลี้ยไฟ
วิธีการใช้เมตาไลต์
- ฉีดพ่นเมตาไลต์ (ชีวภัณฑ์เมทาไรเซียม) อัตรา 100 กรัม ร่วมกับ มูฟ-เอ็กซ์ อัตรา 3-5 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ก่อนที่เพลี้ยไฟจะเริ่มระบาด เมื่อพืชเริ่มแตกใบอ่อน ยอดอ่อน และผลอ่อน
- ควรฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มและบริเวณดินโคนต้นในระยะเวลา 5-7 วัน
- ในกรณีที่การระบาดเริ่มรุนแรง ควรฉีดพ่นทุก 3 วัน ร่วมกับการพ่นสารป้องกันกำจัดแมลง เพื่อทำลายตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยไฟ
การควบคุมในกรณีที่เพลี้ยไฟระบาดมาก
หากพบการระบาดของเพลี้ยไฟอย่างรุนแรง ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงร่วมกับยากำจัดเพลี้ยไฟเมตาไลต์ (ชีวภัณฑ์เมทาไรเซียม) ทุก 3 วัน เพื่อควบคุมการระบาด ลดปัญหารการ ดื้อสารเคมีแมลง และช่วยป้องกันไม่ให้เพลี้ยไฟแพร่พันธุ์ไปยังพืชอื่น
ไม่อยากปวดใจเพราะเพลี้ยไฟระบาดหนัก แนะนำให้สำรวจใบของพืชทุก ๆ 2-3 วัน และฉีดพ่นชีวภัณฑ์ตามรอบที่เหมาะสม หากไม่แน่ใจสามารถสอบถามและขอคำแนะนำได้ที่ ทีเอบี อินโนเวชั่น เราทำการวิจัยและพัฒนาด้านนวัตกรรมทางการเกษตรปลอดสารพิษมานานกว่า 20 ปี ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และสิ่งแวดล้อม ปกป้องและคุ้มครองพืชผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้งานได้ง่าย ไร้สารเคมีตกค้าง สั่งซื้อและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับ TAB Innovation ได้ที่เบอร์ 0-2954-3120-3 และ LINE Official Account @tabinnovation
ข้อมูลอ้างอิง
- ลดต้นทุนและปลอดภัย หากเกษตรกรใชเการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคน 2567 จาก https://trat.doae.go.th/web/data/warn/warn399.pdf?filename=index
17 ธันวาคม 2567
ผู้ชม 64 ครั้ง