หนอนบุ้งปกขาว ระบาดป้องกันกำจัดอย่างไร
หนอนบุ้งปกขาว ระบาดป้องกันกำจัดอย่างไร
หนอนบุ้งปกขาว ระบาด!! ป้องกันกำจัดอย่างไร
ช่วงนี้เกษตรหรือผู้ปลูกพืชหลายท่านประสบปัญหาหนอนบุ้งกัดกินต้นพืชที่พบมาก คือ หนอนบุ้งปกขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Clethrogyna turbata Butler หรือ Orgyia turbata ซึ่งตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน เพศผู้มีปีกบินได้ แต่เพศเมียมีรูปร้างคล้ายหนอนตัวป้อมๆ มีขาคลานได้ แต่มีปีกลดรูปบินไม่ได้ ลักษณะคล้ายกับตัวเต็มวัยหนอนไหม เพศเมียจะรอให้เพศผู้บินมาผสมพันธุ์เท่านั้นเนื่องจากบินไม่ได้ การเข้าทำลายพืชโดยหนอนสามารถเข้าทำลายกัดกินพืชได้หลายชนิด ตั้งแต่พืชผัก ไม้ผล ไปจนถึงพืชดอกเช่น กุหลาบ ข้าวโพด สัก ไผ่ โสน บัวหลวง มะม่วง ทุเรียน ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วฝักยาว เป็นต้น หนอนบุ้งกัดกินใบได้ตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนไปจนถึงตัวแก่ นอกจากนั้นเมื่อสัมผัสโดนร่างกายอาจทำให้เกิดอาการคัน เป็นผื่นแดง
การป้องกันกำจัดสามารถใช้ชีวภัณฑ์ ทีเอบี บีทีเอ (บาซิลลัส ทูริงเยนซิส ซับสปีชีส์ ไอซาไว) Bacillus thuringiensis subsp. aizawai 32,000 IU/mg 4% WP
ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนถูกต้องกับกรมวิชาการเกษตร เลขทะเบียน 665-2566 ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูได้หลายชนิด
การป้องกันกำจัด โดยใช้ ทีเอบี บีทีเอ
1. เชื้อบีทีจะมีผลต่อตัวหนอนเมื่อหนอนกินเข้าไป จึงต้องพ่นเชื้อให้ครอบคลุมทุกส่วนของพืชที่หนอนกินเป็นอาหาร
2. การใช้เชื้อบีทีในระยะที่หนอนอ่อนแอหรือเพิ่งฟักจากไข่ สามารถทำลายหนอนได้ดีกว่า การใช้กับหนอนที่แข็งแรงหรืออายุมากแล้ว เมื่อพบการระบาดของหนอน ควรพ่นเชื้อบีทีอัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นติดต่อกัน 3 ครั้ง ทุก 3-4 วัน ปรับหัวฉีเครื่องพ่นสาร ให้ละอองเล็กที่สุด จะช่วยให้ละอองสารเกาะผิวใบได้ดี เป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมแมลง
3. ควรผสมสารจับใบ เบนดิกซ์ อัตรา 3 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดหนอน
4. ควรฉีดพ่นให้ทั่วทั้งหน้าและหลังใบ เนื่องจากหนอนสามารถหลบไปอยู่บริเวณใบพืชที่ไม่สัมผัสกับสาร ซึ่งทำให้หนอนไม่ตายและยังเข้าทำลายพืชได้
นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ ดูเพิ่มเติมจาก การใช้ชีวภัณฑ์ ทีเอบี บีทีเอ ผสมร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ << Click
กลไกการเข้าทำลายของ ทีเอบี บีทีเอ วงจรการเข้าทำลายแมลงของ ทีเอบี บีทีเอ Bacillus thuringiensis << Click
ข้อมูลอ้างอิงจาก
โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ ; พิสุทธิ์ เอกอำนวย
10 กันยายน 2567
ผู้ชม 251 ครั้ง