โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน

โดยส่วนใหญ่แล้วอาการ ของ โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน จะพบได้ในทุกระยะการเติบโตของทุเรียน ปลายใบจะเหี่ยวลู่ลง ปลายกิ่งก็จะมีสีซีด เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นก็จะหลุดร่วง ส่วนรากฝอยก็จะพบว่ามีเปลือกร่อน เปื่อยยุ่น เมื่อดึงเบาๆ จะขาดออกจากกันได้ง่าย ถ้ามีอาการรุนแรงมากจะจะลามไปยังรากแขนงและโคนต้น

อาการที่ลำต้น หากเป็นโรครากเน่าโคนเน่า บริเวณผิวเปลือกของลำต้น จะมองเห็นหยดน้ำยางสีน้ำตาลแดงไหลปูดออกมาจากรอยแผลแตกของลำต้น เมื่อเปิดเปลือกของลำต้นออกจะเห็นเนื้อเยื่อเปลือกถูกทำลายมีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลเข้ม โดยหากมีอาการมาก จะทำให้ต้นโทรม และมีการยื่นต้นตายได้ในที่สุด



แนวทางการป้องกันกำจัด
 ป้องกันอย่าให้น้ำขังหรือแฉะที่บริเวณโคนต้น เพราะเป็นสาเหตุชักนำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าได้ง่าย
 ปรับสภาพดินปลูกให้โปร่ง โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อทำให้การระบายน้ำอากาศดี ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก และแสงแดดส่องเข้ามาถึงโคนต้น

ใช้ ไตร-แท๊บ รองก้นหลุมก่อนการปลูก อัตรา 10-20 กรัม ต่อหลุม หรือผสมกับปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก รองก้นหลุม อัตรา 50-100 กรัม ต่อต้น สำหรับทุเรียนปลูกใหม่

ใช้ ไตร-แท๊บ ฉีดพ่นลงดิน ก่อนการระบาด อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-10 วัน และเมื่อเริ่มพบการระบาด พ่นทุก 3-5 วัน

ใช้ เจน-แบค ฉีดพ่นให้ทั่วลำต้นและทรงพุ่ม ก่อนการระบาด อัตรา100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 10-15 วัน และเมื่อเริ่มพบการระบาด พ่นทุก 5-7 วัน

เมื่อเกิดอาการลำต้นเน่า ให้ถากเปลือกออก ใช้ ไตร-แท๊บ อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 1-2 ลิตร ทาที่แผล สามารถใช้ผสมร่วมกับสารเมตาแลกซิลได้ ทาซ้ำถ้ายังพบการฉ่ำน้ำบริเวณแผล

ไตร-แท๊บ คือ ไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียลลัม สายพันธุ์ เอ็นเอสที-009 ซึ่งเป็น ไตรโคเดอร์มาผง ที่ช่วยกำจัดเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคทางดิน ปลอดภัย ทั้งต่อผู้ใช้ ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม

เจน-แบค บาซิลลัสซับทิลิส สายพันธุ์ บีเอ็ม-01 กำจัดได้ทั้งเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคพืช ปลอดภัยต่อผู้ใช้ ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่พืชที่ปลูก

24 กรกฎาคม 2567

ผู้ชม 325 ครั้ง

Engine by shopup.com