การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลต่อมังคุดอย่างไร
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลต่อมังคุดอย่างไร
ภาวะโลกร้อนส่งผลต่อการปลูกมังคุดอย่างไรบ้าง?
ปัญหาการผลิตมังคุดของไทย พบว่าสภาพภูมิอากาศในแต่ละปีไม่มีความแน่นอน มีผลต่อการออกดอกติดผลของมังคุด จึงทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่แน่นอนและมีคุณภาพต่ำผลิตผลสดในฤดูกาลมีการแข่งขันกับผลไม้ชนิดอื่น ปัญหาผลผลิตล้นตลาดในบางปี อันเนื่องมาจากความแปรปรวนของภูมิอากาศ นอกจากนี้สภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนมากทำให้มังคุดไม่ออกดอกหรือออกดอกช้า และมีโอกาสเกิดเนื้อแก้วและยางไหลในผลได้มาก ซึ่งภูมิอากาศเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลในการเกษตรของพื้นที่เขตร้อนผลผลิตพืชแตกต่างกันในแต่ละปี จากปริมาณน้ำที่ได้รับ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีผลกระทบต่อรอบชีพจักรของพืช โดยเฉพาะแหล่งน้ำ และพื้นที่ที่มีสภาพน้ำท่วมหรือภัยแล้ง การเจริญเติบโตของมังคุดในแต่ละพื้นที่ของภูมิภาคของประเทศไทย มีการเจริญเติบโต และการออกดอกแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก ๆ 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก ในส่วนของปัจจัยภายใน ได้แก่ความสมบูรณ์ของต้น สมดุลของธาตุอาหารและฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและการออกดอกเป็นผลมาจากการควบคุมจากปัจจัยภายนอก ซึ่งปัจจัยภายนอกบางปัจจัยสามารถควบคุมได้ เช่น การจัดการสวนด้านต่างๆ ในขณะที่ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมได้
โดยเฉพาะอิทธิพลของสภาพแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนไป เช่น ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิสูง หรือต่ำมากเกินไป หรือช่วงอุณหภูมิกลางวัน และกลางคืนแตกต่างกันมากเกินไป จะมีผลต่อการเจริญเติบโตการออกดอก และคุณภาพของผลผลิต รวมถึงเป็นการกระตุ้นให้เกิดการทำลายของโรคพืชและแมลงศัตรูที่ผิดปกติไป ความแปรปรวนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นสิ่งสำคัญในการเกษตร เกิดความแปรปรวนทางอุทกวิทยาเพิ่มขึ้น และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะมีผลกระทบอย่างยิ่งในเรื่องของความต้องการน้ำในระดับภูมิภาค ระดับท้องถิ่น และระดับโลก เกิดความไม่แน่นอนในการจัดการทรัพยากรน้ำ และเพิ่มความถี่ มากยิ่งขึ้นทุกปี เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้เกิดน้ำท่วม และภัยแล้ง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชบนพื้นโลก
ผลกระทบของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงต่อฤดูกาลเก็บเกี่ยวมังคุด
- ฝนฟ้าไม่แน่นอน อุณหภูมิไม่คงที่
ทำให้ช่วงเวลาการออกดอกติดผลของมังคุดเปลี่ยนไป ส่งผลต่อทั้งปริมาณและคุณภาพของผลผลิต
- ออกดอกไม่แน่นอน
สภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนมาก ทำให้มังคุดไม่ออกดอกหรือออกดอกช้า และมีโอกาสเกิดเนื้อแก้วและยางไหลในผลได้มาก ส่งผลต่อคุณภาพของผลผลิต
- คุณภาพผลผลิตลดลง
อากาศร้อนจัดและสภาพอากาศที่ไม่ดีต่อพืช ส่งผลต่อระยะเวลาและคุณภาพการพัฒนาของผลมังคุด ไม่เพียงแต่ปริมาณผลผลิตที่ลดลง แต่รสชาติ เนื้อสัมผัสและมูลค่าของผลมังคุดก็ลดลงด้วย
ภัยคุกคามจากศัตรูพืชและโรคมังคุด
สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลกระทบต่อมังคุด ไม่เพียงแค่ฤดูกาลเก็บเกี่ยว แต่ยังส่งเสริมการระบาดของแมลงศัตรูพืชและโรคพืชด้วย อุณหภูมิที่สูงขึ้นและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เป็นสภาวะเหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของศัตรูพืช นอกจากนี้ สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงยังทำให้ต้นมังคุดอ่อนแอ เสี่ยงต่อการเกิดโรคและแมลงรบกวนได้ง่าย
- แมลงศัตรูพืช : อากาศเปลี่ยนแปลงอาจทำให้ศัตรูพืชอย่าง "เพลี้ยไฟ" เพิ่มมากขึ้นศัตรูพืชเหล่านี้สร้างความเสียหายต่อผลมังคุด ลดผลผลิตและคุณภาพ
- โรคมังคุด : สภาพอากาศร้อนชื้น เหมาะแก่การแพร่ระบาดของเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและผลผลิตของมังคุด ฝนตกหนักและอากาศชื้นเป็นเวลานาน ยิ่งเอื้อต่อการเกิดโรคเหล่านี้
รู้หรือไม่?
01 การผลิตมังคุดนอกฤดูในภาคใต้จะทำการเตรียมต้นมังคุดตั้งแต่เดือน มกราคม - มิถุนายน และทำการชักนำการออกดอกในช่วงเดือน กรกฎาคมเพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ในช่วงปลายเดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์
ซึ่งในช่วงนี้ไม่มีการผลิตไม้ผลออกมาจำหน่ายในท้องตลาด จึงน่าจะทำให้สามารถขายผลผลิตมังคุดได้ราคาสูง ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่ารายได้แก่เกษตรกร
02 สภาพภูมิอากาศแปรปรวนประกอบกับการจัดการการผลิตที่ไม่เหมาะสม จึงมีปัญหา การออกดอกน้อยหรือไม่ออกดอกในบางปี หรือออกดอกช้า ผลแก่ในช่วงฝนตกชุก มีปัญหา เนื้อแก้วยางไหลและเกิดการระบาดของโรคแมลงศัตรูมังคุดที่สำคัญ เช่น เพลี้ยไฟ ไรแดง
03 สภาพพื้นที่ในประเทศไทย โดยเฉพาะภาคใต้เหมาะสมในการปลูกมังคุด เนื่องจากมังคุดเป็นพืชที่มีอายุยืนนาน ดูแลรักษาง่าย โรคแมลงมีน้อยเกษตรกรเป็นเจ้าของที่ดิน และมีเอกสารสิทธิ์ในการถือครอง ปัจจัยการผลิตมีเพียงพอ
และหาซื้อได้ง่าย ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศรวดเร็ว องค์กรเกษตรกรมีความเข้มแข็ง ทำให้สามารถต่อรองราคาได้ มังคุดจึงเหมาะสมที่จะเป็นพืชไม้ผลที่ได้รับการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเพื่อเพิ่มรายได้ต่อไป
การใช้อัมเบรลล่า มีประโยชน์อย่างไรกับพืชอย่างไร
1.ช่วยปกป้องพืช จากรังสีอินฟราเรด และแสงอุลตร้าไวโอเลตที่เป็นอันตรายต่อพืช โดยการสะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์
2.ช่วยลดอุณหภูมิในพืช ได้ถึง 4-6°C ทำให้พืชเย็นลง ส่งผลให้ปากใบเปิดอยู่ได้นานหลายชั่วโมงต่อวัน พืชจึงได้รับคาร์บอนไดออกไซด์ เข้าไปใช้ในการสังเคราะห์แสงได้มากขึ้น
3.มีคุณสมบัติช่วยกระจายแสง ช่วยให้ใบพืชได้รับแสงที่มีประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ ส่งผลดีต่อการดูดซับแสงของพืช โดยเฉพาะแสงที่สำคัญต่อการสังเคราะห์แสงของพืช
4.ช่วยป้องกันความเครียดพืชจากความร้อน (Heat Stress) ที่เป็นสาเหตุทำให้ผลผลิตลดลง หรือคุณภาพของผลผลิตต่ำ เนื่องจากอากาศที่ร้อนจัดส่งผลต่อการทำงานและการเจริญเติบโตของพืช
5.ช่วยป้องกันอาการไหม้แดด (Sunburn) ที่เป็นสาเหตุทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหายจากแผลไหม้แดด และอาจทำให้ต้นพืชตายได้
26 กรกฎาคม 2567
ผู้ชม 214 ครั้ง