อัมเบรลล่า คืออะไร? มีประโยชน์กับพืชอย่างไร?

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

อัมเบรลล่า
ใช้ในสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง เช่น

อาการใบไหม้ (SUNBURN), ความเครียดพืชที่เกิดจากความร้อน (HEAT STRESS)

และลดการเข้าทำลายของโรคพืชและแมลงศัตรูพืช

คำถาม - ตอบ อัมเบรลล่า

1. อัมเบรลล่า คืออะไร

ตอบ คือสารคาโอลินสูตรพิเศษที่มีความสะท้อนแสงและความละเอียดสูงได้มีการทดลองในงานทดลองใช้ชื่อว่า Kaolin clay based particle film มีประโยชน์มากกับพืชในขณะนี้ ที่มีภาวะโลกร้อน อัมเบรลล่า เป็นสารธรรมชาติที่ไม่มีพิษ (Kaolin based Particle Films : A New Technology for Agriculture) ใช้ได้ในการผลิตพืชเกษตรอินทรีย์

2. อัมเบรลล่า มีประโยชน์อย่างไรกับพืช ขณะที่อยู่ในภาวะโลกร้อน (Climate change)

ตอบ 1. ช่วยปกป้องพืช จากรังสีอินฟราเรด และแสงอุลตร้าไวโอเลตที่เป็นอันตรายต่อพืชโดยการสะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์
2. ช่วยลดอุณหภูมิในพืช ได้ถึง 4-6°C ทำ ให้พืชเย็นลง ส่งผลให้ปากใบเปิดอยู่ได้นานหลายชั่วโมงต่อวัน พืชจึงได้รับคาร์บอนไดออกไซด์ เข้าไปใช้ในการสังเคราะห์แสงได้มากขึ้น
3. มีคุณสมบัติช่วยกระจายแสง ช่วยให้ใบพืชได้รับแสงที่มีประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ ส่งผลดีต่อการดูดซับแสงของพืช โดยเฉพาะแสงที่สำคัญต่อการสังเคราะห์แสงของพืช
4. ช่วยป้องกันความเครียดพืชจากความร้อน (Heat Stress) ที่เป็นสาเหตุทำให้ผลผลิตลดลง หรือคุณภาพของผลผลิตต่ำ เนื่องจากอากาศที่ร้อนจัดส่งผลต่อการทำงานและการเจริญเติบโตของพืช
5. ช่วยป้องกันอาการไหม้แดด (Sunburn) ที่เป็นสาเหตุทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหายจากแผลไหม้แดด และอาจทำให้ต้นพืชตายได้

3. อัมเบรลล่า ช่วยลดการทำลายของศัตรูพืชได้หรือไม่

ตอบ อัมเบรลล่า สามารถลดการเข้าทำลายของศัตรูพืช และได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในเกษตรอินทรีย์ได้มีการยอมรับจากหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนนาดา สเปน ฝรั่งเศส เบลเยียม กรีซ ฮังการี คอสตาริกา ฮอนดูรัส บราซิล เม็กซิโก ออสเตรเลีย เป็นต้น

4. อัมเบรลล่า ใช้ป้องกันกำจัดแมลงชนิดใดบ้าง

ตอบ ได้มีการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในเกษตรอินทรีย์ในหลายประเทศในการใช้ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชและโรคพืชดังตัวอย่างต่อไปนี้

ใช้ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช (Controlled) ได้ดังนี้
1. เพลี้ยกระโดด หรือเพลี้ยจักจั่นในวงศ์ Cicadellidae ในลำดับ Homoptera เช่น
  1.1. เพลี้ยจักจั่นหลังขาว Yamatotettix flavovitatus
  1.2. เพลี้ยจักจั่นลายจุดสีน้ำตาล Mutsumuratettix hirogpyhicus
  1.3. เพลี้ยจักจั่นสีเขียว Nephotettix virescens
  1.4. เพลี้ยจักจั่นมะม่วง Idioscopus clypealis
  1.5. เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล Nilaparvata lugens
  1.6. เพลี้ยกระโดดหลังขาว Sogatella furcifera
2. แมลงวันผลไม้
3. หนอนกระทู้ และหนอนผีเสื้ออื่นๆ บางชนิด
4. แมลงวันหนอนชอนใบ
ใช้ลดการเข้าทำลายแมลงศัตรูพืช (Suppressed) ได้ดังนี้
1. เพลี้ยไฟ
2. เพลี้ยอ่อน
3. ด้วงงวง
4. ด้วงกว่าง
5. หนอนผีเสื้อกลางคืน

5. ข้อดีของการเลือกใช้ อัมเบรลล่า

ตอบ 1. ใช้ได้กับพืชหลากหลายชนิด เช่น ไม้ผล ไม้ยืนต้น เช่น ทุเรียน ส้ม มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง ฝรั่ง ชมพู่ องุ่น แตงโม แคนตาลูป สับปะรด ฯลฯ
พืชผัก เช่น ผักคะน้า พริก กะหล่ำปลี มะเขือเทศ ฯลฯ
ไม้ดอก ไม้ประดับ เช่น กล้วยไม้ กุหลาบ มะลิ พุดซ้อน ฯลฯ
2. ราคาถูก มีประสิทธิภาพปกป้องพืชสูง
3. ใช้ร่วมกับสารกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยได้

6. เมื่อเราพ่น อัมเบรลล่า ในปริมาณมากๆจนสามารถมองเห็นฟิล์มสีขาวได้อย่างชัดเจน ฟิล์มสีขาวนี้จะไปบดบังแสงแดดที่พืชควรได้รับหรือเป็นอันตรายต่อการสังเคราะห์แสงของพืชหรือไม่

ตอบ  ไม่ เพราะการที่เราฉีดพ่นอัมเบรลล่าในพืชตัวฟิล์มสีขาวที่เคลือบพืชจนมองเห็นได้อย่างชัดเจนนั้น จะช่วยให้แสงที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงทะลุผ่านได้ถึง 90-98% ในขณะที่คุณสมบัติในการสะท้อนแสงของอัมเบรลล่าจะช่วยลดการสะสมความร้อน รังสีอัลตราไวโอเลต และความร้อนที่ทำลายเนื้อเยื่อพืช คุณสมบัติเหล่านี้ส่งผลต่อการสังเคราะห์แสงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

7. อัมเบรลล่า แบบ Hydrophilic(ชอบน้ำ) และ Hydrophobic(ไม่ชอบน้ำ)ต่างกันอย่างไร

ตอบ Hydrophilic มีคุณสมบัติชอบน้ำ หมายความว่าสามารถดูดซับและกักเก็บน้ำไว้บนพื้นผิวของพืชได้ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานในสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง เนื่องจากช่วยลดการสูญเสียน้ำจากการระเหย และรักษาความชุ่มชื้นในใบพืช
Hydrophobic มีคุณสมบัติไม่ชอบน้ำ หมายความว่าไม่สามารถดูดซับน้ำได้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานในสภาพอากาศเปียกชื้น เนื่องจากช่วยป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรียที่เจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่เปียกชื้น

8. อัมเบรลล่า สามารถใช้ในขณะที่ฝนตก หรือฤดูฝนได้หรือไม่

ตอบ ได้ แต่ต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำฝนดังนี้
ฝนตกหนัก : ควรพ่นอัมเบรลล่าซ้ำใหม่อีกครั้งเมื่อฝนหยุดเพราะฝนที่ตกหนักจะชะล้างอัมเบรลล่าออกไปหมด เนื่องจากอัมเบรลล่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่สลายได้ตามธรรมชาติไม่ตกค้างในสิ่งแวดล้อม
ฝนตกปานกลาง : สามารถใช้อัมเบรลล่าได้ แต่ควรเพิ่มปริมาณการใช้ให้มากกว่าปกติ
ฝนตกน้อย : สามารถใช้อัมเบรลล่าได้ตามปกติ

9. อัมเบรลล่า สามารถใช้ในขณะที่อุณหภูมิต่ำลง หรือในช่วงที่อากาศเย็นได้หรือไม่

ตอบ ได้ อัมเบรลล่า เป็นดินขาวที่มีอนุภาคขนาดเล็ก ช่วยให้กระจายตัวได้ดี เหมาะสำหรับการพ่นบนพืชในทุกช่วงอากาศ แต่หากลมแรงอาจทำให้ อัมเบรลล่ากระจายตัวไม่ทั่วถึงควรเพิ่มปริมาณการใช้ให้มากกว่าปกติ เพื่อคงประสิทธิภาพที่ดีของอัมเบรลล่า

10. อัตราการใช้ อัมเบรลล่า แบบเจือจางและแบบเข้มข้น แตกต่างกันอย่างไร

ตอบ อัตราการใช้
- ใช้แบบเจือจาง 25-40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
ใช้เพื่อปกป้องพืชจากแสงแดดเพียงอย่างเดียว เช่น อาการไหม้แดด (Sunburn) และความเครียดจากความร้อน (Heat Stress) รวมไปถึงการอำพรางพืช ทำให้แมลงจำพืชไม่ได้ และลดการปลดปล่อยฮอร์โมนพืชที่ดึงดูดให้แมลงเข้าใกล้ทำให้แมลงไม่สามารถระบุตำแหน่งแหล่งอาหารได้
- ใช้แบบเข้มข้น 50-100 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร
ใช้เพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชในไร่ร่วมด้วย (รบกวนแมลงทำให้แมลงคัน หรือดูดน้ำในตัวแมลงทำให้แมลงแห้งตาย)
*ปริมาณการใช้ขึ้นอยู่กับความต้องการและปัญหาของพืชจากแสงแดดและศัตรูพืช

11. แสงยูวีและแสงอินฟราเรดส่งผลเสียอย่างไรกับพืช และเมื่อพ่น "อัมเบรลล่า"จะช่วยลดความเสียหายนี้อย่างไรบ้าง

ตอบ แสงยูวีส่งผลเสียต่อพืช ดังนี้
ทำลาย DNA : แสง UV-B ในปริมาณมากสามารถทำลาย DNA ของเซลล์พืชส่งผลต่อการเจริญเติบโตและอาจนำไปสู่การตายของเซลล์
ยับยั้งการสังเคราะห์แสง : แสง UV-B มากเกินไปสามารถยับยั้งการสังเคราะห์แสงทำให้พืชเจริญเติบโตช้าลง
ทำให้ใบไหม้ : แสง UV-B ที่เข้มข้นสูงสามารถทำให้ใบไม้ไหม้และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
ลดผลผลิต : ความเสียหายจากแสง UV ต่อพืชสามารถลดผลผลิตลง

แสงอินฟราเรดส่งผลเสียต่อพืช ดังนี้
ความร้อนสูงเกินไป : จะเพิ่มอุณหภูมิของใบพืช ทำให้ใบไม้ไหม้และตาย
การยับยั้งการสังเคราะห์แสง : ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา : แสงอินฟราเรด อาจส่งผลต่อฮอร์โมนพืช และกระบวนการทางสรีรวิทยาอื่นๆ ส่งผลเสียต่อสุขภาพของพืชโดยรวม

เมื่อพ่นอัมเบรลล่าลงไปจะช่วยปกป้องพืช ดังนี้
1. ลดอุณหภูมิใบ : อัมเบรลล่าช่วยลดอุณหภูมิใบพืชลงโดยเฉพาะในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด การลดอุณหภูมิใบ ช่วยลดการคายน้ำของพืชและช่วยให้พืชสังเคราะห์แสงได้ดีขึ้น
2. ช่วยให้พืชทนต่อสภาวะเครียด : อัมเบรลล่าช่วยลดความเครียดของพืชจากสภาวะแวดล้อมเช่น ความร้อน แสงแดดจัด ความแห้งแล้ง การลดความเครียดช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดีขึ้น

12. อัมเบรลล่า มีผลต่อการสังเคราะห์แสงที่ดีของพืชอย่างไร

ตอบ อัมเบรลล่าช่วยสะท้อนแสง ไปยังใบพืชมากขึ้น ช่วยให้พืชได้รับแสงสว่างเพิ่มเติม โดยเฉพาะแสงสีน้ำเงินและสีแดง ซึ่งมีความสำคัญต่อการสังเคราะห์แสง พืชต้องการแสงที่มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 400-700 นาโนเมตร สำหรับการสังเคราะห์แสง
แสงในช่วงนี้เรียกว่า แสงที่ตามองเห็น (visible light) ประกอบด้วยแสงสีต่างๆ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชแตกต่างกันดังนี้
แสงสีน้ำเงิน : ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของใบและราก
แสงสีแดง : ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลำต้นและดอก
แสงสีเขียว : มีผลต่อพืชน้อยที่สุด แต่แสงมีความจำเป็นสำหรับการสังเคราะห์แสงเช่นกัน

13. อัมเบรลล่า สามารถใช้โดรนพ่นได้หรือไม่

ตอบ สามารถใช้ได้ อัตราการใช้ขึ้นอยู่กับผู้ใช้โดรน

14. อัมเบรลล่า สามารถใช้ร่วมกับชีวภัณฑ์เกษตรอื่นๆได้หรือไม่

ตอบ สามารถใช้ได้ในอัตราการใช้ตามฉลากของชีวภัณฑ์ ยกตัวอย่างชีวภัณฑ์ที่มีงานวิจัยรองรับ เช่น
1.เชื้อราบิวเวอเรีย Beauveria bassiana
2.เชื้อราเมธาไรเซียม Metarhizium anisopliae
3.เชื้อแบคทีเรียบีที (Bt) Bacillus thuringiensis
การใช้ชีวภัณฑ์ดังกล่าวกับ "อัมเบรลล่า" จะเป็นสารเสริมฤทธิ์ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชให้มีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้แต่ละตัวแยกกัน โดยอัมเบรลล่าจะเป็นตัวที่ทำให้ชีวภัณฑ์ดังกล่าวออกฤทธิ์กับแมลงศัตรูพืชเร็วขึ้น

15. หากสภาพอากาศที่ร้อน แห้งแล้ง และขาดน้ำ การใช้ "อัมเบรลล่า" จะช่วยในเรื่องใด

ตอบ การใช้อัมเบรลล่าช่วยลดอุณหภูมิใบ ลดความต้องการน้ำของต้นไม้ (ช่วยประหยัดน้ำ) เนื่องจาก อัมเบรลล่า จะช่วยควบคุมไม่ให้พืชคายน้ำออกมามากเกินไป ช่วยลดความเครียดพืชจากการขาดน้ำ และอุณภูมิที่สูงขึ้น ส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพผล และยืดอายุการเก็บรักษาหลังเก็บเกี่ยว

18 มิถุนายน 2567

ผู้ชม 266 ครั้ง

Engine by shopup.com