เตือนภัยเกษตรกร ระวังหนอนหัวดำมะพร้าวในมะพร้าว

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

เตือนภัยเกษตรกร ระวังหนอนหัวดำมะพร้าวในมะพร้าว

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อน มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกมะพร้าว ในระยะยังไม่ให้ผลผลิต และระยะให้ผลผลิตแล้ว รับมือหนอนหัวดำมะพร้าว
ตัวหนอนเข้าทำลายใบมะพร้าวโดยแทะกินผิวใบบริเวณใต้ทางใบ จากนั้นจะถักใยนำมูลที่ถ่ายออกมาผสมกับเส้นใยที่สร้างขึ้น นำมาสร้างเป็นอุโมงค์คลุมลำตัวยาวตามทางใบบริเวณใต้ทางใบ ตัวหนอนอาศัยอยู่ภายในอุโมงค์ที่สร้างขึ้นและแทะกินผิวใบ โดยทั่วไปหนอนหัวดำมะพร้าวชอบทำลายใบแก่ หากการทำลายรุนแรงอาจทำให้ต้นมะพร้าวตายได้
 

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

 
 
1. วิธีเขตกรรมและวิธีกล ตัดใบที่มีหนอนหัวดำมะพร้าวนำไปเผาทำลายทันที ไม่ควรเคลื่อนย้ายต้นพันธุ์มะพร้าวหรือพืชตระกูลปาล์มมาจากแหล่งที่มีการระบาด

2. เมื่อเริ่มพบตัวหนอนหัวดำมะพร้าว ฉีดพ่น เมตาไลต์ (เมทาไรเซียม แอนนิโซเพลีย สายพันธุ์ เอฟเอ็ม-101) อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม (ฉีดพ่นในช่วงเย็น)
3. หากมีการระบาดรุนแรง ใช้เมตาไลต์ร่วมกับสารเคมีตามคำแนะนำของหน่วยงานราชการ เพื่อลดการดื้อยาของหนอน สารเคมีที่แนะนำของหน่วยงานราชการได้แก่ สารกลุ่ม5 สปินโนแสด 12% SC อัตรา 20 ml., กลุ่ม15 ลูเฟนนูรอน 5% EC อัตรา 20 ml., กลุ่ม28 คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% SC อัตรา 20 ml., กลุ่ม28 ฟลูเบนไดอาไมด์ สำหรับมะพร้าวที่มีความสูงน้อยกว่า 12 เมตร และใช้สารกลุ่ม6 อีมาเม็กตินเบนโซเอต 1.92% EC ฉีดเข้าต้นมะพร้าว อัตรา 30 ml./ต้น

 

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูล :

สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร, กรมวิชาการเกษตร,ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

10 เมษายน 2568

ผู้ชม 59 ครั้ง

Engine by shopup.com