รู้ไหม ไคโตซาน ช่วยเพิ่มความต้านทานโรคไวรัสในพืชอย่างไร?
รู้ไหม ไคโตซาน ช่วยเพิ่มความต้านทานโรคไวรัสในพืชอย่างไร?
ไคโตซาน ช่วยเพิ่มความต้านทานโรคไวรัสในพืชอย่างไร?
ไคโตซาน เรามักเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ่อย ส่วนใหญ่เกษตรกรมักใช้ในการช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตในพืช นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบว่าไคโตซานสามารถลดไวรัสในพืชได้ด้วยโดยไวรัสเป็นปัญหาใหญ่ในพืช ไวรัสในพืชถือเป็นเชื้อก่อโรคที่สำคัญที่สุดชนิดหนึ่งที่เป็นอันตรายต่อการเกษตร พบเห็นการติดไวรัสบ่อยๆ ในพืชตระกูลแตง พริก มะเขือ ซึ่งพืชที่มีการติดไวรัสแล้วมักมีการแก้ไขได้ยาก
มีหลายงานวิจัยที่ทำการทดสอบ การใช้ไคโตซานในการควบคุมไวรัส เช่น
- Alfalfa mosaic virus (AMV) ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในพืชวงศ์ Solanaceae ที่มีความสำคัญทางการเกษตร เช่น พริก มะเขือ มะเขือเทศ มันฝรั่ง และยาสูบ
- วงศ์ Leguminosae เช่น ถั่วต่างๆ และไม้ยืนต้น เช่น ปอเทือง โสน จามจุรี หางนกยูงฝรั่ง นนทรี ไมยราพยักษ์ มะขาม
การวิจัยพบว่าการใช้นาโนไคโตซานในพริกทั้งก่อนการติดเชื้อไวรัส 24 ชั่วโมง และหลังการติดเชื้อไวรัส 24 ชั่วโมง นาโนไคโตซานสามารถลดอาการและการติดเชื้อไวรัสในพริกลงได้ โดยการฉีดพ่นนาโนไคโตซานความเข้มข้น 400 มก./ล. ก่อนการติดเชื้อไวรัสสามารถลดอาการโรคได้ 60% และการฉีดพ่นหลังการติดเชื้อไวรัสสามารถลดอาการโรคได้ 90%
การใช้นาโนไคโตซานทางใบ
- ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของพืชได้
- ช่วยให้พืชพริกทนต่อการติดเชื้อ AMV โดยอนุภาคนาโนไคโตซานมีศักยภาพในการเกาะติดกับอนุภาคไวรัส
- ยับยั้งการจำลองแบบของไวรัสภายในเซลล์ที่ติดเชื้อ
- เพิ่มภูมิคุ้มกันของพืช ทำให้ไวรัสไม่สามารถบุกรุกเซลล์พืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของต้นพริก โดยทำให้ความสูงของต้น น้ำหนักสด น้ำหนักแห้งของฝัก กรัมและจำนวนฝักต่อต้นเพิ่มขึ้น
การใช้นาโนไคโตซานควบคุมโรคไวรัสใบด่างเหลืองถั่ว Bean yellow mosaic virus (BYMV) ในต้นถั่วปากอ้า
การศึกษาระบุว่าการฉีดพ่นนาโนไคโตซานความเข้มข้น 300 มก./ล. หลังการติดดชื้อไวรัส 48 ชั่วโมง สามารถยับยั้งการติดเชื้อและการสะสมของไวรัสได้อย่างสมบูรณ์ ระดับไวรัสในเนื้อเยื่อพืชลดลงถึง 100% ส่งผลต่อความสมบูรณ์ของอนุภาคไวรัส โดยทำให้การสร้างอนุภาคไวรัส BYMV บกพร่องและไม่สมบูรณ์ ทำให้ไม่สามารถจำลองและสะสมในเนื้อเยื่อพืชได้ และนอกจากนั้น ไคโตซาน ยังช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของพืช ความยาวของยอดและความเขียวใบได้อีกด้วย
การใช้ ไคโตซาน เป็นสารต้านไวรัสที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอาจเป็นอีกวิธีหนึ่งในการกระตุ้นให้พืชสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโดยกำเนิด โดย ไคโตซาน ถือเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ปลอดภัย เป็นมิตรกับผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายในธรรมชาติได้ง่าย
ข้อมูลจาก
El Gamal AY, Atia MM, El Sayed T, Abou-Zaid MI, Tohamy MR. Antiviral activity of chitosan nanoparticles for controlling plant-infecting viruses. S Afr J Sci. 2022.
El-Ganainy, S. M., Soliman, A. M., Ismail, A. M., Sattar, M. N., Farroh, K. Y., & Shafie, R. M. (2023). Antiviral activity of chitosan nanoparticles and chitosan silver nanocomposites against alfalfa mosaic virus. Polymers, 15(13), 2961.
26 กรกฎาคม 2567
ผู้ชม 442 ครั้ง