ตอบปัญหาเกษตรกร โรคทุเรียน

ตอบปัญหาเกษตรกร โรคทุเรียน

จากตัวอย่างพืชที่เกษตรกรได้ส่งเข้ามาปรึกษา

พืช : ทุเรียน (Durian)

 

ใบทุเรียน

ลักษณะอาการ : บริเวณใบ พบว่าบนใบมีอาการใบจุดน้ำตาล  เมื่อนำมาแยกเชื้อพบว่า เกิดจากเชื้อรา Phomopsis durionis ไม่ก่อความเสียหายมากนักแต่หากเป็นเยอะสามารถทำให้ใบร่วงได้ หลังใบพบจุดสีขาวเป็นปื้น มีจุดกลมๆ กระจายทั่วใบ สีเทาขาวหรือเขียวแกมเหลือง จุดใหญ่มองเห็นเป็นวงซ้อนกัน ในช่วงความชื้น ถ้าพบเส้นกลางใบแห้งเป็นสีน้ำตาล เกิดจากเชื้อรา Cephaleuros virencens Kunze  หรือโรคใบจุดสาหร่าย

เปลือกที่ลำต้นทุเรียน

พบว่าเปลือกต้นพบอาการแผลฉ่ำสีน้ำตาลปนแดง และแผลที่ชื้นมากพบมีเส้นใยสีขาวเกาะ เมื่อนำมาแยกเชื้อ พบว่าเกิดจากโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียน (Durian patch canker หรือ stem rot) ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora หากโรคลุกลามมาก อาจทำให้เกิดโรคที่ผลได้ด้วย ทำให้ผลผลิตเสียสายและทำให้ทุเรียนยืนต้นตาย นอกจากนี้ยังพบเชื้อรา Fusarium sp. ที่เปลือกลำต้นทุเรียนร่วมด้วยที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคกิ่งแห้งใบไหม้ (Dieback) โรคสามารถแพร่กระจายได้ง่ายทั้งทางดิน น้ำ และอากาศ มักทำให้รากเน่า ใบลู่ลง เหลือง อาจพบจุดฉ่ำน้ำสีน้ำตาลเข้มถึงดำ จุดใหญ่ขึ้นจะขยายเป็นแถบสีน้ำตาล เชื้อสามารถเข้าทำลายพืชได้หลายชนิด พักอาศัยในดินได้นานหลายปี  ทั้ง Phytophthora palmivora และ Fusarium sp. สามารถสร้างความเสียหายให้กับต้นทุเรียนได้ทุกระยะการเจริญเติบโต


วิธีแก้ปัญหา :

ป้องกันโดยใช้ต้นที่เป็นพันธุ์ต้านทาน หากต้นเป็นโรคแล้วให้ทำการรักษาแนะนำให้ใช้สารชีวภัณฑ์ควบคุมโรค “เจน-แบค  หรือ “ไตร-แท๊บ” ร่วมกับสารเคมีป้องกำจัดโรคพืช


การควบคุมและป้องกันกำจัดโรคในดิน ใช้ “ไตร-แท๊บ” ฉีดพ่นลงดินหรือปล่อยไปกับระบบน้ำ อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เพื่อลดธาตุอาหารที่เชื้อโรคใช้ในการเจริญเติบโตและครอบครองพื้นที่ 

หรือใช้ “เจน-แบค  ผสมน้ำ อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นลงดินหรือปล่อยไปกับระบบน้ำ และฉีดพ่นให้ทั่วลำต้นและทรงพุ่ม ก่อนการระบาด สามารถใช้พ่นร่วมกับสารกำจัดแมลง ปุ๋ย หรือ อาหารเสริมได้

ใช้จัสเตอร์  ฉีดพ่นลงดินหรือปล่อยไปกับระบบน้ำ อัตรา โดยปริมาณน้ำ 50-100 ซีซี/ต้น เพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต

และช่วยให้ดินไม่เหมาะสมต่อการเกิดโรคให้ปรับดินให้อยู่ในช่วง pH 5.5-6.5

สำหรับโรคใบจุดสาหร่ายสามารถลดโรคได้ด้วยการ ตัดแต่งทรงพุ่ม ให้อากาศระบายได้ดีและลดความชื้น และไม่ควรปลูกต้นติดกันจนเกินไป

 

 

เรียบเรียงโดย

หนึ่งฤทัย ไหมพรหม

อ้างอิงจาก

พิสุทธิ์ เอกอำนวย. 2563. โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ. เชียงใหม่ : สวนสัตว์แมลงสยาม. หน้า 1008.

พรหมมาศ คูหากาญจน์. 2555. โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา. กรุงเทพฯ. หน้า 202.

21 พฤษภาคม 2567

ผู้ชม 397 ครั้ง

Engine by shopup.com