กำจัดโรคใบไหม้ในมะเขือเทศด้วยชีวภัณฑ์อย่างไร?
กำจัดโรคใบไหม้ในมะเขือเทศด้วยชีวภัณฑ์อย่างไร?
ป้องกันโรคใบไหม้ในมะเขือเทศด้วยชีวภัณฑ์ไร้สารเคมีตกค้าง
โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ (Early Blight) เป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตของเกษตรกร โดยเฉพาะผู้ที่ปลูกมะเขือเทศเพื่อการค้า โดยมีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Phytophthora Infestans ที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม หากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธี อาจทำให้ผลผลิตเสียหายอย่างหนักและเกิดการสูญเสียรายได้ ในบทความนี้จะพาไปทำความรู้จักโรคใบไหม้คืออะไร พร้อมแนะนำแนวทางป้องกันและรักษาโรคใบไหม้ด้วยชีวภัณฑ์ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
โรคใบไหม้คืออะไร ?
โรคใบไหม้ คือโรคพืชที่พบได้ในส่วนต่าง ๆ ของมะเขือเทศ เช่น ลำต้น กิ่ง ใบ และผล โดยอาการเริ่มต้นมักปรากฏบนใบล่างเป็นแผลฉ่ำน้ำสีเขียวหม่น ต่อมาแผลจะขยายเป็นสีน้ำตาลจนใบแห้ง ในบางกรณีสามารถพบเส้นใยเชื้อราสีขาวใต้ใบบริเวณแผล ซึ่งเป็นสัญญาณการแพร่ระบาดของโรค
สาเหตุของโรคใบไหม้ในมะเขือเทศ
โรคใบไหม้คือเชื้อรา Phytophthora Infestans ที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง เช่น ช่วงฤดูฝนหรือในพื้นที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก โดยปัจจัยเสริมที่ทำให้โรคแพร่กระจายได้ง่าย ได้แก่
- การปลูกหนาแน่น : ทำให้พืชมีการระบายอากาศไม่เพียงพอ
- การให้น้ำมากเกินไป : ทำให้เกิดความชื้นสะสม
- เศษซากพืชที่ไม่ได้กำจัด : เป็นแหล่งสะสมของเชื้อรา
อาการของโรคใบไหม้ในมะเขือเทศ
- บนใบ : พบแผลวงกลมสีเขียวหม่น หรือสีน้ำตาลลักษณะฉ่ำน้ำคล้ายถูกน้ำร้อนลวก
- บนกิ่ง : กิ่งมีรอยแผลเน่า สีน้ำตาลดำ ส่งผลให้ลำต้นอ่อนแอและหักง่าย
- บนผล : ผลมะเขือเทศมีรอยแผลสีน้ำตาลดำ อาจมีลักษณะบุ๋มและมีเชื้อราสีขาวขึ้น

แนวทางการป้องกันและรักษาโรคใบไหม้ในมะเขือเทศ
การป้องกันและรักษาโรคใบไหม้ในมะเขือเทศ สามารถทำได้หลายวิธี ด้วยการหมั่นดูแลตัดส่วนที่เสียหาย และปรับปรุงสภาพแวดล้อมของแปลงปลูกให้มีความเหมาะสม รวมถึงการใช้ชีวภัณฑ์ที่ช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อราและฟื้นฟูสุขภาพของพืชได้ในระยะยาว ซึ่งเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค
1. การตรวจสอบและกำจัดใบที่เป็นโรค
การป้องกันโรคใบไหม้ที่มีประสิทธิภาพ คือการหมั่นตรวจสอบแปลงปลูกเป็นประจำ หากพบใบที่ติดโรค ควรตัดใบเหล่านั้นและกำจัดออกนอกแปลงปลูกทันที โดยควรนําไปเผาทําลายเพื่อลดปริมาณเชื้อราสะสม
2. การปรับปรุงแปลงปลูก
ปลูกพืชให้มีระยะห่างที่เหมาะสม เพื่อลดความชื้นสะสมในแปลง
ตัดแต่งใบล่างที่ไม่จำเป็น เพื่อเพิ่มการระบายอากาศ
ควบคุมปริมาณน้ำให้เหมาะสม ไม่ควรให้น้ำมากจนเกินไป
3. การรักษาโรคใบไหม้ด้วยชีวภัณฑ์
การใช้ชีวภัณฑ์เป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคใบไหม้ โดยแนะนำให้พ่นชีวภัณฑ์ที่เหมาะสม ดังนี้
ใช้ “เจน-แบค” แบคทีเรียบาซิลลัส ซับทิลิส ในอัตรา 100 กรัม ผสมกับ “เบนดิกซ์” 3 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
หรือใช้ “เจน-แบค” บาซิลลัส ซับทิลิสร่วมกับ “ไตร-แท๊บ” เชื้อไตรโคเดอร์มา ในอัตรา 50+50 กรัม และ “เบนดิกซ์” 3 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
พ่นทุก 5-7 วันในช่วงเช้าหรือเย็น เพื่อให้สารชีวภัณฑ์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
4. การจัดการเศษซากพืช
หลังการเก็บเกี่ยว ควรกำจัดเศษซากพืชที่ตกค้างในแปลงปลูก เนื่องจากเศษพืชเหล่านี้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อรา
5. การหมุนเวียนพืชปลูก
หลีกเลี่ยงการปลูกพืชชนิดเดิมในแปลงเดิม ควรปลูกพืชหมุนเวียน เช่น พืชตระกูลถั่ว เพื่อลดการสะสมของเชื้อราในดิน
ข้อดีของการใช้ชีวภัณฑ์ในการป้องกันโรคใบไหม้
- ปลอดภัยต่อสุขภาพ : ไม่มีสารเคมีตกค้าง
- เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม : ลดมลพิษในดินและน้ำ
- เพิ่มความแข็งแรงให้พืช : ช่วยฟื้นฟูสุขภาพของมะเขือเทศในระยะยาว
- ลดต้นทุนการผลิต : ลดการใช้สารเคมีที่มีราคาแพง
วิธีการควบคุมโรคใบไหม้ในมะเขือเทศด้วยชีวภัณฑ์จาก TAB Innovation
TAB Innovation พร้อมที่จะช่วยเหลือเกษตรกรในการจัดการปัญหาของโรคใบไหม้ในมะเขือเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยผลิตภัณฑ์ชีวภัณฑ์คุณภาพสูง อย่าง “เจน-แบค” เชื้อบาซิลลัส ซับทิลิส และ “ไตร-แท๊บ” เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นตัวช่วยสำคัญในการป้องกันและควบคุมเชื้อรา Phytophthora Infestans ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคใบไหม้ในทั้งมะเขือเทศและทุเรียนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ด้วยคุณสมบัติที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยเพิ่มผลผลิตให้มีคุณภาพสูง
03 กุมภาพันธ์ 2568
ผู้ชม 238 ครั้ง