ควบคุมด้วงหนวดยาวอ้อยไม่ใช้สารเคมี
ควบคุมด้วงหนวดยาวอ้อยไม่ใช้สารเคมี
ด้วงหนวดยาวอ้อย (Sugarcane Stem boring grub)
ในช่วงปลายมีนาคม-เมษายนของทุกปี พบการระบาดหนอนด้วงหนวดยาวอ้อย ที่ทำความเสียหายกับต้นอ้อยตั้งแต่ระยะเริ่มปลูกจนถึงระยะเก็บเกี่ยวโดยจะเข้าทำลายในส่วนของลำต้นอ้อยที่อยู่ใต้ดิน ทำให้อ้อยแห้งตาย ส่งผลให้ผลผลิตอ้อยลดลง 13-43% และน้ำตาลลดลง 11-46% ส่วนอ้อยตอปีที่ 1 จะสูญเสียผลผลิตประมาณ 45% และน้ำตาลลดลง 57% การป้องกันกำจัดให้ได้ผลต้องใช้วิธีผสมผสาน เนื่องจากหนอนสามารถอาศัยอยู่ในดินได้เป็นนาน
วงจรชีวิตด้วงหนวดยาวอ้อย
ระยะไข่ 11 - 27 วัน หนอนมีการลอกคราบ 7-8 ครั้ง มี 8-9 วัย และมีอายุประมาณ 1-2 ปี อายุดักแด้ ประมาณ 7-18 วัน ตัวเต็มวัยอายุประมาณ 6 - 20 วัน เมื่อหนอนโตเต็มที่จะเข้าดักแด้ในดินตรงบริเวณโคนกออ้อยลึกจากสันร่องลงไป 10-60 ซม. ก่อนที่หนอนจะเข้าดักแด้หนอนจะใช้ชานอ้อยที่กัดกินจากเนื้ออ้อยจนเป็นเศษอ้อยชิ้นเล็กๆ มาทำเป็นรังห่อหุ้ม ตลอดลำต้น แล้วหนอนก็เข้าดักแด้อยู่ภายในรัง
การเข้าทำลาย
หนอนเริ่มเจาะไชเข้าไปกัดกินเนื้ออ้อยภายในท่อนพันธุ์อ้อยทำให้ไม่งอก ตรงส่วนโคนที่ติดกับเหง้าทำให้กาบใบและใบอ้อยแห้งหน่ออ้อยแห้งตาย ขณะที่หนอนยังเล็กจะกัดกินอยู่ตรงบริเวณเหง้าอ้อย ซึ่งมีผลทำให้การส่งน้ำและอาหารจากรากไปสู่ลำต้นและใบน้อยลง เมื่อหนอนโตขึ้นขนาดยาวประมาณ 40 มม. ก็จะเริ่มเจาะไชจากส่วนโคนลำต้นอ้อยขึ้นไปเพื่อกินเนื้ออ้อยจนบางครั้งทำให้ลำต้นอ้อยเป็นโพรงเหลือแต่เปลือก บางต้นหนอนเจาะสูงขึ้นไปจากส่วนโคนถึง 40 ซม.จนทำให้ลำต้นอ้อยหักล้มและแห้งตาย
ลักษณะอาการตออ้อยที่หนอนด้วงเข้าทำลาย
การป้องกันกำจัด
- ช่วงการไถก่อนการปลูกอ้อย เกษตรกรควรเก็บตัวหนอนออกจากแปลงเดิม
- ปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ปลูกมันสำปะหลัง หรือสับปะรดแทนการปลูกอ้อย
- ในแหล่งที่พบการระบาด หลังวางท่อนพันธุ์ควรมีการพ่น ด้วย เมตาไลต์ อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือปล่อยไปกับระบบน้ำ อัตรา 1 -2 กก./ไร่ ทุก 10-15 วัน จำนวน 1-2 ครั้ง ก่อนฉีดพ่นหรือปล่อยไปกับระบบน้ำสภาพแปลงควรมีความชื้น
- สามารถใช้ เมตาไลต์ ตามอัตราแนะนำ ร่วมกับการใช้สารเคมีตามคำแนะนำของหน่วยราชการ
รวบรวมข้อมูลจาก
http://www.ppsf.doae.go.th/pest_management/index_farm_plants/stem_boring_grub/stem_boring_grub.html
https://www.yanglor.go.th/fileupload/8598589133.pdf
23 พฤษภาคม 2567
ผู้ชม 361 ครั้ง