เตือนเกษตรกร ระวัง โรคราน้ำค้าง ในผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด
เตือนเกษตรกร ระวัง โรคราน้ำค้าง ในผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด
เตือนเกษตรกร ระวัง โรคราน้ำค้าง ในผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นลง และมีฝนตกบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี ผักกาดขาว ผักกาดหัว ผักฮ่องเต้ ผักหางหงษ์ ผักกวางตุ้ง คะน้า เป็นต้น รับมือโรคราน้ำค้าง (เชื้อรา Peronospora parasitica) ซึ่งพบโรคนี้ได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช ถ้าเป็นโรคในระยะกล้า ใบเลี้ยงจะเกิดจุดแผลสีน้ำตาลทำให้ลำต้นเน่า หรือแคระแกร็น ถ้าเป็นโรคในระยะต้นโต จะพบอาการเริ่มแรกบริเวณด้านบนใบลักษณะเป็นจุดแผลสีเหลือง หรืออาจเป็นปื้นๆ สีเหลือง ถ้าสภาพอากาศชื้นโดยเฉพาะตอนเช้าเมื่อพลิกดูด้านใต้ใบมักจะพบเส้นใยเชื้อราสีขาว หรือเทาคล้ายปุยฝ้าย ถ้าโรคระบาดรุนแรงแผลจะลามขยายใหญ่ทำให้เนื้อใบเป็นสีน้ำตาล และแห้งตาย
*** ในกะหล่ำดอกและบรอกโคลี ถ้าเชื้อเข้าทำลายรุนแรงก้านดอกจะยืดและดอกอาจจะบิดเบี้ยวเสียรูปทรง
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากเชื้อสาเหตุโรค
2. ควรปลูกพืชให้มีระยะห่างพอสมควร ไม่เบียดแน่นจนเกินไป
3. ใช้ เจน-แบค สำหรับป้องกันก่อนการเกิดโรค อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้ร่วมกับสารจับใบ เบน-ดิกซ์ อัตรา 3-5 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบนต้นทุกๆ 5-7 วัน หากพบการระบาดสามารถใช้ร่วมกับสารเคมีตามที่หน่วยราชการแนะนำ เช่น เมทาแลกซิล 25% WP หรือ แมนโคเซบ 80% WP โดยพ่นให้ทั่วทั้งด้านบนใบและใต้ใบ
ขอบคุณข้อมูล: สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
17 ธันวาคม 2567
ผู้ชม 48 ครั้ง