การจัดการโรคและแมลงช่วงปลายฝนต้นหนาว

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

การจัดการโรคและแมลงช่วงปลายฝนต้นหนาว

เริ่มเข้าสู่ช่วงอากาศชื้นและหนาวเย็นเกษตรกรจะต้องมีการระวังโรคและแมลงศัตรูพืชอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะพืชที่อ่อนแอต่อโรคและเสียหายได้ง่าย โรคยอดฮิตช่วงปลายฝนต้นหนาว เช่น ราน้ำค้าง ราแป้ง  และแมลง เช่น หนอนใยผัก หนอนคืบ เป็นต้น ดังนั้นการป้องกันก่อนเกิดการระบาดจึงสามารถลดความรุนแรงและไม่เกิดความเสียหายกับผลผลิต

ควรจัดการพืชช่วงปลายฝนต้นหนาว

1.เลือกพืชพันธุ์พืชที่ปลูกให้เหมาะสมกับอากาศหนาวพืชผัก เช่น กะหล่ำ มะเขือเทศ

2.มีการเตรียมแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อการปลูกพืช ในแต่ละชนิด

3.ควรเตรียมวัสดุคลุมแปลงเพื่อรักษาความชื้นในดิน

4.ในช่วงฤดูหนาวพืชจะชะงักการเจริญเติบโต

    การใช้ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม  ทีเอบี ซิงค์  ที่มีส่วนประกอบของ ธาตุสังกะสี อัตรา 5-10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7-10 วัน หรือใช้ ไบโอไลฟ์ เอ็ม 40 สารกลุ่มอมิโน แอซิล ซึ่งเป็นโปรตีนจากพืช ช่วยลดความเครียดจากสภาพแวดล้อมเนื่องจากอากาศเปลี่ยนแปลง อัตราการใช้ 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร และ ซีวีด 45 ที่มีส่วนประกอบของสาหร่ายสกัดซึ่งมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุสูง ช่วยให้พืชดูดซึมธาตุอาหารต่างๆได้ดี

5.โรคที่มักพบระบาดในช่วงฤดูหนาว

         5.1 โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลผักกะหล่ำ  ตระกูลแตง และพืชผักอื่นๆ (Downy mildew) เช่น กะหล่ำปลีผักกาด บร็อคโคลี่ คะน้า เมล่อน โหระพา เป็นต้น ซึ่งโรคนี้มีสาเหตุมาจากเชื้อรา Peronospora parasitica, Pseudoperonospora cubensis  และ  Peronospora sp.โดยในช่วงอากาศชื้นมักพบการระบาดของโรคนี้ได้บ่อย เนื่องจากเชื้อราจะปลิวมากับลม โรคสามารถเกิดได้ในทุกระยะของผักตั้งแต่เมล็ดงอกจนถึงเก็บเกี่ยว หากสังเกตใต้ใบจะพบกลุ่มของสปอร์เชื้อราเป็นผงสีเทาเป็นกลุ่ม ๆ ต่อมาจะทำให้เกิดแผลสีเหลืองบนใบละกลายเป็นสีน้ำตาล ใบร่วง หากรุนแรงอาจทำให้ใบแห้งตาย ในระยะกล้าจะทำให้ต้นโทรมและตาย

 

          5.2 โรคราแป้งในพืชตระกูลผักกะหล่ำ ตระกูลแตง พืชผัก ไม้ดอก และไม้ผล (Powdery mildew) เช่น กะหล่ำปลีผักกาด บร็อคโคลี่ แตงกวา เมล่อน มะม่วง เป็นต้น ลักษณะของโรคและอากาศคล้าย ๆ กับราน้ำค้าง โรคนี้มีสาเหตุมาจากเชื้อรา Oidium โดยพบอาการที่ใต้ใบ และพบกลุ่มราสีขาวคล้ายผงแป้งบนใบ

 

การป้องกันกำจัด แนะนำให้ใช้ชีวภัณฑ์ เจน-แบค อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้ เจนแบค+ไตรแท๊บ อัตรา 50+50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สามารถใช้ป้องกันตั้งแต่ก่อนปลูกพืช รองก้นหลุม ฉีดพ่นลงดิน ราดหรือปล่อยไปกับระบบน้ำ และฉีดพ่นลำต้นพืชทุก 5-7 วัน สามารถใช้ผสมสารกำจัดแมลง ปุ๋ย ฮอร์โมน และธาตุอาหารเสริม ควรฉีดพ่นช่วงเวลาเย็น อากาศไม่ร้อน ฉีดพ่นทั่วทั้งต้นพืช

6.แมลงที่พบเข้าทำลายของหนอนใยผัก, หนอนกระทู้ผัก(หนอนรัง), หนอนกระทู้หอม(หนอนหนังเหนียว), หนอนกระทู้หลอดหอม, หนอนเจาะสมอฝ้าย และหนอนผีเสื้อ

แนะนำให้ใช้สารชีวภัณฑ์ ทีเอบี บีทีเอ เป็นสารชีวภัณฑ์กำจัดแมลง ชนิดกินตาย ผสมน้ำ อัตรา 80-100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร (4 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร) ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืชทุก 5-7 วัน ฉีดพ่นทันที่ เมื่อเริ่มพบการเข้าทำลายของหนอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระยะที่หนอนยังมีขนาดเล็ก หรือเพิ่งออกไข่ และควรฉีดพ่นในเวลาเช้าตรู่หรือเวลาเย็นเนื่องจาก ทีเอบี บีทีเอ  เป็นสารชีวภัณฑ์ ประกอบด้วยเชื้อแบคทีเรียที่มีชีวิตแสงแดดจะทำให้ประสิทธิภาพของเชื้อลดลง

7.หากพบการเข้าทำลายของ ไรแดง แมลงหวี่ขาว เพลี้ยแป้ง หนอนกระทู้ผัก เพลี้ยหอย เพลี้ยอ่อน และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 

แนะนำให้ใช้สารชีวภัณฑ์ บิว-เวอร์ อัตราการใช้ 80-100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยผสมสารจับใบให้เข้ากับน้ำ ก่อนใส่เชื้อ จากนั้นคนให้เข้ากัน ควรฉีดพ่นเชื้อบูเวอเรียเวลาเย็น อากาศไม่ร้อน ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้นพืช

 

 

 

ผู้เรียบเรียง

หนึ่งฤทัย ไหมพรหม

เอกสารอ้างอิง

พิสุทธิ์ เอกอำนวย. 2563. โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ. เชียงใหม่ : สวนสัตว์แมลงสยาม. หน้า 1008.

Center for Agriculture, Food, and the Environment. University of Massachusetts Amherst. https://ag.umass.edu/

College of Food, Agricultural, and Environmental Sciences. The Ohio State University. https://ohiograpeweb.cfaes.ohio-state.edu/ipm/diseases/powdery-mildew

23 พฤษภาคม 2567

ผู้ชม 1095 ครั้ง

Engine by shopup.com