จัดการหนอนบุ้งอย่างไรโดยไม่ใช้สารเคมี?

 

จัดการหนอนบุ้งอย่างไรโดยไม่ใช้สารเคมี?

          จากที่เกษตรได้ถามคำถามเกี่ยวกับการจัดการหนอนบุ้งที่เข้าทำลายพืช แบบไม่ใช่สารเคมีว่ามีวิธีในการจัดการอย่างไร ซึ่งในธรรมชาตินั้น หนอนบุ้งมีมากมายหลายชนิด และสามารถเข้าทำลายพืชได้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับ หรือพืชในกลุ่มพืชไร่ก็สามารถเข้าทำลายทำให้พืชเกิดความเสียหายได้ จึงต้องมีการจัดการเพื่อไม่ให้สร้างความเสียหาย และในการจัดการถ้าไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดนั้น สามารถใช้เชื้อแบคทีเรีย บาซิลัส ทูริงเยนซิส ในการกำจัดได้

 

          เชื้อบีที (Bt) คือ เชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis หรือเรียกว่า เชื้อบีที (Bt) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจัดเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์สามารถนำมาใช้กำจัดแมลงศัตรูพืช และ ศัตรูมนุษย์ได้มากมายหลายชนิด เนื่องจากมีความเฉพาะเจาะจงสูงในการทำลายเฉพาะแมลงเป้าหมายเท่านั้น เชื้อบีทีจึงเป็นจุลินทรีย์ที่มีความปลอดภัยสูงต่อมนุษย์ เช่น ผึ้ง แมลงห้ำ และแมลงเบียน เป็นต้น จากข้อดีของความเฉพาะเจาะจงต่อแมลงเป้าหมายเชื้อบีทีมีความปลอดภัยสูงไม่เป็นอันตรายต่อ มนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อม

ลักษณะการทำลายเชื้อแบคทีเรีย บาซิลัส ทูริงเยนซิส ในแมลงศัตรูพืช

เชื้อบีทีทำลายแมลงแตกต่างจากสารเคมี คือ สารเคมีส่วนใหญ่กำจัดแมลง โดยถูกตัวตาย แต่เชื้อบีทีกำจัดแมลง โดยตัวอ่อนของแมลงกินเชื้อบีทีเข้าไป สภาพความเป็นด่างในกระเพาะอาหาร ทำให้ เซลล์แบคทีเรียแตกสลาย และน้ำย่อยในกระเพาะอาหารของแมลง จะย่อยสลายผลึกโปรตีนและกระตุ้น ให้กลายเป็นสารพิษ (toxin) โปรตีนสารพิษเข้าทำลายเซลเยื่อบุผนังกระเพาะอาหารของแมลง และเกิด รูรั่วบนผนังกระเพาะอาหาร ทำให้การดูดซึมและการถ่ายเทแร่ธาตุอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าไป ในเลือดของแมลงผิดไปจากปกติ กระเพาะอาหารของแมลงไม่สามารถทำงานได้ โดยหยุดย่อยอาหาร พร้อมทั้งระบบเลือดผิดปกติ ทำให้แมลงเป็นอัมพาต แมลงหยุดกินอาหาร สปอร์ของเชื้อบีทีใน กระเพาะอาหารผ่านทางรูรั่วเข้าไปในเลือดของแมลง เชื้อเพิ่มปริมาณและแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ แมลงเกิดอาการโลหิตเป็นพิษ จะตายภายใน 1-3 วัน

 

วิธีการใช้ ทีเอบี บีทีเอ (เชื้อแบคทีเรีย บาซิลัส ทูริงเยนซิส) ในการจัดการหนอนบุ้งแมลงศัตรูพืช

  1. เชื้อบีทีจะมีผลต่อตัวหนอนเมื่อหนอนกินเข้าไป จึงต้องพ่นเชื้อให้ครอบคลุมทุกส่วน ของพืชที่หนอนกินเป็นอาหาร
  2. การใช้เชื้อบีทีในระยะที่หนอนอ่อนแอหรือเพิ่งฟักจากไข่ สามารถทำลายหนอนได้ดีกว่า การใช้กับหนอนที่แข็งแรงหรืออายุมากแล้ว เมื่อพบการระบาดของหนอน ควรพ่นเชื้อบีทีอัตราตามแนะนำ ในฉลาก โดยพ่นติดต่อกัน 3 ครั้ง ทุก 3-4 วัน ปรับหัวฉีดเครื่องพ่นสาร ให้ละอองเล็กที่สุด จะช่วยให้ละอองสารเกาะผิวใบได้ดี เป็นการช่วย เพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมแมลง
  3. ควรผสมสารจับใบทุกครั้ง อัตราตามคำแนะนำ

เรียบเรียงโดย : ปรางค์นัดดา ประกอบนา

เอกสารอ้างอิง

ฉวีวรรณ หุตะเจริญ 2533. แมลงป่าไม้ของไทย. กรุงเทพฯ. 171 หน้า. กลุ่มแมลงศัตรูพืชป่าไม้. 2542. รายงานประจําปี 2542. กล่มแมลงศัตรูพืชป่าไม้ ส่วนวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมป่าไม้, สํานักวิชาการป่าไม้, กรมป่าไม้.

  1. Bailey and S. Higgs. 1993. Bacillus thuringiensis, and Environmental Biopesticide: Theory and Practice. 239-267

17 เมษายน 2567

ผู้ชม 15414 ครั้ง

Engine by shopup.com