ระวัง!!! เพลี้ยแป้ง ในมะละกอ
ระวัง!!! เพลี้ยแป้ง ในมะละกอ
ระวัง!!! เพลี้ยแป้ง ในมะละกอ
สภาพอากาศในช่วงนี้มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกมะละกอ ในระยะให้ผลผลิต รับมือเพลี้ยแป้ง โดยตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยง บริเวณยอดอ่อน ใบ ดอก และผล โดยมีมดช่วยพาไปยังส่วนต่างๆ ของต้นพืช การทำลายที่ดอกและผลอ่อน จะทำให้ดอกและผลหลุดร่วง หรือผลบิดเบี้ยว การทำลายที่ยอดอ่อน ใบอ่อน จะทำให้ใบและยอดหงิกงอ นอกจากนี้มูลหวานที่เพลี้ยแป้งขับออกมาจะทำให้เกิดราดำที่ผิวผล ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. กำจัดพืช และวัชพืชที่เป็นแหล่งอาศัยของเพลี้ยแป้ง
2. กำจัดมด และแหล่งอาศัยของมด ที่เป็นพาหะของเพลี้ยแป้ง
3. ก่อนการย้ายกล้ามะละกอลงหลุมปลูก ตรวจดูว่าไม่มีเพลี้ยแป้งติดมากับต้นกล้า หากพบควรนำไปทำลายนอกแปลง
4. หลังปลูกหมั่นสำรวจแปลง โดยเฉพาะแนวขอบแปลงทิศเหนือลม หรือขอบแปลงที่ติดกับแปลงอื่น ถ้าพบการระบาด ตัดส่วนที่พบไปทำลาย และพ่นสารที่แนะนำบริเวณจุดที่พบเพลี้ยแป้งและรัศมีโดยรอบ เพื่อป้องกันการกระจายตัวของเพลี้ยแป้ง
5. การใช้ชีวภัณฑ์เพื่อควบคุมการระบาดของเพลี้ยแป้ง โดยใช้เชื้อราบูเวเรีย (บิว-เวอร์) มีวิธีการใช้ดังนี้
- อัตราการใช้ 80-100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบเบนดิกซ์ หรือมูฟ-เอ็กซ์ อัตรา 3-5 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
- เพิ่มความชื้นในแปลงให้มีความชื้นมากกว่า 60% ขึ้นไป
- ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้นพืชทั้งบริเวณใต้ใบ บนใบและลำต้น
- ควรฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็น หลีกเลี่ยงช่วงเวลาที่มีแดดจัด
- ควรฉีดพ่นให้ บิว-เวอร์ สัมผัสกับเพลี้ยแป้งโดยตรง
- ควรฉีดพ่นทุกๆ 3-5วัน และควรใช้อย่างต่อเนื่องติดต่อกัน 3-5 ครั้ง
สอบถามข้อมูล/สั่งซื้อสินค้า
LINE id: @tabinnovation
โทร. 02-954-3120-6
ขอบคุณข้อมูล: สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร, cabi.org, guaminsects.net, newfoodmagazine.com, สถาบันวิจัยการเกษตรไต้หวัน, en.krishakjagat.org
27 พฤศจิกายน 2567
ผู้ชม 118 ครั้ง