ระวัง เพลี้ยไฟพริก ในมะม่วง

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

ระวัง เพลี้ยไฟพริก ในมะม่วง


สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อน ลมกะโชกแรง ฝนตก และมีอากาศหนาวในเวลากลางคืน เตือนผู้ปลูกมะม่วง ในระยะออกดอก รับมือเพลี้ยไฟพริก
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ใช้ปากเขี่ยเนื้อเยื่อ และดูดน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืชบริเวณใบอ่อน ยอดอ่อน ตุ่มตาใบ ตุ่มตาดอก ช่อดอก การทำลายในระยะติดดอกจะทำให้ดอกร่วงไม่ติดผล หรือทำให้ติดผลน้อย ส่วนอาการที่ปรากฏบนยอดอ่อนจะทำให้ใบที่แตกใหม่ แคระแกร็น ขอบใบและปลายใบไหม้ ใบอาจร่วงตั้งแต่ยังเล็กๆ สำหรับใบที่ขนาดโตแล้ว

เพลี้ยไฟมักลงทำลายบริเวณใบอ่อนโดยเฉพาะหลังใบทำให้ใบม้วนงอ และปลายใบไหม้ ถ้าเป็นการทำลายที่ยอดจะรุนแรง ทำให้ยอดแห้งไม่แทงช่อใบ หรือช่อดอก

แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. เมื่อพืชเริ่มแตกใบอ่อน ยอดอ่อน ตุ่มตาใบ ตุ่มตาดอก ช่อดอก ใช้ เมตาไลต์ อัตรา 100 กรัมร่วมกับสารจับใบ มูฟ-เอ็กซ์ 3-5 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ก่อนพ่น ควรให้ความชื้นในแปลงประมาณ 60-65 เปอร์เซ็นต์ พ่นช่วงตอนเย็นอากาศไม่ร้อน พ่นทุก 5-7 วัน
2. ถ้าพบไม่มากให้ตัดส่วนที่แมลงระบาดไปเผาทิ้ง เพราะเพลี้ยไฟมักอยู่กันเป็นกลุ่มบริเวณส่วนยอดอ่อนของพืช
3. กรณีเพลี้ยไฟระบาดสามารถใช้ เมตาไลต์ เพื่อลดการดื้อยาของแมลง ร่วมกับการสารเคมี หรือใช้สลับกับการพ่นสารเคมีตามที่หน่วยงานราชการแนะนำ เช่น สไปนีโทแรม 12% SC, อะบาเมกติน 1.8% EC หรือ ไซแอนทรานิลิโพรล 10% OD เพื่อลดการดื้อ
***ในขณะที่ดอกบานควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีดังกล่าว เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อแมลงผสมเกสรได้

 

ขอบคุณข้อมูล :

สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร, สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สิงห์บุรี

25 ธันวาคม 2567

ผู้ชม 29 ครั้ง

Engine by shopup.com