การฟื้นฟูต้นทุเรียนหลังน้ำท่วมขัง

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

 

การฟื้นฟูต้นทุเรียนหลังน้ำท่วมขัง

               ฤดูฝนมักพบปัญหาน้ำท่วมขังต้นทุเรียน   ในพื้นที่ปลูกที่มีการระบายน้ำไม่ดีหรือในพื้นที่ต่ำ ส่งผลให้ต้นทุเรียนชะงักการเจริญเติบโต เกิดการระบาดของโรคพืช ถ้ารุนแรงจะทำให้ต้นทุเรียนตายได้    ดังนั้นหลังน้ำท่วมขังวิธีการฟื้นฟูต้นจึงเป็นสิ่งควรปฏิบัติเพื่อให้ต้นทุเรียนสามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติลดการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรครากเน่าโคนเน่า

ผลกระทบจากน้ำท่วมขังในทุเรียน

1.จะทำให้ดินขาดการระบายอากาศ รากขาดออกซิเจน รากดูดน้ำและแร่ธาตุต่าง ๆลดลง ทำให้ต้นทุเรียนขาดธาตุอาหาร แสดงอาการใบเหลือง

2.อินทรียวัตถุในดิน เศษซากพืชจะถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายโดยกระบวนการไม่ใช้ออกซิเจน ทำให้เกิดก๊าซเป็นพิษ มีผลต่อระบบรากอ่อนแอ ง่ายต่อการเข้าทำลายเชื้อสาเหตุโรคพืช

3.เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อราไฟทอปธอรา Phytophthora palmivora สาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน

วิธีการฟื้นฟูต้นทุเรียน

  1. หลังน้ำลดระยะแรกควร งดการให้น้ำหรือปุ๋ย หรือสารต่างๆ แก่ต้นไม้ เมื่อต้นไม้เริ่มฟื้นตัวจึงค่อยๆ

     ให้น้ำ  และควรบำรุงพืชด้วยธาตุอาหารที่จำเป็น โดยฉีดพ่นปุ๋ยหรือฮอร์โมนให้ทางใบ เพราะรากพืชยังไม่   

     สามารถดูดกินธาตุอาหารได้ตามปกติ

  1. เมื่อดินแห้งแล้วการปรับสภาพดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตต้นทุเรียน ค่า pH  ดินอยู่ใน

      ช่วง 5.5-6.5 ด้วยจัสเตอร์ สารปรับปรุงสภาพดินชนิดน้ำ ใช้ฉีดพ่นลงดินหรือปล่อยไปกับระบบน้ำ อัตรา    

       โดยปริมาณน้ำ 80-100 ลิตร/ไร่

       - pH น้อยกว่า 4.5 ควรใช้ 15 ลิตร/ไร่

       - ช่วง pH 4.5-5.5 ควรใช้ 10 ลิตร/ไร่

       - ช่วง pH 5.6 -6.5 (หรือในกรณีไม่ทราบค่า pH ของดิน) ควรใช้ 5 ลิตร/ไร่

   ผสมร่วมกับการใช้ อินเตอร์ซี-2  อัตรา  25 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เพื่อกระตุ้นการเกิดราก

 

 

 

      3.ใช้ ไตร-แท๊บ  1 กิโลกรัมผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 100-500 กิโลกรัม หว่านโคนต้น อัตรา 50-100 กรัม/ตารางเมตร เพื่อปรับปรุงสภาพดินให้โปร่ง มีการถ่ายเทอากาศ และลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน

 

       ฉีดพ่นลงดินหรือปล่อยไปกับระบบน้ำ   ใช้ ไตร-แท๊บ  หรือ เจน-แบค  อัตรา  100 กรัม/น้ำ20 ลิตร  

23 พฤษภาคม 2567

ผู้ชม 2861 ครั้ง

Engine by shopup.com