ตอบปัญหาเกษตรกร เพลี้ยอ่อนในพริก
ตอบปัญหาเกษตรกร เพลี้ยอ่อนในพริก
ตอบปัญหาเกษตรกร เพลี้ยอ่อนในพริก
จากภาพที่เกษตรกรได้ส่งเข้ามาปรึกษา
พืช : พริก (chilli peppers, chili, chile, chilli)
ลักษณะที่พบใต้ใบพริก : เป็นเพลี้ยอ่อนข้าวโพด (Corn leaf aphid) มีตัวสีน้ำเงินอ่อนปนเขียว ตัวเต็มวัยมีทั้งมีปีกและไม่มีปีก ลำตัวมีขนาด 2 มิลลิเมตร เป็นศัตรูในข้าวโพด
และพริกซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ใบและยอดพริกบิดเป็นคลื่น ต้นพริกชะงักการเจริญเติบโต และยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส ทำให้เกิดโรคใบด่าง ในพริก
มักระบาดในช่วงอากาศแห้งแล้ง
แนวทางป้องกัน/แก้ไข :
1. การใช้วิธีเขตกรรม เช่น กำจัดวัชพืชในบริเวณ แปลงปลูก
2. เมื่อเริ่มพบเพลี้ยอ่อนในแปลงให้พ่นด้วยชีวภัณฑ์ บิว-เวอร์ อัตรา 100 กรัม ร่วมกับ เบนดิกซ์อัตรา 3-5 ซีซีต่อ น้ำ 20 ลิตร ทุก 3-5 วัน เน้นพ่นใต้ใบ ช่วงตอนเย็น
3. ถ้าพบเพลี้ยอ่อนระบาดมีความหนาแน่น 10-20 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบทั้งต้น จากจำนวน 10 เปอร์เซ็นต์ ของต้นทั้งหมด แนะนำให้พ่นสารกำจัดแมลงตามคำแนะนำของหน่วยราชการ
ได้แก่ อิมิดาโคลพริด ไดโนทีฟูแรน ฟิโพรนิล อีโทเฟนพร็อกซ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง
อ้างอิงจาก
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดหนองบัวลำภู แจ้งเตือนภัย "โรคพริกที่มีสาเหตุจากไวรัส
และศัตรูพืช” ศาลากลางจังหวัดหนองบัวลำภู ชั้น 3 ถนนหนองบัวลำภู-เลย ตำบลลำภู
อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู 39000 042-316704-5
21 พฤษภาคม 2567
ผู้ชม 951 ครั้ง